จากกระแสเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดทั่วโลกในปัจจุบัน อาจเป็นเรื่องยากที่จะมีใครสามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์อนาคตได้ แต่จากแนวโน้มที่เราได้เห็นและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือแปลกอะไรถ้าจะมีนักวิชาการและนักวิเคราะห์ออกมาเตือนและลองคาดการณ์สิ่งต่างๆ ไว้ให้เราได้เตรียมตัวซึ่งข้อคิดเห็นเหล่านั้นอาจจะถูกต้องหรือไม่ก็ได้ แต่ก็มีเหตุผลและตัวเลขประกอบที่น่าเชื่อถือ และนี่คือ
คาดการณ์ 9 วิกฤติแรงงานไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า จาก
mgronline.com
1. แรงงานพม่าจะกลับประเทศ
ใน 10 ปีข้างหน้าประเทศเมียนมาร์หรือพม่า น่าจะมีการพัฒนามากขึ้น และการพัฒนาในด้านต่างๆ นี้เอง จะทำให้คนงานพม่าอยากกลับไปทำงานในประเทศ เมื่อถึงเวลานั้นคนงานจำพวก 3D คือ dirty, dangerous, และ demanding จะยิ่งหายาก ประเทศเราจะไม่สามารถพึ่งพาแรงงานชาวพม่าไปตลอดได้ ต้องคิดหาทางรับมือเตรียมรับวิกฤตนี้ได้เลย
2. แรงงานไทยจะขาดแคลน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ
แรงงานไทยจะขาดแคลน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ และส่วนหนึ่งเป็นเพราะเด็กไทยไม่อยากเรียนทางด้านอาชีวศึกษา ซึ่งประเทศต้องการแรงงานฝีมือระดับอาชีวะมากกว่า ในส่วนของการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็จะมีปัญหาเช่นกัน
แรงงานทาง Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) ขาดแคลนอย่างต่อเนื่อง เพราะเด็กนักศึกษาจะเรียนอะไรก็ได้เรียน ไม่มีการแข่งขัน การกู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่มีการผูกพันอันใดกับความสามารถในการหารายได้ภายหลังสำเร็จการศึกษา ไม่มีการวางแผนการผลิตโดยดูจากการพยากรณ์อุปสงค์ (Demand Forecasting) และจำกัดจำนวนการเรียนการสอนในแต่ละวิชา และเด็กสมัยใหม่ไม่ต้องการเรียนหนังสือมากนัก อยากรวยเร็ว ทางลัด ได้เงินง่ายไม่ต้องทำงานหนัก
แรงงานวิชาชีพ แรงงานใช้ความรู้ (knowledge worker) จะขาดแคลนมากเป็นบางสาขาวิชา
3. การจ้างงานต่ำกว่าวุฒิการศึกษา (Underemployment) มีมากขึ้น
ระบบการศึกษาประเทศไทยเรามีวุฒิปริญญาเป็นใบเบิกทางในการเข้าทำงาน แต่ความรู้และทักษะที่คนเราจำเป็นต้องใช้ในการทำงานกลับมีไม่มากและไม่ตรงตามความต้องการเท่าที่ควร การจ้างเด็กจบปริญญาตรีมาเป็นแคชเชียร์ขายของในร้านสะดวกซื้อ หรือการที่เด็กปริญญาตรีหลายคนเลือกทำงานที่ไม่ตรงและต่ำกว่าวุฒิการศึกษา เป็นเรื่องที่น่าเสียดายว่าเราจะลงทุนด้านการศึกษาไปมากมายทำไม เมื่อสุดท้ายได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาไม่เพียงพอ และกลับต้อลดวุฒิมาทำงานระดับต่ำกว่าความรู้ เรียกว่าเป็นการสูญเปล่าทางการศึกษาอย่างมาก
4. คนไทยไม่ตกงาน แต่จะมีการว่างงานแฝง (Hidden unemployment) สูงมาก
เดิมการว่างงานแฝงของไทยเป็นการว่างงานแฝงในภาคเกษตรกรรม ทำเกษตรเชิงเดี่ยว พอหมดฤดูกาลทำนาก็ว่าง แต่ปัจจุบันการว่างงานแฝงที่น่าเป็นห่วงคือเด็กยุคนี้ชอบอาชีพอิสระหรือทำมาค้าขายด้วยตัวเอง โดยเฉพาะการทำงานเป็น freelance หรืออาชีพอิสระ ที่มีความไม่แน่นอน ถ้าใครยังไม่มีฝีมือและชื่อเสียงเพียงพออาจไม่ได้มีงานทำสม่ำเสมอ ทำให้มีการว่างงานแฝงสูงมาก จะเกิดการเคลื่อนคลายจากการว่างงานแฝงในภาคเกษตรมาสู่การว่างงานแฝงในกลุ่ม freelance ในเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
5. แรงงานไทยมีทักษะล้าหลัง (Obsolete skill) ปรับตัวไม่ทัน เสี่ยงตกงาน
อย่างเช่นที่ประเทศอินเดีย ยังมีการปลดแรงงานด้านไอทีออกไปจำนวน ว่ากันว่าสองในสามของแรงงานไอทีของอินเดียจะหายไปใน 10 ปี ความรู้และทักษะใหม่ๆ เช่น ความมั่นคงทางไซเบอร์ วิทยาศาตร์ข้อมูล และ cloud computing กำลัังเป็นสิ่งที่ต้องการอย่างมาก แต่แรงงานไอทีของอินเดียรุ่นเก่าไม่มีพื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ซึ่งต้องอาศัยคณิตศาสตร์ค่อนข้างมาก แล้วหันมามองแรงงานไอทีของยซึ่งอาจไม่ได้เชี่ยวชาญโดยตรง และภาษาอังกฤษก็ยังเป็นอุปสรรคหลัก
6. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หุ่นยนต์ และ Disruptive Technology ทำให้อาชีพหายไป คนตกงานเรื่อยๆ
โดยเฉพาะงานที่ต้องทำซ้ำๆ ให้หุ่นยนต์ทำแทนได้ ไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางมากนัก หรือแม้แต่งานคำนวณที่ยุ่งยากแต่คอมพิวเตอร์หรือ Ai จะทำได้ดีกว่าคน ตัวอย่างงานดังกล่าวได้แก่ ตัวแทนขายประกันภัย teller ของธนาคารพาณิชย์ พนักงานโรงงานจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปในจีนของ CP ที่ใช้เครื่องจักรและหุ่นยนต์แทบทั้งหมดทำให้ประหยัดต้นทุนไปได้มาก ไม่นานแรงงานฝีมือระดับต่ำของไทยจะถูกหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์แย่งงานไปไม่น้อย
7. แรงงานต่างชาติ (โดยเฉพาะระดับบริหารและวิชาชีพเฉพาะ) จะเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากคนไทยมีความรู้ไม่พอ มี obsolete skill และทุนข้ามชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสโลกที่เน้น liberalization ทำให้มีแรงงานต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ คนไทยจะกลายเป็นลูกน้องชาวต่างชาติ แม้กระทั่งการค้าขายต่างๆ ก็จะตกภายใต้ทุนจีน พ่อค้าเวียดนามและพม่า ผลไม้ไทยนั้นตกภายใต้ทุนจีน ลังผลไม้จีนแทบทั้งสิ้น ไปดูที่ตลาดไทหรือตลาด 4 มุมเมืองก็จะเริ่มเห็นได้ชัดเจน
8. แรงงานไทยแก่และเกษียณ ไม่มีเงินเก็บ เริ่มเจ็บป่วยมากขึ้น
ภาวะประชากรสูงวัย (Aging Society) หรือการที่ทั่วโลกต่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แรงงานไทยรุ่นสึนามิประชากร ที่เกิดเกินล้านคนนับจากปี 2505-2536 จะทยอยเกษียณ ไม่ก่อให้เกิดรายได้อีกต่อไป และไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม แต่รอใช้เงินเกษียณหรือเงินบำนาญที่สะสมมาเป็นจำนวนมากมหาศาล กองทุนประกันสังคมจะยอบแยบเพราะต้องจ่ายบำนาญให้แรงงานไทยที่มีอายุเกษียณ (Pensionable age) ต่ำสุดในโลกคือ 55 ปี ขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 67 ปี และมีอัตราการจ่ายสมทบรวม (Total contribution rate) แทบจะต่ำที่สุดในโลกเช่นกัน จำนวนประชากรแรงงานเกษียณจะไม่มีประกันสุขภาพในประกันสังคมอีกต่อไปแต่ต้องย้ายมาใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท) แทน ทำให้โรงพยาบาลของรัฐยิ่งขาดทุนและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะไปไม่รอดก่อให้เกิดภาระหนี้สาธารณะกับประเทศไทยมหาศาล
9. วิกฤติพยาบาลหนักมาก
สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ จะขาดแคลนพยาบาลอย่างหนัก เพราะพยาบาลเป็นงานหนักมาก และมี career path สั้นมาก ปวดหลัง เสียสุขภาพ และปัญหาอื่นๆ อีกมาก อ่านเพิ่ม >>>
วิกฤติพยาบาล:วิกฤติอย่างไร ทำไมถึงวิกฤติ? งานที่เป็นงานบริการ งานหนัก เด็กสมัยใหม่จะไม่อยากทำยกเว้นต้องได้ค่าตอบแทนดีจริงๆ เรื่องนี้ยังไม่มีทางออกง่าย
ที่มา :
mgronline.com