สอบเข้ามหาวิทยาลัย

จบแล้วไม่ตกงานแน่นอน!! เรียนการจัดการธุรกิจการบิน

UploadImage

 

 

 น้องๆ นักเรียนที่กำลังศึกษาหรือกำลังจะจบการศึกษาระดับชั้น ม.6 และยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสาขาอะไรต่อไปดี บทความนี้จะแนะนำสาขาวิชาที่รับประกันว่าเรียนจบแล้ว ไม่ตกงานแน่นอน รู้หรือไม่ว่า สาขาวิชายอดนิยมในปัจจุบัน นอกจากจะมีคณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ไอที บริหารธุรกิจ และอื่นๆ แล้วยังมีอีกสาขาวิชาหนึ่งคือ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ซึ่งเป็นสาขาวิชาเปิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งในปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางอากาศของไทยเข้มแข็งติดอันดับ 28 ของโลก และจะเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมการบินของภูมิภาคอาเซียนหรือ “Aviation Hub ” ภายใน 3 ปีข้างหน้า 

 

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการบินของไทยแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่ดีในทุกองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็น การขนส่งทางอากาศ ธุรกิจสายการบิน ท่าอากาศยาน การซ่อมบำรุงอากาศยาน รวมไปถึงการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน และนับเป็นการพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในด้านการขนส่งทางอากาศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งแนวโน้มอุตสาหกรรมธุรกิจการบินของไทยมีการเติบโตไปในทิศทางที่ดี โดยประเมินได้จากการขยายตัวของธุรกิจสายการบินภายในประเทศไทย ซึ่งสายการบินต่างๆ มีแผนการขยายธุรกิจอย่างชัดเจน อาทิเช่น สายการบินไทย สายการบินไทยสมายล์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินบางกอกแอร์เวย์สและสายการบินนกแอร์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มจำนวนเครื่องบินประจำการในฝูงบิน การเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน และการขยายเส้นทางการบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
 

จากจุดแข็งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเรามีความได้เปรียบที่ตั้งซึ่งอยู่กึ่งกลางภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นภาครัฐจึงได้มีการวางนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคอาเซียน โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ที่นับว่าเป็นประเทศที่มีการวางเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางทางการบินเช่นกัน  พบว่าประเทศไทยและสิงคโปร์มีเส้นทางการบินเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกใกล้เคียงกัน แต่หากพิจารณาเฉพาะการเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนจะพบว่า ไทยและสิงคโปร์มีเที่ยวบินเชื่อมต่อประเทศสมาชิกอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศ พิจารณาเฉพาะประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV) ซึ่งเป็นประเทศที่ศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การลงทุนรวมถึงการท่องเที่ยว จะพบว่าประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศดังกล่าวมากกว่าสิงคโปร์ จึงนับว่าไทยมีจุดแข็งทางด้านเส้นทางการบินในภูมิภาคอาเซียนมากกว่าสิงคโปร์

 

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเร่งเพิ่มจำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมการบินเพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งภายใน 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยต้องผลิตนักบินเพิ่มขึ้นอีก 224,000 อัตรา และช่างซ่อมบำรุงเครื่องบินอีก 240,000 อัตรา แต่เบื้องต้นต้องจัดตั้งสถานศึกษาที่ให้ความรู้ด้านอุตสาหกรรมการบินโดยตรงก่อน จากปัจจุบันที่ความรู้ด้านอุตสาหกรรมการบินเป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบการศึกษาเท่านั้น โดยบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาแล้วจำเป็นต้องฝึกอบรมอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้มีประสบการณ์ตามมาตรฐานโลก รวมถึงเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการบินและการให้บริการ

 

ทั้งนี้ ในปี 2548 มีสายการบินที่จดทะเบียนถูกต้องเพียง 12 สายการบินเท่านั้น ขณะที่ปี 2558 มีสายการบินจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 61 สายการบิน จึงสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการบินมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง เริ่มเปิดสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบินกันมากขึ้น หลังจากความนิยมและฐานลูกค้าของสายการบินเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  จึงเป็นสาเหตุให้บุคลากรด้านการบินเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนกระทั่งเกิดสภาวะขาดแคลนบุคลากรในที่สุด

 

ด้วยเหตุนี้เอง มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงได้เปิดหลักสูตร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ขึ้น โดยมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะและศักยภาพที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมธุรกิจการบินโดยหลักสูตรได้มีการบูรณาการศาสตร์ต่างๆและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานธุรกิจการบินที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่ทันสมัย ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ความสามารถจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในสาขาวิชาชีพทางด้านอุตสาหกรรมธุรกิจการบินที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่เรียน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานในระดับสากลทางด้านอุตสาหกรรมธุรกิจการบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก รวมถึงโครงสร้างหลักสูตรได้ครอบคลุมการวางแผนและการพัฒนา การบริการ การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

 

นอกจากนี้หลักสูตรยังมุ่งเน้นภาษาต่างประเทศทั้งภาษาอังกฤษและภาษาที่สามซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน เพื่อให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของทั้งภาคธุรกิจ สังคม ทั้งในระดับชาติและนานาชาติซึ่งนักศึกษาจะมีโอกาสได้เรียนรู้ ฝึกฝนและหาประสบการณ์จากการเรียนในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการรวมทั้งการฝึกปฏิบัติงานจริง เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในองค์กรที่มีชื่อเสียงทางด้านอุตสาหกรรมธุรกิจการบินทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีการทำความร่วมมือMOU ทางด้านวิชาการและด้านบุคลากร ระหว่างมหาวิทยาลัยศรีปทุมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจการบินอย่างกว้างขวาง เช่น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (TFTA) เป็นต้น

 

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สาขานี้ผู้เรียนสามารถกู้ กรอ. ได้ เพราะเป็นสาขาที่ยังต้องการบุคลากรอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจด้านการบินโดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มวิชาคือ Air Cargo Management และ Airport Management เน้นการเรียนรู้ด้านการจัดการการบิน และฝึกปฏิบัติงานจริงกับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการบินโดยตรง เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสถาบันการบินพลเรือน เป็นต้น

 

สำหรับโอกาสทางอาชีพเมื่อเรียนจบแล้ว สามารถประกอบอาชีพด้านการบินได้หลากหลายอาชีพ อาทิ

(1)พนักงานหรือเจ้าหน้าที่สายบริหารด้านการบิน

(2) พนักงานบริการและต้อนรับภาคพื้นดิน (Ground attendant)

 (3) พนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight attendant)

 (4) เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ  เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) กรมการขนส่งทางอากาศ

(5) เจ้าหน้าที่ในองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน  ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน เช่น บริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

(6) กรมศุลกากร สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

(7) เจ้าหน้าที่แผนกสำรองที่นั่งและจัดจำหน่ายบัตรโดยสารของบริษัท ตัวแทนการท่องเที่ยว ตัวแทนส่งเสริมการตลาดสายการบินต่างๆ 
 

UploadImage
 

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน สาขาเปิดใหม่ด้านสายการบินมีหลายสาขามาก ตั้งแต่ หลักสูตรนักบิน หลักสูตรนักบินพาณิชย์ สาขาธุรกิจการบิน การจัดการธุรกิจสายการบิน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จบในสาขาเหล่านี้ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก แต่ในวันนี้เราจะโฟกัสกันที่ สาขาธุรกิจการบินและสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จากการสำรวจจะพบว่าทั้งสองสาขานี้จะได้เรียนในส่วนของการบริการ และการจัดการเหมือนกัน แต่สัดส่วนการเรียนในรายวิชาเฉพาะบางตัวนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไป

 

UploadImage

 

           สำหรับ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การจัดการอุตสาหกรรมธุรกิจการบินเบื้องต้น การวางแผนการตลาดทางด้านการบินการจัดตารางการบินการบริหารและการจัดการท่าอากาศยาน  รวมถึงการบริหารจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศการจัดการคลังสินค้า

 

           น้องๆ จะเห็นแล้วว่า สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน และสาขาที่เกี่ยวข้องกับการบินเอง ก็มีจุดเหมือนและจุดต่างที่ละเอียดอ่อน ฉะนั้นน้องๆ ควรศึกษาให้ดีว่าตนเองนั้นเหมาะกับสาขาไหนมากกว่ากัน จะได้ไม่ตัดสินใจพลาด แต่ที่สำคัญที่สุด เรียนจบแล้ว ไม่มีตกงานแน่นอน!!

 

ติดตามข้อมูลสาขาวิชาได้ที่>> 

สมัครเรียนวันนี้ - 31 มี.ค. 60

ฟรี ทุนการศึกษา 15,000 บาท*

*เงื่อนไขตามมหาวิทยาลัยกำหนด