“ไม่ใช่แค่อ่านหนังสือ! เจาะลึกวิธีเตรียมตัวสอบ Dek68 ด้วยวิธีที่คุณไม่คาดคิดมาก่อน!
Dek68 คือใคร อาจจะเป็นคุณรึป่าวที่ได้เข้ามาอ่านในครั้งนี้ วิธีเช็กแบบง่าย ๆ ก็คือตอนนี้น้องกำลังเรียนอยู่ระดับชั้น ม.5 และกำลังจะขึ้น ม.6 ในปี 2567 และต้องเข้ามหาลัยในปี 2568ที่ จะถึงนี้ ซึ่งแนวทางการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละปีเนื่องจากข้อสอบและเกณฑ์การคัดเลือกของแต่ละคณะ / มหาวิทยาลัยอาจเปลี่ยนแปลงไป และวันนี้พี่จะมาแนะนำทริคการเตรียมตัวสอบ TCAS68 แบบฉบับใหม่ฉบับลับของพี่เอง
1. จับแนวทางผ่านข้อสอบเก่า
ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีต่าง ๆ มักจะมีแนวทางการตั้งโจทย์ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน หรือที่เราเรียกกันว่าแนวข้อสอบนั่นเอง หาก Dek68 ต้องการทำให้การสอบให้เก่งขึ้นก็จำเป็นที่ต้องลองฝึกทำข้อสอบเก่า การฝึกทำข้อสอบเก่าก็จะทชำนาญในการทำข้อสอบมากขึ้นและทำให้รู้แนวทางการทำโจทย์ให้ดียิ่งขึ้น
2. ฝึกสอบแบบจับเวลา
TCAS68 นอกจากการทำโจทย์ให้ถูกต้องแล้ว เราต้องทำข้อสอบให้ทันเวลาด้วยนะ หากน้อง ๆ ไม่สามารถทำข้อสอบทันเวลา ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำข้อสอบไม่ได้ Dek68 เลยต้องทำการบ้านการเตรียมตัวมาก่อนการสอบจริงและฝึกฝนกับการสอบสอบแบบจับเวลาว่าตัวเราเองนั้นสามารถทำเสร็จทันรึป่าวและได้คะแนนเท่าไหร่
3. ฝึกคิดในใจแบบไม่ใช้ตัวช่วย
การคิดในใจนี้เปมือนจะไม่สำคัญมากแต่มันสำคัญมากจริงๆนะ คือการเรียนรู้เทคนิคทริกลัดในการแก้โจทย์ค่ะ เพราะเทคนิคและทริกลัดต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการทำข้อสอบที่ซับซ้อน หรือระดับความยากเข้มข้น ซึ่งข้อสอบในปัจจุบันนี้ไม่เพียงแต่วัดความรู้ความสามารถของน้อง ๆ ในการคิดคำนวณเท่านั้น แต่ยังวัดความสามารถในการทำข้อสอบให้รวดเร็วด้วยว่าน้องๆนั้นจะมีไหวพริบในการเเก้ปัญหารึป่าว
4. การข้ามข้อยากข้อที่ถ่วงเวลาไปก่อน
หากDek68ได้ไปศึกษาจากข้อสอบเก่าแล้วน้องจะพบว่าข้อสอบมักจะมีการแบ่งสัดส่วนข้อง่าย – ข้อยากไว้แล้ว ดังนั้นในตอนแรกน้องๆอาจะติดปัญหาหรือทำไม่ได้ พี่แนะนำข้ามข้อไปก่อนและทำข้อที่เราทำได้ไปก่อน เพราะถ้าเรายิ่งทำไม่ได้แล้วไปฝืนทำต่อยิ่งจะทำให้มันเสียเวลาในการทำข้ออื่นๆอีกด้วยส่งผลให้ทำให้ทำข้อสอบไม่ทันเวลา สู้เราทำข้อที่ทำได้และนึกเกี่ยวกับข้อยากไปพลางๆเผื่อพลิกล็อคคิดออกพอดี
5.ลองแก้ข้อผิดอีกรอบก่อนดูเฉลย
หลายคนพอทำข้อสอบแล้วก็มักจะเช็คคำตอบที่ผิดว่าทำยังไงถึกจะถูก พี่เลยอยากจะแนะนำว่าน้อง ๆ DEK68 ควรลองทำข้อที่ผิดนั้นอีกรอบดูก่อนเพื่อหาว่าเราติดขัดตรงไหน และช่วยให้มองเห็นจุดที่พลาดไปจากการทำโจทย์ครั้งแรก แต่ถ้าทำสุดๆแล้วจริงๆยังไงก็ไม่ได้ก็คงต้องเปิดเฉลยดูและตั้งใจทบทวนให้ทีเพื่อที่จะได้ทำได้ดียิ่งขึ้น
DEK68 ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนสอบ TCAS68
รู้กำหนดการรับสมัครและคะแนนที่คณะ / มหาวิทยาลัยกำหนด
จดบันทึกไม่ให้ลืมเด็ดขาด หากน้อง ๆ DEK68 ทำการบ้านด้วยการหาข้อมูลการรับสมัครของแต่ละคณะมากพอ ก็จะช่วยให้วางแผนติววิชาที่ต้องสอบได้ดียิ่งขึ้น ก่อนเริ่มต้นติวและฝึกฝนทำข้อสอบว่าควรไปทางไหน
ศึกษาระบบของ TCAS68 ให้ละเอียด
เพราะปัจจุบันระบบ TCAS มีการเปลี่ยนแปลงข้อสอบหรือแนวทางเกือบทุกปี และที่สำคัญกว่านั้นระบบ TCAS ยังมีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยมากถึง 4 รอบ ดังนั้น DEK68 ควรหาข้อมูลว่าในแต่ละรอบของการเปิดรับสมัคร คณะที่เราสนใจใช้คะแนนวิชาอะไรบ้าง แบ่งสัดส่วนคะแนนวิชาต่าง ๆ เป็นอย่างไร หรือควรให้ความสำคัญกับวิชาไหนเป็นวิชาแรก น้อง ๆ สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการฝึกฝนทำข้อสอบ และอ่านหนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
ศึกษากำหนดวันสอบ
หากน้อง ๆ DEK68 ได้แนวทางการเตรียมตัวสอบมาแล้ว ก็ถึงเวลาวางแผนและจัดสรรเวลา ในการฝึกฝนทำข้อสอบและหรืออ่านหนังสือ และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการเตรียมตัวโดย DEK68 ต้องศึกษากำหนดการสอบเพื่อให้รู้ว่าตอนนี้เรามีเวลาในการเตรียมตัวมากแค่ไหน และควรติววิชาไหนเป็นวิชาแรก สำหรับวิชาที่น้อง ๆ ถนัดอาจเริ่มติวทีหลัง แต่สำหรับวิชาที่ไม่ถนัดก็สามารถวางแผนเริ่มอ่านทบทวนและฝึกทำโจทย์ก่อนได้เลย
ศึกษารายละเอียดของการสอบแต่ละวิชา
ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยแต่ละวิชาจะมี แนวข้อสอบ ที่มีการระบุขอบเขตเนื้อหาที่ออกสอบ รูปแบบข้อสอบ สัดส่วนจำนวนข้อ คะแนน และเวลาสอบเอาไว้ น้อง ๆ จึงควรศึกษารายละเอียดของ แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชาให้ดี เพื่อช่วยให้เตรียมตัวสอบได้ถูกจุดมากขึ้น
Timeline TCAS68
ติดตามการรับสมัครรอบ Portfolio: กันยายน 67
สมัครสอบ TPAT1 : กันยายน 67
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ TCAS : ตุลาคม 67
สมัครสอบ TGAT/TPAT2 – 5: ตุลาคม 67
พิมพ์บัตรที่นั่งสอบ TGAT/TPAT2 – 5: พฤศจิกายน 67
สอบ TGAT/TPAT2 – 5: ธันวาคม 67
สอบ TPAT1: ธันวาคม 67
ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2 – 5: ธันวาคม 67 (แบบคอมพิวเตอร์)
ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2 – 5: มกราคม 68 (แบบกระดาษ)
ติดตามการรับสมัครรอบ Quota: กุมภาพันธ์ 68
สมัครสอบ A-Level: กุมภาพันธ์ 68
ประกาศผลสอบ TPAT1: กุมภาพันธ์ 68
ประกาศผล รอบ Portfolio: กุมภาพันธ์ 68
พิมพ์บัตรที่นั่งสอบ A-Level: กุมภาพันธ์ 68
สอบ A-Level: มีนาคม 68
ประกาศผลสอบ A-Level: มีนาคม 68 (แบบคอมพิวเตอร์)
ประกาศผลสอบ A-Level: เมษายน 68 (แบบกระดาษ)
ประกาศผล รอบ Quota: พฤษภาคม 68
สมัคร TCAS67 รอบ Admission: พฤษภาคม 68
ประกาศผล รอบ Admission: พฤษภาคม 68
ติดตามการรับสมัครรอบ Direct Admission: พฤษภาคม 68
ประกาศผล รอบ Direct Admission: มิถุนายน 68
หมายเหตุ: ผู้สมัครแต่ละคนสามารถ สละสิทธิ์ได้สูงสุดเพียง 1 ครั้ง และต้องดำเนินการในช่วงเวลาที่เปิดให้เท่านั้น เพื่อจะสมัครรอบถัดไปได้
TCAS มีให้เลือก 4 รอบ
รอบที่ 1 Portfolio คือ การยื่นแฟ้มสะสมผลงาน
รอบ 2 Quota คือ รอบสำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่มหาลัยหรือเงื่อนไขต่างๆที่มหาลัยกำหนด
รอบ 3 Admission คือ ส่วนใหญ่ใช้คะแนน TGAT, TPAT, A- level ในการสมัครและยื่นคะแนน เป็นรอบที่ให้โอกาสให้ผู้สมัครได้แสดงศักยภาพผ่านคะแนนสอบมาตรฐาน
รอบ 4 Direct Admission คือ มหาวิทยาลัยมีอำนาจคัดเลือกนักเรียนโดยตรงตามเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด เป็นการรับสมัครแบบไม่ผ่านระบบกลาง
ค่าใช้จ่ายของแต่ละรอบ
(ไม่รวมค่าคะแนนสอบอื่นๆ เช่น IELTS, SAT, BMAT)
รอบ 1 Portfolio ค่าสมัครอยู่ที่ 200-1,000 บาท
รอบ 2 Quota ค่าสมัครอยู่ที่200 – 500 บาท แล้วแต่มหาวิทยาลัย
รอบ 3 Admission TGAT, TPAT 2-5 อยู่ที่วิชาละ 140 บาท A-Level วิชาละ 100 บาท TPAT1 กสพท 800 บาท
รอบ 4 Direct Admission ค่าสมัคร 300-1,000บาท
สรุปเทคนิคลับ DEK68 สำหรับสอบ TCAS68
จากที่พี่ได้แนะแนวมานั้นอยากให้น้องๆนั้ได้เตรียมตัวกับการสอบได้แพลนไว้ตั้งแต่เนินๆดังนั้น นอกจากจะเตรียมตัวในการอ่านหนังสือสอบแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมและพร้อมดูกำหนดการต่าง ๆ พร้อมจดเช็คลิสต์ไว้ เพื่อไม่ให้พลาดลืมสมัครสอบ เพราะในการสอบแต่ละสนาม ก็มีข้อแตกต่างรวมไปถึงเอกสารที่จะใช้ในการสมัคร ถ้าหากพลาดแล้วน้อง ๆ อาจจะต้องเจอเรื่องยุ่งยากในภายหลังได้ทั้งนี้ พี่ขอให้น้อง ๆ ทุกคนโชคดีและเตรียมตัวมาพร้อมในการสอบและสอบได้คะแนนดีๆนะค้าบบผม :D