สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เตรียมความพร้อมสอบ O-NET ป.6 วิชาภาษาไทย โดยเป็นรูปแบบข้อสอบอัตนัย 20%

UploadImage
       วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบ O-NET ปีการศึกษา 2559 ระดับชั้น ป.6 และชั้น ม.3 โดยมี ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. และตัวแทนจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้แก่ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. และ ดร.วารุณี เลียววิวัฒน์ชัย รองผู้อำนวยการ สทศ. ร่วมลงตรวจเยี่ยมสนามสอบ O-NET ระดับชั้น ป.6 และชั้น ม.3 ณ โรงเรียนราชวินิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 

UploadImage
UploadImage
       โดยในปีการศึกษา 2559 สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จะจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 "วิชาภาษาไทย" โดยใช้รูปแบบข้อสอบแบบอัตนัยมาใช้กับการสอบ O-NET เป็นปีแรก เพราะในวิชาภาษาไทย มีสาระในการเขียน และเฉพาะ ป.6 เพราะเป็นการศึกษาระดับพื้นฐานที่สำคัญ และที่ใช้ในสัดส่วนข้อสอบอัตนัย 20% เพื่อทดแทนข้อสอบรูปแบบข้อสอบอื่นๆ โดยสรุป ข้อสอบ O-NET ป.6 ภาษาไทย ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ 80 นาที ส่วนรูปแบบข้อสอบมี 2 รูปแบบ คือ

UploadImage

Q : ทำไมจึงนำข้อสอบอัตนัยมาใช้ในการสอบ O-NET ?

ผู้อำนวยการ สทศ. : จากสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยข้อมูลว่า คนไทย 1 ใน 3 ยังคงอ่านหนังสือไม่ถึง 30 หน้าต่อวัน และธนาคารโลก (World Bank) ได้วิเคราะห์ว่าเด็กไทยยังอ่านหนังสือมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ อ่านไม่เข้าใจเนื้อหา จึงเป็นที่มาที่ว่าทำไม สทศ. จึงต้องจัดสอบ O-NET ใบรูปแบบข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบ เพื่อที่จะให้สถานศึกษาได้ขับเคลื่อนทำให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กไทยในด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ดีขึ้น

Q: ข้อสอบ O-NET ป.6 ภาษาไทย มีกี่ข้อ กี่คะแนน แล้วจำเป็นต้องกวดวิชาหรือไม่ ?

ผู้อำนวยการ สทศ. : นักเรียนไม่จำเปนต้องเรียนกวดวิชา และขอให้ผผู้บริหารสถานศึกษา ครูและอาจารย์ไม่ต้องกังวล เนื่องจากการสอบ O-NET ป.6 วิชาภาษาไทย รูปแบบข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบ เป็นการวัดสาระการเขัยน ซึ่งโรงเรียนได้สอนนักเรียนอยู่แล้ว โดยข้อสอบจะมี 2 ข้อ ข้อละ 10 คะแนน รวม 20 คะแนนดังนี้

UploadImage
UploadImage
UploadImage

Q : ผลคะแนนการตรวจข้อสอบอัตนัย มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ?

ผู้อำนวยการ สทศ. : ผลคะแนนการตรวจข้อสอบอัตนัยมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจาก สทศ.

1.ก่อนตรวจข้อสอบอัตนัย ผู้ตรวจทุกคนจะต้องถูกอบรมและพัฒนาทักษะการตรวจและเกณฑ์การให้คะแนนจากข้อสอบ

2.มีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคะแนนผู้ตรวจ โดยพิจารณาค่าความสอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญ (Concurrent Validity)

3.ปิดบังชื่อนักเรียนผู้เข้าสอบ เพื่อไม่ให้ผู้ตรวจทราบโดยใช้รหัส (Code) เท่านั้น ป้องกันความลำเอียง และป้องกันความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดทุกตัวแปร

4.กระดาษคำตอบ หรือ ตำตอบของนักเรียน 1 คน จะถูกตรวจให้คะแนนด้วยครูผู้ช่วยอย่างน้อย 2 คนหากมีผลต่างของคะแนนที่ตรวจเกิน 15% จะให้บุคคลที่ 3 มาตรวจสอบ

5.ครูผู้ตรวจแต่ละคนจะตรวจข้อสอบเพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น