เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
ชี้เด็กไทยก้าวร้าวไฮเปอร์ เสี่ยง"ฆ่าตัวตาย"ตอนโต!!
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
28 มี.ค. 59 23:36 น.
28 มี.ค. 59 23:36 น.
อ่านแล้ว
372
จำนวน
แชร์
จิตแพทย์ เผยคนไทย "กระหายความสำเร็จ-กลัวเสียหน้า-สังคมขี้นินทา" ต้นเหตุฆ่าตัวตาย ชี้เด็กประถมปลาย-ม.ต้น มีปัญหาซึมเศร้า ก้าวร้าว ไฮเปอร์ เสี่ยงฆ่าตัวตายตอนโต แนะเพิ่มหลักสูตรด้านจิตเป็นวิชาบังคับในชั้นเรียน
เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวในงานเสวนา “ฆ่าตัวตาย สุขภาวะคนไทยบนปากเหว” ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายเป็นอันดับ 57 ของโลก อัตราการอยู่ที่ 6 ต่อแสนประชากร หรือประมาณ 3,000 คนต่อปี แต่เชื่อว่าน่าจะมีการฆ่าตัวตายมากกว่านั้น เพราะยังพบว่ามีการปกปิดข้อมูลตรงนี้อยู่ เช่น กรณีคนที่ทำประกันชีวิตฆ่าตัวตายแล้วญาติจะปกปิดสาเหตุที่แท้จริงเอาไว้ เพื่อให้ได้รับค่าสินไหมทดแทน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าทุกๆ 1 ใน 4 คนเคยมีปัญหาความทุกข์ ความกังวลจนทำให้สูญเสียการดำเนินชีวิตอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต แต่มีปัญหาด้านจิตเวชจริงๆ ร้อยละ 1
“ตอนนี้ค่านิยมที่ทำให้คนไทยฆ่าตัวตายคือค่านิยมต้องการความสำเร็จเร็ว ความต้องการทางด้านวัตถุมากจนทำให้เกิดความเครียด และคิดว่าทำผิดนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร ขอให้มีความสำเร็จก็พอ การเกื้อกูลกันหายไป ขาดการช่วยเหลือของภาครัฐ และค่านิยมการรักษาหน้า เมื่อมีปัญหาก็ไม่ขอรับการช่วยเหลือ โดยเฉพาะในสังคมที่มีการซุบซิบนินทานั้น เมื่อเกิดปัญหาทำให้ยากต่อการแก้ปัญหาคนฆ่าตัวตาย”นพ.ประเวช กล่าว
ด้านนางพัชรี คำธิตา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการด้านจิตเวช โรงพยาบาลแม่ทา จ.ลำพูน กล่าวว่า การรักษาหน้า การซุบซิบนินทา เป็นเหตุผลเร่งให้คนฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะใน อ.แม่ทา ถือเป็นพื้นที่ที่มีความสุขมากที่สุดในประเทศ แต่เป็น 1 ใน 8 อำเภอที่มีสถิติการฆ่าตัวตายสูงสุดในจังหวัด และเคยมีสถิติสูงสุดในประเทศด้วย โดยอัตราอยู่ที่ 34.51 ต่อแสนประชากร หรือปีละ 20 คน ซึ่งสาเหตุมาจากการการกลัวเสียหน้า กับการซุบซิบนินทา ใครที่เดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาลสวนปรุงเมื่อกลับมาจะถูกนินทา ถูกตีตรา ทำให้คนไม่เข้าสู่ระบบบริการ ดังนั้นจึงเลือกที่จะปกปิดไม่ไปรับบริการ ต่อเมื่ออาการรุนแรง ปลีกตัว เก็บตัว ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน ญาติจึงต้องพาตัวส่งโรงพยาบาล แต่หลังกลับจากรักษาตัวกลับมาที่ชุมชนก็ถูกตีตราอีกกลายเป็นปัญหาไปเรื่อยๆ ดังนั้นกระทรวงจึงให้พยาบาลโรงพยาบาลชุมชนไปศึกษาต่อด้านการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแห่งละ 1 คน พร้อมกับมีการปรับทัศนคติของชุมชนใหม่ โดยใช้แกนนำชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มพระสงฆ์ มาร่วมให้ข้อมูลความรู้ เกิดเป็นโครงการบิณฑบาตความทุกข์ และขอความร่วมมือจากร้านค้าห้ามจำหน่ายสุราในวันพระ งานศพ ล่าสุดอัตราการฆ่าตัวตายของพื้นที่ อ.แม่ทาดีขึ้น อยู่ที่ 7 ต่อแสนประชากร
ขณะที่นางรัชนี แมนเมธี กรรมการสมาคมสายใยครอบครัว กล่าวว่า จำเป็นต้องเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มวัยรุ่นด้วย โดยเฉพาะระดับประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งพบปัญหา 2 กลุ่มอาการคือ 1.อาการไม่คลุกคลีกับใคร ซึมเศร้า ไม่เข้าสังคม ไม่สดใส 2.อาการก้าวร้าว ไฮเปอร์ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นเด็กเกเร แต่ที่จริงอาการนี้จะทำให้เด็กโตไปมีภาวะซึมเศร้า หรืออาจฆ่าตัวตายได้ ที่ผ่านมาเคยเจอ 1 รายที่ อ.แม่ทา จ.ลำพูน ดังนั้นทางแก้ควรจะบรรจุการเรียนรู้เรื่องโรคทางจิตเวช อยู่ในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้เด็กทุกคนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค รู้จักวิธีสังเกตโรคซึมเศร้าหรืออาการทางจิตเวชในเด็กเป็นอย่างไร สามารถเข้าสู่การรักษาได้โดยไม่ต้องอายใคร หรือกลัวว่าสังคมจะรังเกียจ
ที่มา : เดลินิวส์
ชี้เด็กไทยก้าวร้าวไฮเปอร์
เสี่ยง"ฆ่าตัวตาย"ตอนโต!!
จิตแพทย์
อึ้งคนไทยกลัวเสียหน้า
ต้นเหตุ
ฆ่าตัวตาย
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
372
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
“เจาะลึก TPAT1 กสพท68 ! ข้อควรระวังในแต่ละพาร์ทที่ช่วยให้ DEK68 สอบผ่านอย่างมั่นใจ”
839
ภาคปกติหรือพิเศษ? ค่าเทอม คณะนิติศาสตร์ จาก 12 มหาลัยดัง
975
เรียนหมอเอกชน ต้องใช้เงินเท่าไหร่? เปิดค่าเทอม แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวะ ม.เอกชน เช็กเลย!
2K
เปิดโผ ที่สุดของปี!! การจัดอันดับ 10 มหาวิทยาลัยไทย ปี 2567 โดย Webometrics ม.ไหนครองแชมป์?
5K
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น สำหรับสายงาน IT อ้างอิงจาก Adecco Salary Guide FY2016
4K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
ติวสอบติดหมอ ครบทั้ง 3 พาร์ท
พาร์ทเชาว์ พาร์ทจริยธรรม พาร์ทเชื่อมโยง โดยอันดับ1 กสพท ของประเทศ
สาขาแนะนำ ตามคำเรียกร้อง
น่าเรียน มีที่ไหน เน้นอะไร มาดูกัน!!
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
นับถอยหลัง ม.5 !! สอบติดหมอ ไม่ยาก
ติวเข้มข้น ครบทุกวิชา ที่ใช้ในการสอบติด แพทย์ กสพท
TCASPortfolio ต้อนรับปี 2024
ใช้งานฟรี! ไปเลย...
สร้างตน สร้างอนาคต ที่รามคำแหง
ชวนน้อง ม.ปลาย เรียน ป.ตรี ล่วงหน้า Pre-degree รับสมัครวันนี้ - 17 พ.ย. 2567
×
Close