เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 10/2559 และ 11/2559 ลงวันที่ 21 มี.ค. 2559 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 หัวหน้าคสช.โดยความเห็นชอบจาก คสช.มีคำสั่ง ต่อไปนี้
ให้ยุบเลิก
- ให้ยุบเลิก
“คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ” และให้
โอนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่ฯ แต่ละเขตพื้นที่ฯ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ไปเป็นอำนาจของ “คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)”
- ให้ยุบเลิก
“อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา” และ
โอนอำนาจหน้าที่ไปเป็นอำนาจของ กศจ.ของจังหวัดนั้นๆ
- ให้โอนอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เฉพาะงานที่เกี่ยวกับอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถม และอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เป็นอำนาจของศึกษาธิการจังหวัด และโอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ์ หนี้ภาระผูกพัน ที่จัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 ไปเป็นของศึกษาธิการภาค 18 ภาคและระหว่างที่ยังไม่มีการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการ ให้ สพป.เขต 1 ในจังหวัดต่างๆทำหน้าที่เป็นสำนักงานศึกษาธิการภาคจังหวัดนั้นๆไปพลางก่อน
ให้ตั้ง
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ
เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ
และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ มีอำนาจหน้าที่
1. กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคและจังหวัด
2. วางแผนงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคและจังหวัด
3. พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคและจังหวัด
4. แต่งตั้ง โอน หรือย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยของศธ.ระดับภูมิภาคและจังหวัด ทั้งนี้ ตามประเภทหรือระดับตำแหน่งที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กำหนด
5. สั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่ฯ หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยงานหยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานตามความจำเป็น
7. เชิญข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ หรือเกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กศจ.”
ประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าฯ เป็นประธาน
ศึกษาธิการภาคในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นรองประธาน
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เป็นกรรมการ
และสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นกรรมการ
ท่องเที่ยวและกีฬา ท้องถิ่นจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ประธานสภาหอการค้าจังหวัด
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และวัฒนธรรมจังหวัด เป็นกรรมการ
และให้มีผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
ผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่น จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
และกรรมการผู้ทรงวุฒิ อาทิ ด้านกฎหมาย บริหารงานบุคคล ฯลฯ จำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นกรรมการ
*** โดยทั้งหมด รมว.ศึกษาธิการ แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ
ทั้งนี้ ให้ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
หมายเหตุ : สำหรับในกรุงเทพมหานคร ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯทำหน้าที่แทนคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในแต่ละเขตดังนี้
1. กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษาและการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับ ประสานส่งเสริมและบริหารการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
3. พิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด
4. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในจังหวัดต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ในภูมิภาค
5. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษา ศธ.ในจังหวัด
6. วางแผนการศึกษาในจังหวัดและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณ
7. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เพื่อแต่ตั้งอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ได้ตามความจำเป็น
8. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย
สำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการศึกษาธิการกำหนด เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่
อำนาจและหน้าที่
1. ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด อำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัด ศธ.และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่างๆ ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ของ ศธ.และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด
3. สนับสนุนพัฒนาจังหวัดในพื้นที่ด้านวิชาการ การวิจัยและการพัฒนา
4. กำกับ ติดตาม ประเมินผลการทำงานของสำนักงานศึกษาธิการภาคจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ
5. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการภาค ขึ้นตรงต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยอาจมีรองศึกษาธิการภาคไม่เกินกึ่งหนึ่ง
รายละเอียดคำสั่ง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ไฟล์แนบ
รายละเอียดคำสั่ง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ไฟล์แนบ