สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เทคนิคการเตรียมตัวก่อนสอบ PAT2 วิทยาศาสตร์



PAT 2 วิชาความถนัดวิทยาศาสตร์ ถือเป็นวิชาที่สำคัญ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการจะเข้าเรียนต่อในสาขาสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีการใช้เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบคะแนน ตั้งแต่การรับในระบบ TCAS รอบที่ 2 การรับแบบโควตา ไปจนถึงการรับแบบ Admission วันนี้เราจึงมีเทคนิคที่จะทำให้น้องๆ เก็บเกี่ยวคะแนนจากวิชานี้ให้ได้มากที่สุดมาฝากกัน







PAT2 สอบอะไรบ้าง

     - ฟิสิกส์ บทที่ออกข้อสอบบ่อยมากที่สุด 8 บท และเตรียมตัวได้ง่าย คือ คลื่นแสง, อะตอมนิวเคลียร์, บทนำ การวัด, การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก, ของไหล, ความร้อนและทฤษฎีจลน์แก๊ส, คลื่นเสียง, ไฟฟ้าสถิต 

     - ชีววิทยา เน้น “การถ่ายทอดทางพันธุกรรม” โดยเฉพาะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนอกเหนือกฏเมนเดล เพราะนิยมออกข้อสอบบ่อยและออกทุกปี และ เรื่อง “พืช” ขอให้เน้นเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ปฏิกิริยาแสง การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรและไม่เป็นวัฏจักร
     - เคมี บทที่ออกมากที่สุด คือ ตารางธาตุ, พันธะเคมี, ปริมาณสารสัมพันธ์, ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี บทที่มักออกข้อสอบง่าย คือ ตารางธาตุ, พันธะเคมี, ของแข็ง ของเหลว แก๊ส, อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และสมดุลเคมี
     - โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ส่วนใหญ่ออกเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลก  สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดาราศาสตร์และอวกาศ เป็นข้อสอบที่ออกไม่ยาก เน้นการอ่านและจำ



การเตรียมตัวก่อนสอบ PAT2

     1. ลิสต์หัวข้อย่อยแต่ละวิชา สำรวจว่าวิชาไหนเราไม่ถนัดสุด
     2. อ่านวิชาไม่ถนัดสุดก่อน ไล่จนถึงเรื่องที่ถนัดที่สุด หรืออ่านสลับถนัดไม่ถนัดก็ได้ สำคัญ คือ 
         อ่านจบ 1 เรื่อง ต้องทำแบบฝึกหัด



เทคนิคการทำข้อสอบ PAT2
ควรเรียงลำดับดังนี้



1. โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ท่องจำ อ่านมาตอบได้ไม่มีคิดมาก กลุ่มนี้ข้อสอบค่อนข้างจะง่าย ถ้าอ่านมาก็ตอบได้ไม่ค่อยต้องวิเคราะห์อะไร เราก็ควรจะมาเอาคะแนนจากกลุ่มนี้เก็บไว้ก่อนเพราะใช้เวลาไม่มาก




     2. ชีววิทยา ข้อสอบท่องจำเยอะ มีวิเคราะห์บ้าง ทำข้อที่ตอบได้ ข้อไหนไม่รู้ก็เดาไปเพื่อไม่ให้เสียเวลา วิชานี้ก็ค่อนข้างจะถามคำถามแบบ รู้ก็ตอบได้ไม่รู้ก็จบ แต่มีวิเคราะห์มากขึ้นหน่อย แนะนำให้ทำวิชานี้เป็นวิชาถัดมา เพราะน่าจะทำกันได้เร็วในข้อที่ทำได้ ศักยภาพนี่ถ้าอ่านแล้วงง ๆ แนะนำว่าผ่านไปก่อนเลย เพราะมันจะเสียเวลามากกับคะแนนที่จะได้




     3. ฟิสิกส์ เน้นวิเคราะห์ และคำนวณ แต่ไม่ยากมาก ข้อสอบศักยภาพยากพอควร แต่ลองอ่านเลือกข้อที่ทำได้ อันนี้ค่อนข้างจะใช้การวิเคราะห์เยอะ และก็มีโจทย์คำนวนด้วย แล้วถามว่าทำไมไม่ทำเคมีก่อนละ มันก็เพราะว่าปกติแล้วเคมีจะยากที่สุด เราควรจะมาเก็บเกี่ยวของที่ง่ายกว่าก่อนอย่างฟิสิกส์ ส่วนศักยภาพก็ลองดูว่าน่าจะทำได้หรือเปล่า เพราะมันค่อนข้างเสียเวลา เอาเวลาไปทำเคมีข้อง่ายดีกว่า




     4. เคมี ยากกว่าวิชาอื่นมาก ๆ รอทำท้ายสุดหลังจากคิดว่าเก็บวิชาอื่นไม่ได้แล้ว ข้อสอบศักยภาพถ้าไม่มีเวลาไม่ควรทำ วิชานี้ควรจะทำเป็นวิชาสุดท้าย จริงอยู่ที่มันมีคะแนนเท่ากับวิชาอื่น แต่มันยากกว่าวิชาอื่นแบบโคตร ๆ เลย ดังนั้นแนะนำให้เก็บมันไว้สุดท้าย โดยเฉพาะข้อสอบศักยภาพนี่ไม่คุ้มเลย ของเคมีอย่าไปยุ่งกับมันเลยดีกว่า


ขอบคุณข้อมูลจาก : Superposition

                              We the brain