สมอง คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย ทั้งๆ ที่มันสำคัญขนาดนี้ แต่คนเรามักไม่รู้ตัวว่ามีพฤติกรรมหลายอย่างที่นอกจากจะเป็นการทำร้ายร่างกายแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสมองน้อยๆ ของเราอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย และนี่คือ 9 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ ถ้ายังอยากให้สมองของเราใช้งานไปได้นานและมีประสิทธิภาพ ส่วนจะมีพฤติกรรมอะไรกันบ้าง ไปตรวจเช็คตัวเองตามลิสต์ข้างล่างนี้ด่วนเลยจ้าาา
1. ไม่ทานข้าวเช้า
มื้อเช้าสำคัญมากกกกก เพราะถ้าวันไหนที่ไม่ทานข้าวเช้า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองเสื่อมได้
2. ทานอาหารมากเกินไป
นอกจากทำให้จุกและอ้วนง่ายอย่างที่เราทราบกันดีแล้ว การทานเยอะมากไปยังทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคความจำสั้นอีกด้วย
3. ทานของหวานมากเกินไป
การทานของหวานมากๆ จะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหาร(ที่จำเป็น) รวมถึงขัดขวางการพัฒนาของสมองอีกต่างหาก
4. สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองฝ่อ โรคอัลไซเมอร์ และอีกมากมายสารพันปัญหา เรียกว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ให้อะไรดีต่อร่างกายเลย
5. การอดนอน
การอดนอน นอกจากทำให้ร่างกายอ่อนเพลียแล้ว หากอดนอนเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เซลล์สมองตาย หลอดเลือดสมองตีบ กระบวนการเรียนรู้ช้าลง จนกระทั่งส่งผลให้เกิดอาการทางจิตตามมา
6. นอนคลุมโปง
เพราะการนอนคลุมโปงจะปิดกั้นไม่ให้อากาศข้างนอกผ่านเข้าไป และอากาศข้างในก็ผ่านออกมาไม่ได้ ให้เราต้องหายใจเอาอากาศเก่าไปใช้ จนส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองในที่สุด
7. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย
เมื่อคนเราไม่สบาย แน่นอนว่าส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย รวมทั้งสมองลดลง แล้วคิดดูว่า ร่างกายเราไม่สบายและอยู่ในสภาวะอ่อนแอ แต่เรายังดันทุรังใช้สมองให้ทำงาน ก็เหมือนกับการทำร้ายสมองให้ช้ำมากเข้าไปอีก
8. ไม่ค่อยออกกำลังกายให้สมอง
" การออกกำลังสมอง" หรือ Neurobics Exercise เป็นการฝึกให้สมองส่วนต่างๆ ทำงานประสานสัมพันธ์กันด้วยวิธีคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการวางแผน ทำให้การทำงานของสมองยังคงประสิทธิ ภาพดี แข็งแรง และชะลอความเสื่อม พูดง่ายๆ คือ การฝึกใช้ความคิดนั่นแหละ
9. เป็นคนไม่ค่อยพูด
ทักษะทางการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง โดยนักวิจัยเชื่อว่า การพูดและการเรียนรู้ภาษามากกว่า 2 ภาษา สามารถกระตุ้นศักยภาพการทำงานของสมองให้ดีขึ้นได้แม้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับสมอง