บริบทของไทยกับการพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวเรือสำราญ
ประเทศไทยมีการให้บริการด้านท่องเที่ยวเรือสำราญมาเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี โดยในช่วงแรกมีเรือสำราญขนาดเล็กนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว จำนวนเรือสำราญในแต่ละฤดูกาลมีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการล่องเรือรอบโลก จนต่อมาสายการเดินเรือ Star Cruises นำเรือนักท่องเที่ยวเรือสำราญเข้ามาแวะพักยังท่าเรือของประเทศไทย ซึ่งเป็นการล่องเรือในเส้นทางเดิมในทุกสัปดาห์มายังท่าเรือภูเก็ตเป็นหลักในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2000 และท่าเรือเกาะสมุยและแหลมฉบังในเวลาต่อมา
ในขณะเดียวกัน
สายการเดินเรืออื่นๆ เริ่มกำหนดเส้นทางเดินทางไปยังท่าเรือในแถบเอเชียมากขึ้นตามลำดับ เรือสำราญเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากสายการเดินเรือหลักเริ่มนำเรือเข้ามาวิ่งในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยนำนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น และเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งนำเรือสำราญมาให้บริการในภูมิภาคเอเชียตลอดปี จำนวนเรือสำราญและนักท่องเที่ยวเรือสำราญจึงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ประเทศไทยมีท่าเรือหลักให้บริการเรือสำราญทั้งสายการเดินเรือในภูมิภาคและนานาชาติ มีเรือในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนอยู่หลายท่าเรือ เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย แหลมฉบัง คลองเตย เป็นต้น ในช่วงนอกฤดูกาลการท่องเที่ยวจะมีเพียงสายการเดินเรือในภูมิภาคที่ยังคงนำเรือสำราญล่องในเส้นทางเดิมตลอดปี ในขณะที่สายการเดินเรืออื่นๆ เริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวบ้าง แต่มีปริมาณไม่มาก
บทบาทท่าเรือของประเทศไทยเป็นท่าเรือแวะพักเป็นหลัก โดยเรือสำราญนำนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยว แล้วกลับขึ้นเรือเดินทางต่อไปยังท่าเรืออื่น โดยระยะเวลาและจำนวนวันมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของท่าเรือ ส่วนบทบาทการเป็นท่าเรือหลักของท่าเรือไทยมีน้อย เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ข้อจำกัดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคของท่าเรือ
ในอดีตสายการเดินเรือหลักๆ เช่น Princess Cruise เคยใช้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือหลัก แต่ด้วยความวุ่นวายจากปัญหาทางการเมือง สายการเดินเรือจำเป็นต้องย้ายท่าเรือหลักไปยังประเทศสิงคโปร์ หากพิจารณาปัจจัยต่างๆ ในการเป็นท่าเรือของประเทศไทย จุดแข็งและข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการจัดการท่าเรือ