จิตวิทยาทางการกีฬา หรือ
Sports Psychology เป็นสาขาหนึ่งใน
วิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science) ที่มีความจำเป็นสำหรับนักกีฬาทุกคนและทุกระดับการแข่งขันที่ต้องการชัยชนะ ซึ่งหลังจากที่เราได้นำเสนออาชีพน่าสนใจและคำนิยามลักษณะการทำงานของ
“นักจิตวิทยาการกีฬา” ไปในบทความก่อนหน้านี้ ซึ่งถือว่าในประเทศไทยยังมีความรู้และความเข้าใจต่ออาชีพนี้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักบทบาท ของ
“นักจิตวิทยาการกีฬา” กันให้มากขึ้นยิ่งกว่าเดิม
กลุ่มที่ 1 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่ ให้ความรู้
มีหน้าที่ในการให้การศึกษา มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการและจบการศึกษาจากหลักสูตรที่มีความเฉพาะเจาะจงในสาขาวิชาจิตวิทยาการกีฬา มีความรู้เฉพาะทางขั้นสูง เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาศักยภาพหรือความสามารถของนักกีฬา ให้มีความสุขอยู่กับการเล่นกีฬาได้อย่างยาวนาน และใช้กีฬาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
กลุ่มที่ 2 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่ นักวิจัย
มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการกีฬา เพื่อนำมาพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาให้สูงขึ้น
กลุ่มที่ 3 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่ ผู้ให้คำปรึกษา
มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษากับนักกีฬาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา ซึ่งผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาการกีฬาต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในกระบวนการให้คำปรึกษาและการเป็นผู้นำด้านการฝึกทักษะจิตใจ
จากข้อมูลในปีพ.ศ.2556 มีจำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาวิชาจิตวิทยาการกีฬามากขึ้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่ ทั้งเป็นผู้ให้ความรู้ในสถาบันการศึกษา นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ และผู้ให้คำปรึกษากับนักกีฬา
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา