อาชีพหมอ ถือเป็นอาชีพที่ขาดแคลนมาโดยตลอด คำว่าหมอจึงไม่มีคำว่าตกงาน รายได้ดี เป็นอาชีพที่มั่นคง แต่เส้นทางการเป็นหมอ ไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้ น้องๆ ต้องตั้งใจ อดทน มุมานะ อุตสาหะ เตรียมพร้อมในการสอบให้เป็นอย่างดี ครั้งนี้พี่แอดมินนำข้อมูลรายได้ของหมอ มาฝากน้องๆ ที่มีความฝันอยากเป็นหมอ ให้ได้มีแรงใจในการอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบกัน
โดยสนามสอบแรกๆ ที่น้องๆจะต้องเจอ คือ กสพท กสพท. หมายถึง กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสถาบันคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ซึ่งการสอบนี้มักจะเรียนกันโดยทั่วไปว่า รับตรงแพทย์ กสพท.
ค่าตอบแทนอาชีพหมอ อัปเดตประจำปี 2017
แพทย์ทั่วไป (ไม่ได้จบเฉพาะทาง)
- โรงพยาบาลรัฐเฉพาะเงินเดือนและเงินเพิ่ม 40,000-60,000฿ (ได้จริง 20,000-30,000฿ ที่เหลือตกเบิกทุก 3-6 เดือน)
ทำงานจันทร์ถึงศุกร์ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
ค่าเวรโอที (บังคับอยู่เวรเพราะโรงพยาบาลต้องเปิด 24 ชั่วโมงทุกวัน) 300-1,200฿/8ชั่วโมง หรือ 38-150฿/ชั่วโมง
- โรงพยาบาลเอกชน การันตี เดือนละ 80,000-140,000฿ ทำงาน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
ค่าเวรโอที (ไม่บังคับ) 400-800฿/ชั่วโมง
ทำงาน 12.00-20.00 น. 6 วันต่อสัปดาห์ การันตี 100,000-140,000฿/เดือน ค่าคอมมิชชั่นต่างหาก
เวรโอทีสำหรับคนมีประสบการณ์ 600-900฿/ชั่วโมง
หรือเหมาจ่ายสำหรับฟรีแลนซ์ 5000-6,000฿/ 8 ชั่วโมง
แพทย์เฉพาะทาง (ตามแต่สาขา)
อายุรกรรมทั่วไป(หมอผู้ใหญ่) หรือหมอเด็กทั่วไป
- โรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ 40,000-60,000฿ อาจมีบังคับเวรโอทีน้อยนิด ส่วนมากจะเป็นโอฟรี (ทำเพื่อการกุศล)
- โรงพยาบาลเอกชนการันตี 160,000-250,000฿/เดือน ทำงาน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ โอที 650-1,000฿/ชั่วโมง
- ตอนนี้มีหมอรับจ้างประจำด้วย คือไม่ได้บรรจุข้าราชการ แต่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ จะได้เงินเดือน 40,000-80,000฿ หมอบางคนไม่ชอบโรงพยาบาลเอกชน แต่ถ้าบรรจุราชการแล้วรับเงินเดือนอย่างข้าราชการก็จะไม่พอสำหรับเลี้ยงชีพครอบครัว (อย่าลืมว่ากว่าหมอจะเรียนจบเฉพาะทางใช้เวลารวมใช้ทุน 11-13 ปี)
อายุรกรรมเฉพาะทาง หรือหมอเด็กเฉพาะทาง
- โรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ ได้เงินเดือนตามฐานเงินเดือน รายได้ไม่ต่างกันในแต่ละสาขาและไม่ได้ปรับสูงกว่าอายุรกรรมทั่วไปหรือหมอเด็กทั่วไป ที่ได้มากกว่าก็เพราะอายุงานมากกว่าและค่าตำแหน่งบริการและฝ่ายวิชาการเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย
- โรงพยาบาลเอกชน รายได้แตกต่างกันตามสาขา สาขาที่เป็นโรคยากๆ หัตถการเยอะ เช่น
หัวใจ หรือทางเดินอาหาร การันตีที่ 250,000-350,000฿/เดือน ทำงาน 45 ชั่วโมง/สัปดาห์
สาขาระบบประสาท ไต และ ปอด การันตีที่ 200,000-250,000฿/เดือน 45 ชั่วโมง/สัปดาห์ หมอไตจะมีค่าดูแลคนไข้ฟอกไตด้วย
สาขาอื่นๆ 180,000-250,000฿/เดือน 45 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือจะทำงานเป็นฟรีแลนซ์รายชั่วโมงก็ได้ 800-1,000฿/ชั่วโมง
- คลินิกความงาม เฉพาะจบสาขาผิวหนัง (ต้องเรียนต่างหากอีก 4-7 ปี ไม่รวมเรียนหมอ 6 ปี) การันตีที่ 250,000-300,000฿/เดือน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
- โอที ส่วนมาก 650-1,200฿/ชั่วโมง ตามแต่สาขา
- เวรดึก 4,000-8,000/10-12 ชั่วโมง
ศัลยกรรมทั่วไป(หมอผ่าตัด) และสูตินรีเวช(ทำคลอด)
การันตี 220,000-350,000฿ ต่อเดือนในเอกชน ซึ่งบางท่านที่ผ่าตัดเยอะๆ อาจจะมีรายได้สูงถึง 1,000,000฿/เดือน
แต่สำหรับโรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ รายได้เหมือนหมอข้อ 2. เอาง่ายๆ ไม่ถึงแสนบาท เว้นแต่ออกไปเปิดคลินิกเองหรือรับจ็อบโรงพยาบาลเอกชนนอกเวลาทำงานราชการ
- ค่าเวรโอทีการันตีที่ 650-1,000฿/ชั่วโมง
- ค่าเวรดึก 4,000-8,000฿/10-12 ชั่วโมง ส่วนมากจะเกินการันตี
หมอกระดูกและหมอผ่าสมอง
รายได้ในโรงพยาบาลรัฐพอๆ กับข้อ 2 และ 3
แต่รายได้ในโรงพยาบาลเอกชนส่วนมากเกินการรันตี มากกว่า 300,000฿/เดือน
เพราะคนไทยเกิดอุบัติเหตุบ่อย มีค่ารักษาจาก พรบ.ที่เต็มที่ 30,000-80,000฿
(ยิ่งอุบัติเหตุมากเท่าไร ยิ่งได้กำไรมากเท่านั้น (ต้องไม่ตายคาที่นะ) ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน)
หมอตาและหูคอจมูก
มักทำงานในเวลา เนื่องจากภาวะฉุกเฉินนอกเวลางานจะเป็นหมอศัลยกรรมหรืออายุรกรรมดูแลก่อนเบื้องต้น
รายได้ตามชั่วโมงทำงาน
ตกชั่วโมงละ. 650-1,000฿ /ชั่วโมง
มีค่าหัตถการและผ่าตัดที่เพิ่มเติม
สำหรับหมอสาขาอื่นๆ ที่ไม่ได้ตรวจคนไข้โดยตรง เช่น รังสีแพทย์ พยาธิแพทย์ รายได้ตามชั่วโมงทำงาน
ขอขอบคุณรายได้จาก : ท่านอาจารย์ สมเกียรติ โอสถสภา
ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงเรียนแพทย์ในประเทศ ที่แพทยสภารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมีทั้งหมด 21 แหง ดังนี้
โรงเรียนแพทย์ของรัฐ
1. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
9. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (เดิมใช้ชื่อ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล)
11. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
12. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
13. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
14. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
17. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
18. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
19. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556)
โรงเรียนแพทย์เอกชน
1. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
2. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556)
ตรวจสอบข้อมูลได้จาก : แพทยสภา