หน้าแรก เรียนเป็นผู้ประกอบการ ข่าว/บทความ

กฎหมายใหม่ ให้ 10 สตาร์ทอัพกลุ่มเป้าหมาย “ได้รับการยกเว้นภาษี”

วันที่เวลาโพส 24 เมษายน 61 13:02 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
กฎหมายใหม่ ให้สตาร์ทอัพกลุ่มเป้าหมายที่ “ได้รับการยกเว้นภาษี”

เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่าน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการออกกฎกระทรวงฉบับที่ 337 (พ.ศ. 2561) ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร หรือก็คือการยกเว้นภาษี สำหรับประมวลรัษฎากรดังกล่าว จะทำการยกเว้นภาษีให้กับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย

โดยกิจการจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นหลักในกระบวนการผลิตและการให้บริการ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกําหนด และได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งทั้ง 10 อุตสาหกรรมที่ได้รับการยกเว้นภาษี มีดังนี้

อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร
อุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด
อุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ
อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
อุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า
อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ
อุตสาหกรรมฐานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรืออุตสาหกรรมใหม่



ข้อกำหนดในการยกเว้นภาษี มีทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้

1 “รายได้เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการ”  รวมถึง รายได้จากการจำหน่ายสินค้า รายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ และ ทรัพย์สินต่างๆ

2 กําหนดให้เงินได้ สำหรับการลงหุ้นหรือลงทุน ในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ต้องไม่เกิน 1 แสนบาท ทั้งนี้เงินที่ใช้ในการลงทุนต้องอยู่ช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562  และต้องเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 2 ปี

3 บริษัทหรือกิจการตามข้อ 2 ต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และเป็นกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

4 ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 2 ในปีภาษีใด ให้สิทธิ ในการได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นอันระงับไปเฉพาะในปีภาษีนั้น


ที่มา : www.marketingoops.com

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด