สอบเข้ามหาวิทยาลัย

กระทรวงศึกษาธิการออก “แผนการศึกษาแห่งชาติ” ระยะยาวนาน 20 ปี

UploadImage


แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้เป็นการวางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยทุกช่วงวัยให้เต็มตามศักยภาพ สามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ประกอบไปด้วย 5 เป้าหมาย ดังนี้

 
UploadImage
การเข้าโอกาสทางการศึกษา (Access)
ประชากรทุกคนต้องมีระดับการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประชากร 95% ต้องมีการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า แหล่งเรียนรู้ได้รับการพัฒนาให้จัดบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ และทุกโรงเรียน ทุกสถานการศึกษาในประเทศมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีคุณภาพ
 

UploadImage
ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity)
เด็กๆ ในทุกครอบครัวได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนกัน แม้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ใดก็ตาม นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา 15 ปี และ 65% ของเด็กๆ ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ได้รับการศึกษาเต็มศักยภาพเพิ่มขึ้น
 

UploadImage
คุณภาพการศึกษา (Quality)
ในส่วนของคุณภาพการศึกษามีการตั้งเป้าหมายไว้หลากหลายเป้าหมาย พัฒนาการศึกษาตั้งแต่การสร้างพัฒนาการของเด็กเล็ก ไปจนถึงระดับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีเรื่องที่น่าสนใจ คือ มีการวางเป้าหมายให้ 65% ของนักเรียนมีคะแนน O-Net ทุกวิชาเกินครึ่งหนึ่ง ทุกสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง การอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้น และผลการสอบ PISA ของนักเรียนจะต้องเพิ่มขึ้น
 

UploadImage
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงเรียน นักเรียน และครู ให้มีคุณภาพ มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานตั้งแต่ระดับโรงเรียน ถึงระดับกระทรวง มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลักดันให้มีความสมดุลระหว่างผู้เรียนในสถานศึกษาภาครัฐ และภาคเอกชนให้มีอัตราส่วน 50 ต่อ 50 ตลอดจนสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
 

UploadImage
การตอบโจทย์บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Relevancy)
เป็นการส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น ให้มีผู้เรียนในอาชีวศึกษา 70% ต่อผู้เรียนสามัญศึกษาที่ 30% มีอัตราส่วนผู้เรียนวิทยาศาสตร์ต่อสังคมศาสตร์ที่ 50 ต่อ 50 และมีความพยายามในการลดอัตราการวางงาน
 

ความน่าสนใจที่ทำให้เราต้องจับตามองแผนระยะยาว 20 ปี ของกระทรวงศึกษาธิการครั้งนี้ คือความพยายามพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ ที่ครอบคลุมชีวิตเราตั้งแต่เด็ก จนโต ไปจนถึงการหางาน มีความพยายามลดความเหลื่อมล้ำที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบัน จนถึงการวางแผนในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย หากแผนการระยะยาวนี้ประสบความสำเร็จได้ จะเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในความพยายามพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยเลย



ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไฟล์แนบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ร่างสุดท้ายพิมพ์เขียวการศึกษาชาติ
 

ข้อมูลอ้างอิง
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา