สอบเข้ามหาวิทยาลัย

สาเหตุที่นักศึกษาจบใหม่ตกงาน เพราะเรียนไม่ตรงกับความต้องการของตลาดงาน และ 5 อันดับสาขาที่ตกงานมากที่สุด

       UploadImage

          ภาวะตกงานของบัณฑิตจบใหม่อันเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับการศึกษาไทย เนื่องจากเรียนตามกระแสนิยม-ไม่ดูตลาดแรงงาน แนะทางออกอยู่ที่มหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับตลาดแรงงานสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เปิดเผยตัวเลขผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2558 จำนวน 3.15 แสนคน เพิ่มจากปี 2557 ที่มีผู้จบการศึกษา 2.76 แสนคน โดยเกินกว่าครึ่งเป็นบัณฑิตในกลุ่มสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์ รองลงมาก็คือกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนที่เหลือ กระจายไปตามสาขาการบริการ การเกษตร การแพทย์และสุขภาพ สัดส่วนดังกล่าวสวนทางตัวเลขความต้องการในตลาดแรงงาน โดยกรมวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน ระบุสาขาที่ขาดแคลนคือ การแพทย์และสุขภาพ ธุรกิจด้านไอที ธุรกิจบริการด้านการเงิน และสาขาวิทยาศาสตร์

           โดยเฉพาะแรงงานสายช่างของเด็กที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) นั้นเป็นสิ่งที่ตลาดขาดแคลนอย่างหนัก ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557 สำรวจ 5 อันดับของสาขาที่ตกงานมากที่สุด


          อันดับ 1 คือสาขาที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ/บริหารการพาณิชย์
          อันดับ 2 คือสาขาคอมพิวเตอร์
          อันดับ 3 สาขาวิศวกร
          อันดับ 4 สังคมศาสตร์
          อันดับ 5 สายมนุษยศาสตร์

 
UploadImage
 
UploadImage
 

          นางสาวสุพินตา เลิศฤทธิ์ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุที่บัณฑิตได้งานไม่ตรงตามสายงานจากคณะที่เรียน เป็นเพราะเด็กไทยเลือกเรียนในคณะที่เป็นกระแสนิยม “ยกตัวอย่างเช่น เรียนในคณะที่เคยเป็นที่ต้องการเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่ในขณะที่กำลังศึกษา ความต้องการในแรงงานกลับลดลงเมื่อเรียนจบจึงไม่มีตำแหน่งงานเหลือ” ขณะที่บางมหาวิทยาลัยประกาศว่าบัณฑิตจบใหม่มีงานทำ 99% ซึ่งแสดงว่าเด็กที่จบออกมานั้นต้องมีคุณภาพและอยู่ในสายอาชีพที่ตลอดต้องการ เช่น นักศึกษาแพทย์ พยาบาล ไม่ตอกงานแน่นอน แต่ปัจจุบันบบัณฑิตที่ตกงานมาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์หรือคณะต่าง ๆ ที่เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์จำนวนยอดคนตกงานแซงหน้าบัณฑิตสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เคยตกงานอันดับหนึ่ง สาเหตุหนึ่งอาจมาจากมีผู้สนใจเรียนวิศวกรรมศาสตร์และคอมพิวเตอร์มากขึ้น ถัดมาคือเมื่อไม่สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ชื่นชอบได้ คณะไหนที่เรียนง่าย จบง่าย ก็จะเลือกเรียนแต่ในทางกลับกัน บัณฑิตสายบัญชีกลับได้งานทำเกือบหมดทุกคน แต่เด็กที่เรียนบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ กลายเป็น 5 อันดับคณะต้นๆ ที่มีบัณฑิตตกงานมากที่สุด

         “เรื่องการทำงานไม่ตรงสายที่เรียนมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่มันไม่ตรงอาจเป็นเพราะเรามีความสามารถ ก่อนเขาเลือกเราทำงานเขาต้องดูแล้วว่าเราสามารถทำงานให้เขาได้ คำว่าไม่ตรงอาจจะไม่ตรงใจเพราะเราเข้าไปแล้วเราไม่ชอบ บางอย่างมันก็มีเหตุผลของมัน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่เลือกงาน มีความขยันอดทน ถึงมันไม่ตรงมันก็ต้องมีเหตุผลอื่นมาประกอบกัน ทุกอย่างมันขึ้นอยู่ที่จังหวะเวลา ความพอดีและโอกาส” นางสาวสุพินตา กล่าว

          ในส่วนของมหาวิทยาลัยรังสิต แต่ละปีรับนักศึกษาปริญญาตรีปีละ 7,000 คนเข้าเรียนใน 20 คณะ ซึ่งสาขาที่โดดเด่นมี 3 กลุ่มคือ 1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทบ์ พยาบาล 2 กลุ่มศิลปะและการออกแบบ เช่น สถาปัตย์ ศิลปะการออกแบบ และ 3 กลุ่มคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและสถาบันการบิน ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยให้ทุนการศึกษาปีละกว่า 300 ทุน “มหาวิทยาลัยรังสิตเน้นผลิตบัณฑิตสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ เช่น แพทย์ พยาบาล ไอทีและผลิตอย่างมีคุณภาพ ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากสังคม โดยในปีแรกหลังเรียนจบบัณฑิตมีงานทำ 75% ที่เหลือไปเรียนต่อทำธุรกิจส่วนตัว” นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

          ด้าน นายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แนะว่านอกจากการพัฒนาตัวเองของแรงงานแล้ว สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษายังต้องเน้นการผลิตบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานด้วย จึงจะทำให้อัตราการว่างงานลดลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต “เรื่องนี้ มหาวิทยาลัยสามารถทำได้อยู่แล้ว เพราะทุกวันนี้มหาวิทยาลัยก็มีอิสระและมีความคล่องตัวในการริเริ่มทำอะไรได้มากพอ”
 
แนะ ‘ผลิตแรงงาน’ ให้สอดคล้องตลาด


         นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงานกล่าวว่าการขาดแคลนแรงงานของไทยมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเนื่องจากมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้กำลังแรงงานลดลง อีกทั้งกำลังแรงงานส่วนใหญ่มุ่งศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากปัจจัยด้านค่านิยม ต้องการค่าจ้างที่สูงขึ้นและนโยบายการส่งเสริมการศึกษาของภาครัฐจากการตั้งกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา

         ดังนั้น เราจึงต้องหามาตรการรองรับ ดังนี้ การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนศึกษาทำงานนอกเวลาในช่วงปิดเทอม สร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน ประสานสถานศึกษาให้จัดเตรียมกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และการจัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย หรือสมาร์ท จ๊อบเซ็นเตอร์


        ขณะนี้การขาดแคลนแรงงานนั้น เราขาดแคลนในกลุ่มที่ใช้ฝีมือน้อยหรือไร้ฝีมือมากที่สุด เพราะการผลิตของประเทศไทยยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากนัก ฉะนั้นกลุ่มเอชเอ็มอี และกลุ่มสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยังจำเป็นที่จะต้องการใช้แรงงานที่มีฝีมือค่อนข้างน้อย ไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อนหรือฝีมือสูงมากนัก


      “แรงงานกลุ่มนี้ขงเรายังขาดแคลนจึงจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำแทน ส่วนแรงงานกลุ่มอื่น ๆ ผมไม่กังวลมากนัก เพราะยังมีแรงงานที่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มได้ตลอดเวลา”
แม้ว่าข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าการว่างงานมีเพิ่มขึ้นแต่ยังเป็นการเพิ่มขึ้นที่อยู่ในระดับไม่น่าวิตก เนื่องจากเป็นภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจ สถานการณ์ภัยแล้ง ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น


      “การขาดแคลนแรงงานเป็นเฉพาะกลุ่มไม่ใช่ขาดแคลนทั่วประเทศ และการว่างงานในไทยก็เป็นไปในลักษณะหมุนเวียนกัน”

       นายอารักษ์แนะว่า ขณะนี้จะมีสัญญาณเตือนเด็ก ๆ ในเรื่องการว่างงาน แต่ตำแหน่งงานของเรายังมีอยู่ เพียงแต่ว่าอย่าเลือกงาน
 



ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
นสพ. กรุงเทพธุรกิจ และ นสพ. ผู้จัดการ