โรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศพร้อมใจกันลงทุนเตรียมรับนโยบายรัฐบาลที่เร่งผลักดันให้ไทยเป็น
Medical Hub ของอาเซียน เปิดศึกแย่ง
"แพทย์-พยาบาล" การันตีรายได้ต่อเดือน หมอรับเบาะ ๆ เดือนละ 2 แสน พร้อมกันนั้น สภาการพยาบาล เปิดเผยข้อมูลประกอบว่า
ในแต่ละปีประเทศไทยผลิตแพทย์-พยาบาลเท่าไหร่ ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
โดยการประกาศลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล (รพ.) ของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ล่าสุดจากการตรวจสอบพบว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา รพ.เอกชนหลายแห่งได้ทยอยลงทุนทั้งเปิดสาขาเพิ่มและการขยายพื้นที่บริการ คาดว่าภายในอีก 1-2 ปีนี้ จะมีจำนวนเตียงเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 2,700 เตียง จากปัจจุบันที่มีประมาณ 35,000 เตียง ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นตาม คือ
การแย่งบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน
จากการเปิดเผยข้อมูลจากแหล่งข่าวระดับสูงของประชาชาติธุรกิจ
นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทธนบุรี เฮลท์ แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่บอกว่า ปัจจุบันแม้การผลิตแพทย์-พยาบาลจะมีตัวเลขเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นการเปิดโรงพยาบาลใหม่ก็ต้องใช้วิธีการซื้อตัวมาจากโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งเป็นหลักของตลาดอยู่แล้ว
นั่นรวมถึงบุคลากรที่อยู่ในกลุ่มงานสนับสนุน เช่น เอกซเรย์ กายภาพบำบัด ฯลฯ ก็ยังมีไม่เพียงพอเช่นกัน
“ การซื้อตัวแพทย์-พยาบาลเป็นทางออกของ รพ.ที่เปิดใหม่ และที่เป็นปัญหาขาดมากสุด คือ
พยาบาล และ
เจ้าหน้าที่ชำนาญการ (Technician) ซึ่งหากมี รพ.ใหม่ เปิดพร้อมๆ กันหลายแห่งก็จะทำให้การแย่งตัวกันมากขึ้น รพ.แต่ละแห่งหากเป็นขนาด 100 เตียง จะต้องใช้บุคลากรไม่ต่ำกว่า 300 คน ในจำนวนนี้เป็นแพทย์ประจำไม่ต่ำกว่า 25-30 คน พยาบาล 100-120 คน ที่เหลือเป็นพนักงานอื่นๆ อาทิ
ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มธนบุรีได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ธรรมศาสตร์ สยาม ผลิตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร มารองรับ ซึ่งก็แก้ปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่
ง ทุกวันนี้บ้านเราผลิตหมอได้เพียงปีละประมาณ 2,500 คน ยังไม่เป็นตามเป้าที่จะผลิตให้ได้ปีละ 3,000 คน และในแต่ละปีมีหมอเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 600-700 คน ส่วนพยาบาลแม้จะผลิตออกมามาก แต่ก็เป็นอาชีพที่ไหลออกนอกระบบมากเช่นกัน "
ขอบคุณข้อมูลจาก :
www.prachachat.net