มากกว่า 60 เปอร์เซ็นของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งประเทศ ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย แต่ยังหาคำตอบให้กับตัวเองไม่ได้ว่า
“อยากเรียนอะไร อยากทำงานด้านไหน” ถึงเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชื่อดัง แต่ถ้าคณะ สาขา นั้นไม่ใช่คำตอบของสิ่งที่ตัวเองชอบ ปลายทางของผลลัพธ์อาจจะเท่ากับศูนย์
ดร.ธีรัช ไชยยศ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ให้ความเห็นสำหรับปัญหาของเด็กใน GEN Z ว่าปัญหาหลักๆ ของนักเรียน ม.ปลายคือไม่ชัดเจน เวลาให้ตัดสินใจจริงๆ ไม่รู้จะเอายังไง ไม่รู้ความถนัดของตัวเอง ไม่รู้จะเรียนต่ออะไร ตอบตัวเองไม่ได้ คุณครูแนะแนวและทีมจึงได้จัดการแนะแนวอาชีพเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะสามารถสร้างความกระจ่างให้นักเรียนม.ปลาย ว่าชอบอะไร ควรเลือกเรียนคณะ สาขาอะไร จบมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง แต่ละอาชีพเป็นอย่างไร แล้วแต่ความชอบของเด็ก คุณครูอย่างเราก็มีหน้าที่คอยให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้ลูก ๆ เดินในทางที่เหมาะกับลูกของเราเท่านั้น
มากกว่าการเรียนในห้องเรียน
ทางโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแนะแนวตั้งแต่ระดับชั้น ม.ต้น เพื่อให้เด็กนักเรียนรู้จักตนเอง ว่าเขาจะมุ่งไปทางสายการเรียนไหน ส่วน ม.ปลาย ก็จะรับไม้ต่อ ๆ กันไป ที่นี่ครูแนะแนวมีให้ข้อมูลที่ดีกับเด็กนักเรียน เพื่อให้นักเรียนตัดสินใจถูกว่าจะเรียนสายไปไหน มีความถนัดอะไร
วิสัยทัศน์ต่อเด็ก Gen Z และเด็กรุ่นต่อๆ ไป
สมัยนี้เราพูดถึงกันว่าอาชีพไหนสำคัญสุดไม่ได้แล้ว เคยมีผู้ปกครองบางส่วนกล่าวว่า เด็กอยากเป็นอะไรให้เป็น เด็กต้องการอะไรก็ให้เป็น แต่โรงเรียนสอนให้เด็กพัฒนาตามศักยภาพของเขา เมื่อเด็กได้ในสิ่งที่เขาคาดหวัง ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จของโรงเรียน
การเรียนในมุมมองของท่าน ผอ.
การเรียนหนังสือ ถ้าเรียนแบบมีความสุข เรียนเพื่อเรียนรู้จริงๆ เด็กต้องมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท และที่สำคัญต้องมีแรงบันดาลใจ แต่ถ้าเรียนเพื่อเรียนไปเฉย ๆ เด็กจะไม่มีความมุ่งหวัง และไม่ประสบความสำเร็จ ถ้ามีแรงบันดาลใจว่าตัวเองอยากไปทางไหน ก็จะเป็นตัวดึงเราไปให้ประสบความสำเร็จเอง สุดท้าย ผอ. ก็ขอฝากกำลังใจให้เด็กๆ ทุกคน ให้มีความขยันขันแข็งในการเรียน และเด็กๆ จะประสบความสำเร็จทุกคน
เราจะรู้ได้ยังไงว่า “เราควรเรียนต่ออะไร” ก็ลองมองหาคำตอบจากเรื่องใกล้ตัวของน้องๆ เอง
1. เลิกตามเพื่อน
หลายคนที่ไม่รู้จะเลือกเรียนต่ออะไร สุดท้ายจบด้วยการตามเพื่อนดีกว่า ถึงไม่ชอบอย่างน้อยเราก็มีเพื่อนเรียนด้วยกัน แต่อย่าลืมว่าเวลาทำงาน เราไม่สามารถทำงานที่เดียวกับเพื่อน หรืออยู่กับเพื่อนไปตลอดได้
2. ถามตัวเอง ชอบทำอะไร?
ลองสังเกตจากกิจวัตรประจำวันว่า เราชอบทำอะไร อะไรที่เราทำแล้วไม่เบื่อ สามารถอยู่กับสิ่งนั้นได้นาน ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราเป็นติ่งเกาหลี ลองเลือกเรียนเอกภาษาเกาหลีไหม อาชีพเป็นไกด์ หรือว่าเราสามารถพัฒนาเป็นอาจารย์ได้
3. ลองค้นหาตัวเอง ผ่านโปรแกรมวางแผนอนาคต
ในเมื่อคิดไม่ออก ลองให้โปรแกรมคำนวณจากพฤติกรรมของเราดู
"Admission Planning" เป็นการรวมเอา 4 โปรแกรมมารวมเป็นนวัตกรรมด้านการศึกษาที่จะช่วยให้น้อง ๆ นักเรียนวางแผนการเรียนให้ตรงกับบุคลิกภาพและงานในอนาคต พร้อมวิเคราะห์โอกาสสอบติด คณะมหาวิทยาลัย เพื่อวางแผนการสอบ และเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขัน
ลองใช้โปรแกรม คลิกทีนี่