ขณะที่ 10 ธุรกิจดาวร่วงในปี 2563 ประกอบด้วย ธุรกิจเช่าหนังสือ, ธุรกิจผลิตโทรศัพท์บ้านและเครื่องโทรสาร, ธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต, ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร-ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานเยอะและขายในประเทศ, ธุรกิจหัตถกรรม และเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ดั้งเดิมที่ไม่ได้มีการปรับตัว), ธุรกิจการค้าแบบดั้งเดิม, ธุรกิจคนกลาง, ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ความจำ Storage Media (CDs, DVDs, Blu-Ray Discs, External Hard Drives, Memory Cards), ธุรกิจดั้งเดิมไม่มีดีไซน์ และใช้แรงงานเยอะ (เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น)-ธุรกิจสถานศึกษาเอกชน และธุรกิจร้านถ่ายรูป
ด้านธุรกิจคลินิกเสริมความงาม ธุรกิจเครื่องสำอางและอาหารเสริม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ทำเลไม่ดีก็ถูกจัดให้อยู่ในหมวดธุรกิจที่มีความเสี่ยง ‘ปานกลาง’ ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างกับร้านกาแฟและร้านชานมไข่มุก ที่สำคัญธุรกิจเหล่านี้ยังมีต้นทุนที่สูง ส่วนอสังหาฯ อาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการบ้านหลังที่ 2 และภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง
โดย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ยังยกให้ ‘ธุรกิจแพลตฟอร์ม’ เป็นธุรกิจดาวรุ่งในอันดับที่ 1 เป็นผลมาจากเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ผู้ประกอบการต้องหันมาทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐเองก็เริ่มผลักดันนโยบายต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจแพลตฟอร์ม ถึงอย่างไรก็ตาม ธุรกิจแพลตฟอร์มก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงในหลากหลายด้าน เช่น การแข่งขันที่รุนแรง ข้อจำกัดด้านบุคลากร ความไม่ชัดเจนของกฎหมาย ความสามารถในการป้องกันข้อมูลส่วนตัว และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว
ส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่ช่วงหลังๆ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และทำแคมเปญตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าแปลกใจที่จะติดโผขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 2 แต่ปัญหาและความเสี่ยงที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองคือ ประเด็น ‘การจัดเก็บภาษีธุรกิจค้าขายออนไลน์’ และการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งหน้าใหม่ที่อาจจะเป็นภัยคุกคามได้
ที่มา
positioningmag