เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
บทเรียน "ดีเจเก่งถอยชน" สะท้อนโลกสื่อยุคใหม่ ตอกย้ำหน้าที่ "นักข่าว"
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
14 ม.ค. 59 11:34 น.
14 ม.ค. 59 11:34 น.
อ่านแล้ว
249
จำนวน
แชร์
ข่าวคนดังในสังคมถอยรถชนเก๋งคันหนึ่งถูกผู้สื่อข่าวพบเห็นและบันทึกภาพเหตุการณ์พร้อมคำบอกเล่าของคู่กรณีจนกลายเป็นกระแสข่าวดังชั่วข้ามคืนสื่อทุกแห่งทั่วประเทศหยิบยกประเด็นนี้มานำเสนอเป็นข่าวใหญ่ตลอดสัปดาห์เหตุการณ์นี้สะท้อนพื้นที่ข่าวและบทบาทของสื่ออย่างไรท่ามกลางโลกยุคใหม่อ่านมุมมองเหล่านี้จากความคิดเห็นของนักวิชาการและอาจารย์ด้านสื่อสารมวลชน
ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
กรณีเหตุการณ์คลิปข่าวดีเจเก่งถอยรถชนยาริส ทำให้เกิดภาพสะท้อนหลายอย่างในสังคมโดยเฉพาะในวงการสื่อ มองประเด็นเรื่องนี้อย่างไร
?
ในกรณีของดีเจเก่งเกิดขึ้นแตกต่างจากเดิม คือเมื่อก่อนแพลตฟอร์มของสื่อมีค่อนข้างจำกัด มีทีวีแค่ 5-6 ช่อง แต่ทุกวันนี้มีช่องทีวีมากมายเต็มไปหมด และที่สำคัญเรามีโทรศัพท์มือถือที่สามารถถ่ายทอดสื่อสารต่างๆ ได้ ซึ่งเมื่อก่อนสื่อมวลชนเป็นผู้กำหนดวาระข่าวสาร บอกว่าอะไรเป็นข่าว อะไรไม่ใช่ข่าว ซึ่งอันนี้คือในอดีต แต่ทุกวันนี้ประชาชนทุกคนมีช่องทางสื่อสารของตัวเอง สามารถบอกได้ว่านี้คือประเด็นที่ฉันอยากสื่อสารกับเพื่อน อยากจะบอกต่อ เป็นประเด็นที่อยากจะแสดงความคิดเห็น
เพราะฉะนั้นแล้ว ช่องทางในการสื่อสารของทุกคนมีมากขึ้น และช่องทางการเสพสื่อก็มีมากขึ้น มากกว่าเดิมด้วย เพราะฉะนั้นแล้วจึงไม่แปลกใจที่ประเด็นในโลกออนไลน์ทุกวันนี้เป็นประเด็นหลักขึ้นมามากมาย สื่อมวลชนกระแสหลักกลับมากระโดดหยิบเอาประเด็นในโลกออนไลน์ไปนำเสนอ
แต่ปัญหาหลักคือการที่สื่อมวลชนนำเอาประเด็นในโลกออนไลน์ไปนำเสนอ ต้องพึงตรวจสอบ พึงกลั่นกรอง และทำให้มันรอบด้านมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่าพอเราแต่ละคนเป็นในเชิงของปัจเจกชน เชิงของคนธรรมดาทั่วไป ถ่ายทอดจากมือถือ ถ่ายทอดผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ มันมีมุมมองของแต่ละคน ซึ่งมันเป็นมุมมองของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว บางคนอาจจะเห็นมุมนี้ เห็นความจริงแบบนี้ อีกคนเห็นความจริงอีกแบบหนึ่ง
ถ้าในฐานะสื่อมวลชน ต้องดึงเอาหลายๆ อย่างรวบรวมแล้วมากลั่นกรอง เรียบเรียงว่าอะไรมันถูกต้อง อะไรมันขาดแง่มุมไหนไป โดยเฉพาะในเรื่องของประเด็นข่าว ถ้ามันมีแง่มุมเดียวจากคนที่อยู่ตรงนี้ แล้วคนอีกมุมหนึ่งเห็นอะไรไปบ้าง ต้องไปตรวจสอบ ต้องไปกลั่นกรองก่อนนำเสนอ ไม่ใช่หยิบก๊อบปี้-แปะ แต่เมื่อไหร่ที่ก๊อบปี้-แปะ สื่อมวลชนก็ไม่ได้ต่างไปจากบุคคลธรรมดาที่มีการนำเสนอ
อย่าลืมนะครับว่า สื่อมวลชนมืออาชีพมีเครดิตความน่าเชื่อถือของความเป็นสื่ออยู่ ความเป็นนักข่าวอยู่ ลักษณะเด่นของนักข่าวคือการกลั่นกรอง เช็กข่าวก่อน เพราะฉะนั้นแล้ว "เมื่อสื่อมวลชนไปหยิบยกประเด็นในโลกออนไลน์มา อย่าเพิ่งเน้นในเรื่องความเร็ว ให้เน้นในเรื่องของความถูกต้องน่าจะดีกว่า รอบด้านให้มากกว่า ล้วงลึกให้มากกว่า" มันจะทำให้ประเด็นที่ออกมาจากสื่อมวลชนดูน่าเชื่อถือและเชื่อมั่น เพราะฉะนั้น "พอเปิดดูในโลกออนไลน์แล้วคนหันไปเชื่อ พอกลับมาสื่อปกติแล้วเลียนแบบเหมือนกันเลย เชื่อไปเลย สุดท้ายแล้วหากข้อมูลมันผิดพลาดไป ใครจะรับผิดชอบ" !!!
อนาคตของสื่อจะเป็นอย่างไร ใครเป็นคนตั้งหรือจุดประเด็น
?
ในอนาคตจะเป็นสองอย่างครับ ทั้งในส่วนของสังคมโลกออนไลน์จุดประเด็น แล้วนักข่าวตามประเด็นและเป็นประเด็นที่ดีด้วย อาทิ เมื่อหลายปีก่อนเรื่องกรณีเครื่องตรวจจับระเบิด GT200 โดยเริ่มประเด็นมาจากห้องหว้ากอของพันทิป แล้วมีการวิพากษ์วิจารณ์กันในสื่อโซเชียลมีเดีย หลังจากนั้นมีหนังสือพิมพ์ไปหยิบนำเอาประเด็นมาขยายผล มาตรวจสอบต่อ มาเช็กต่อ มามีการขยายผลของประเด็นที่อยู่ในโลกออนไลน์จนสามารถทำให้ข่าวชิ้นนั้นได้รางวัลอิศรา ซึ่งถือว่าเป็นรางวัลที่ดีที่อยู่ในประเด็นเชิงสืบสวนของไทยในปีนั้นได้ แสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วมันมีประเด็นเยอะแยะที่อยู่ในโลกออนไลน์ถ้าหยิบมาแล้วขยายผล ก็สามารถเป็นประเด็นข่าวสืบสวนที่ดีได้
อย่างไรก็ตาม ก็จะมีประเด็นข่าวอีกจำนวนหนึ่งที่นักข่าวทำขึ้นมาเองแล้วในโลกออนไลน์หยิบไปพูดคุย หรือเอามาช่วยเสริม หาประเด็นต่างๆ เพิ่มเข้ามาได้ อย่างเช่น นักข่าวทำข่าวประเด็นใดประเด็นหนึ่งออกมา แล้วเจอเรื่องในมุมนี้ แล้วในโลกออนไลน์ก็จะไปเสริมในมุมนี้ และในอนาคตอันใกล้นี้จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักข่าวมืออาชีพกับนักข่าวพลเมือง แล้วก็ประชาชนทั่วๆ ไป แต่บทบาทอาจจะมีความแตกต่างกัน
สุดท้ายแล้วบทบาทที่สำคัญคือ นักข่าวมืออาชีพต้องกลั่นกรอง ต้องตรวจสอบ ต้องทำข่าวให้รอบด้าน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และในขณะเดียวกันก็จะมีซัพพอร์ตเตอร์จากในส่วนของนักข่าวพลเมืองจากคนต่างๆ ที่ส่งเข้าไป อันนี้ก็อาจจะเป็นความร่วมมือกันระหว่างนักข่าวที่เป็นมืออาชีพกับประชาชนคนที่เสพข่าวทั่วๆ ไป
สิ่งที่ต้องพึงระลึกถึงก่อน "ถ่าย-โพสต์-โชว์-แชร์" คืออะไรบ้าง
?
สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรคำนึงถึงคือทุกคนสามารถเล่าเรื่องราวในมุมมองของตัวเองได้แต่ต้องไม่ก้าวละเมิดสิทธิของคนอื่น ไม่ไปหมิ่นประมาทคนอื่น คือทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้ แต่อย่าดัดแปลงข้อมูลหรือตัดต่อเรียบเรียงข้อมูลใหม่ หรือหมิ่นประมาทกล่าวหาคนโน้นคนนี้ เพราะมันมีกฎหมายเรื่องพวกนี้อยู่ ต้องพึงระวังด้วย สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญ และในประเทศหลายแห่งก็มีกรณีแบบนี้เหมือนกัน
มีการหยิบรูปถ่ายหรือว่าถ่ายคลิปวิดีโอต่างๆไปล่วงละเมิด ไปแอบถ่ายในพื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นแล้วเอามาโพสต์ มาแชร์ อันนี้ก็จะเป็นสิ่งผิดกฎหมายแน่นอน เพราะฉะนั้นต้องพึงระวังว่าทุกคนเป็นสื่อได้ในยุคนี้ที่มีโทรศัพท์มือถือ แต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย เพราะมันเป็นทั้งพลังที่บวกและพลังที่ลบด้วย เปรียบเสมือนมีดที่เราสามารถจะเอาไปประกอบอาหารหรือนำไปเป็นอาวุธแทงคน ซึ่งโทรศัพท์มือถือหรือสื่อใหม่ก็เหมือนกับมีด เราจะใช้ประโยชน์ในด้านบวกหรือลบขึ้นอยู่กับตัวเรา มันไม่ได้ผิดที่ตัวมีด แต่มันผิดที่ตัวคน
ที่มา มติชน ออนไลน์
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
249
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
เรียนหมอเอกชน ต้องใช้เงินเท่าไหร่? เปิดค่าเทอม แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวะ ม.เอกชน เช็กเลย!
126
เปิดโผ ที่สุดของปี!! การจัดอันดับ 10 มหาวิทยาลัยไทย ปี 2567 โดย Webometrics ม.ไหนครองแชมป์?
3K
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น สำหรับสายงาน IT อ้างอิงจาก Adecco Salary Guide FY2016
3K
เตรียมอุดมฯ ปรับวิธีคัดเด็กโควตาปี 60
5K
Dek รุ่นไหนก็มาร่วมงานนี้ได้ ! วางแผนเตรียมตัว สู่รั้วมหาวิทยาลัย (รับจำนวนจำกัด)
5K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
ยื่นพอร์ตปุ๊ป สัมภาษณ์ปั๊บ
สมัครออนไลน์ได้เลย!!!
จะดีแค่ไหน! ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าสอบติดไหม?
พร้อมรู้แนวข้อสอบ #TCAS66 ก่อนสอบจริง คลิกเลย!
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
ติวเจาะ A-Level ครบทุกวิชา สายแพทย์
บูสต์คะแนน 70 UP กับเคล็ดลับเพิ่มคะแนน A-Level แบบฉุดไม่อยู่
TCASPortfolio ต้อนรับปี 2024
ใช้งานฟรี! ไปเลย...
ติวสอบติดหมอ ครบทั้ง 3 พาร์ท
พาร์ทเชาว์ พาร์ทจริยธรรม พาร์ทเชื่อมโยง โดยอันดับ1 กสพท ของประเทศ
×
Close