หน้าแรก คลังความรู้ การพัฒนาตนเอง

"จักรวาลอาชีพวิทยาศาตร์" เรียนวิทย์แล้วไปต่อยังไงได้บ้าง?

วันที่เวลาโพส 26 มกราคม 67 14:55 น.
อ่านแล้ว 0
พี่กบ AdmissionPremium
   "จักรวาลอาชีพวิทยาศาตร์" เรียนวิทย์แล้วไปต่อยังไงได้บ้าง?


   ระดับมัธยมศึกษา > เรียนป.ตรี 4 ปี > เรียนป.โท(อย่างเร็ว 2 ปี อย่างช้า 4 ปี) > เรียนป.เอก(อย่างเร็ว 3 ปี อย่างช้า 8 ปี) จริงๆแล้วคนที่เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์สามารถต่อยอดการเรียนและการทำงานได้หลากหลายมาก แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน!

   สายสุขภาพ
       
- นักโภชนาการ (Nutritionist) ให้คำแนะนำด้านอาหารและสารอาหารต่อสุขภาพ
       - นักกำหนดอาหาร (Dietitian) คำนวณพลังงานและปริมาณอาหารให้คนไข้
       - นักโภชนาการกีฬา (Sports Nutritionist) ดูแลโภชนาการสำหรับนักกีฬา
       - นักออกแบบอาหาร (Food Stylist) สร้างสรรค์อาหารให้ดึงดูดและดูน่ารับประทาน
       - นักเทคนิคการแพทย์ (Medical technologist) หมอแล็บผู้ส่งสิ่งตรวจ ให้แพทย์พยากรณ์หรือวินิจฉัยโรค
       - นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Scientist) พัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักกีฬา
       - นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Scientist) วิจัยเชื้อสำหรับสนับสนุนการแพทย์และสุขภาพ

   สายบริสุทธิ์
       - นักดาราศาสตร์ (Astronomer) ศึกษาปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้
       - นักจักรวาลวิทยา (Cosmologist) ศึกษาคุณสมบัติของจักรวาล ไปทดสอบและสร้างทฤษฎี
       - นักอุตุนิยมวิทยา (Meteorologist) ศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เพื่อสื่อสารต่อ
       - นักวิจัยด้านอุทกพลศาสตร์  (Fluid Dynamics Scientist) ในต่างประเทศจะเรียกสาขานี้ว่า Multiphase Flows โดยในไทยจะเป็นอาชีพที่เชื่อมโยงกับงานคิดและวางระบบก่อสร้าง
       - นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear Scientist) ศึกษาพฤติกรรมของรังสีนิวเคลียร์ในสภาวะแวดล้อมและนำมาประยุกต์เข้ากับศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ
       - นักคณิตศาสตร์ (Mathematician) วิจัยและสร้างองค์ของความรูทางคณิตศาสตร์
       - นักกีฏวิทยา (Entomologist) วิจัยแมลงเพื่อประยุกกต์ใช้ประโยชน์
       - นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) รวบรวม จัดการ ประมวลผล Big Data สำหรับนำไปใช้งานต่อ
       - นักสถิติ (Statistician) วิจัย คาดการณ์ต่างๆ ตามหลักสถิติ
       - นักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์การเงินและตลาดหุ้น (Economic Analyst, Financial analyst) คาดการณ์แนวโน้มตลาดเงินทุนด้วยแบบจำลองและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
       - นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AI Researcher) ศึกษาและพัณนาปัญญาประดิษฐ์ (AI)
       - นักโปรตีนวิทยา (Protein Scientist) วิจัยโปรตีนเพื่อหาทางใช้ให้เกิดประโยชน์
       - นักชีวเคมี (Biochemist) วิจัยธรรมชาติของเคมีและส่วนประกอบทางเคมี
       - นักกายวิภาค (Anatomist) วิจัยและสอนอนาโตมี กลไลการทำงานในร่างกาย
       - นักชีววิทยาทางทะเล (Marine Biologist) วิจัยเพื่อดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเล
       - นักพฤกษศาสตร์ (Botanist) วิจัยและสร้างองค์ความรู้เรื่องพืช
       - นักเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemist) วิจัยและวิเคราะห์องค์ประกอและโครงสร้างทางเคมี
       - นักเคมีฟิสิกส์ (Physical Chemist) วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการแปรรูปของพลังงาน
       - นักธรณีวิทยา (Geologist) วิจัยการเปลี่ยนแปลงและองค์ประกอบของทรัพยากรธรรมชาติ โลก และดาวเคาระห์
       - นักบรรพชีวินวิทยา (Paleontologist) สำรวจฟอสซิลและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีต

   สายนวัตกร
       - นักวัสดุศาสตร์ (Materials Scientist) วิจัยและพัฒนาโครงสร้าง คุณสมบัติทางเคมีของวัสดุ
       - นักเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ (Imaging and Printing Scientist) ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาวิจัยพัฒนาภาพและการพิมพ์
       - นักวิเคราะห์นโยบาย เทคโนโลยี (Science Policy Analyst) ใช้วิทยาศาสตร์เป็นหลักวิเคราะห์นโยบายรัฐ
       - ตัวแทนสิทธิบัตร (Patent Agent) ตัวแทนผู้ดำเนินการขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ รวมทั้งดูแลรักษาวสิทธิบัตร
       - นักเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnologist) วิจัยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อพัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น
       - นักเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม  (industrial Biotechnologist) วิจัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อพัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น (ภาคอุตสาหกรรม)
       - ผู้ประกอบการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Entrepreneur) ผู้นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา หรือตอบโจทย์ความต้องการของผู้ว่าจ้างหรือคนในสังคม และสร้างสรรค์เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อขยายผลในฐานะผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ

   สายวิทยาศาสตร์บริการ/นักวิทย์
       - นักนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic scientist) วิเคราะห์และพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีความ

   ยังมีอาชีพในสายงานวิทยาศาสตร์อีกมากมายนอกเหนือจากนี้ ทั้งที่เป็นอาชีพที่อาจคุ้นหูและอาชีพใหม่ที่เกิดจากการรวบรวมทักษะจากศาสตร์ต่างๆ ถ้าหากใครสงสัยอยากศึกษาเพิ่มเติม แอดมินแนะนำให้ลองสืบค้นข้อมูลหลักสูตรการเรียนการสอนคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่สนใจ ซึ่งแต่ละภาควิชาจะมีระบุหัวข้อการเรียนและความเฉพาะทางของสาขานั้นๆ ที่สามารถต่อยอดเพื่อประกอบอาชีพได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.lemon8-app.com/

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด