โอกาสงานของบัณฑิตสาขาการจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ
เรือสำราญ เป็นธุรกิจท่องเที่ยวที่เติบโตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งการท่องเที่ยวบนเรือสำราญนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ธุรกิจนี้จึงต้องการพนักงานที่มีความสามารถและเซอร์วิสในระดับที่ดีมาก เพราะนักท่องเที่ยวที่ยอมจ่ายแพงก็คาดหวังที่จะได้รับบริการและความพอใจที่ดีที่สุด
อีกทั้งการท่องเที่ยวบนเรือสำราญนั้นมีการแข่งขันสูง เพราะนอกจากจะแข่งกันเองระหว่างธุรกิจเรือสำราญด้วยกันแล้ว ยังต้องแข่งกับธุรกิจท่องเที่ยวบนฝั่งอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการคัดคนหรือพนักงานที่จะขึ้นไปทำงานบนเรืออย่างเข้มงวด แต่อย่างไรก็ตาม บัณฑิตที่จบสาขานี้ยังถือว่ามีน้อยมากโดยเฉพาะในประเทศไทย และยังสามารถทำงานได้หลากหลายส่วน แบ่งตามประเภท ดังนี้
ภาพจาก :
การจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ
1. ธุรกิจเรือสำราญทั้งในและต่างประเทศ
- พนักงานต้อนรับ (Receptionist)
- พนักงานแม่บ้าน (Housekeeper)
- พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service)
2. พนักงานจัดเลี้ยงธุรกิจที่พักแรม (Banquet Staff)
- ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager)
- พนักงานต้อนรับ (Receptionist)
3. พนักงานดูแลห้องพัก
- พนักงานสำรองห้องพัก (Reservation Officer)
- เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก (Concierge)
- หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper)
- หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper)
- หัวหน้าห้องผ้า (Linen Room Supervisor)
4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
- ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager)
- ผู้จัดการห้องอาหาร (Restaurant Manager)
- หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (Head Waiter/ Waitress)
- พนักงานเสิร์ฟอาวุโสประจำเขต (Station Waiter/ Waitress)
5. ธุรกิจการประชุมและการแสดงสินค้า
- พนักงานประสานงานการประชุมและแสดงสินค้า (Meeting Convention and Exhibition Coordination Officer)
- พนักงานขายและการตลาด (Marketing and Sales Officer)
- พนักงานวางแผนและดำเนินการจัดกิจกรรมพิเศษ (Special Events Planning Officer)
ที่มา :
www.spu.ac.th