วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีหลักสูตรน่าสนใจเปิดสอนที่ท่าพระจันทร์ในชื่อว่า ปรัชญา การเมือง เศรษฐศาสตร์ หรือ Bachelor of Arts (B.A.) in Philosophy Politics and Economics ซึ่งมีการเปิดสอนทั้งหลักสูตรภาคไทยและหลักสูตรนานาชาติ (PPE Inter) หลักสูตรนี้เป็นการเรียนวิชาหลักทางสังคมศาสตร์ครบถ้วนทั้งปรัชญาที่เป็นรากฐานแนวคิดของสังคมศาสตร์ทุกวิชาและได้เรียนพื้นฐานวิชาทางสังคมศาสตร์ทุกสายไม่ว่าจะเป็นการเมือง การปกครอง เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสังคมในมุมกว้าง น้องๆ ที่จบสาขานี้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายเพราะมีพื้นฐาน ความรู้ทั้งด้านสังคมการเมืองและเศรษฐศาสตร์ สามารถสอบเข้าทำงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และ NGOs รวมถึงเหมาะกับน้องๆ ที่ยังค้นหาตัวเองก็สามารถมาทดลองเรียนรู้ว่าตัวเองชอบด้านไหนแน่เพื่อไปต่อโท-เอกเจาะลึกด้านที่ตัวเองชอบต่อไป
การสมัครเข้าศึกษา (หลักสูตรภาคไทย)
1. มีเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า 6 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
2. ใช้คะแนน GAT, O-NET, PAT1 หรือ PAT7 หรือพื้นฐานสามัญวิทยาศาสตร์หรือศิลปศาสตร์ สามารถสมัครได้ทั้งสายศิลป์ภาษา ศิลป์คำนวณ วิทย์-คณิต และสังคมทั่วไป
3. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาผ่านระบบ ระบบคัดเลือกกลาง (Admissions) ทั้งรอบรับตรงอิสระและรับตรงร่วมกัน
4. ค่าใช้จ่ายการศึกษา ประมาณ 30,000-35,000 บาท ต่อภาคการศึกษา หรือ 220,000 บาท ตลอดหลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
1. มีเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า 6 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่าหลักสูตรมัธยมนานาชาติ เช่น GCE Cambridge Pre-U, GED, NCEA, IB, IBCR
2. คะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ IELTS 6.5, TOEFL (internet-based) 79, TOEFL (paper-based) 550, หรือTU-GET 550
3. คะแนน SAT หรือ GSAT อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ EBRW or Reading, Writing and Language 450, Math 600 หรือคะแนนรวม 1000
4. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาผ่านระบบ ระบบคัดเลือกกลาง (Admissions) ในช่วงเดือนมีนาคม และเปิดรอบรับตรงอิสระและรับตรงร่วมกัน
5. ค่าใช้จ่ายการศึกษาประมาณ 69,000 บาทต่อภาคการศึกษา หรือ 483,000 บาทตลอดหลักสูตร
แนวทางการทำงานในอนาคต
หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ เข้ามาในการเรียนการสอนเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจสภาวะของโลกยุคปัจจุบันและโลกแห่งอนาคต ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย การบริหารจัดการ และพื้นฐานทางปรัชญา ตลอดจนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จึงสามารถทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชนได้อย่างกว้างขวาง เช่น
-นักพัฒนาสังคม
-นักการเมือง
-ปลัดอำเภอ
-นักวิชาการศึกษา
-นักการทูต และเจ้าหน้าที่ในองค์กรระหว่างประเทศ
-เจ้าหน้าที่บุคคล
-ผู้สื่อข่าว
-นักธุรกิจ
-เจ้าของกิจการและอาชีพอิสระอื่นๆ
-นักวิชาการและนักวิจัย
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : https://ci.tu.ac.th/ppe-thaprachan
https://ci.tu.ac.th/ppe-inter