KFC ประเทศไทย ขายกิจการ 244 สาขาสุดท้าย เพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาแบรนด์สู่โหมดแฟรนไชส์ 100% ซึ่งกำหนดให้เป็นไปตามนโยบายบริษัทแม่ ปรับเปลี่ยนเพื่อเน้นประสิทธิภาพในการบริหาร พัฒนาแบรนด์และนวัตกรรม
ปัจจุบัน KFC ในไทยมีทั้งหมด 586 สาขา แบ่งเป็นของ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) 244 สาขา สัดส่วน 42% / CRG (เซนทรัล เรสเทอรองตส์ กรุ๊ป) 219 สาขา สัดส่วน 37% และ RD (บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลลอปเม้นต์ จำกัด) 123 สาขา สัดส่วน 21%
25 มกราคมที่ผ่านมา คุณแววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้จัดการทั่วไปเคเอฟซี ประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) เผยว่า ยัมฯ ได้ขายร้านเคเอฟซีภายใต้การบริหารทั้งหมด 244 สาขา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการตกลงขาย 130 สาขาให้ RD ไปก่อนแล้ว โดยคาดว่าว่าการซื้อขายทั้งหมดจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้
โดยบริษัทยัมฯ ได้มีการประกาศภายในแจ้งไปทางพนักงานบริษัทกว่า 270 คน และพนักงานร้านอีกกว่า 10,000 ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงซัพพลายเออร์เจ้าต่างๆด้วย
ทั้งนี้ตามทิศทาง KFC จากทั้ง 3 บริษัทเจ้าของ จะลงทุนร่วมกันประมาณ 1,035 ล้านบาทสำหรับการเพิ่มสาขารวม 52 แห่งในปีนี้ และเพิ่มเติมอีก 700 ล้านบาทสำหรับงบการตลาด โดยมีเป้าหมายขยายให้ได้ 800 สาขาทั่วประเทศภายในปี 2563 ซึ่งหากการซื้อขายแฟรนไชส์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางบริษัทยัมฯก็จะหยุดการลงทุนและการบริหาร และส่งไม้ต่อให้ทางแฟรนไชส์รับบทต่อไป ส่วนตัวเองจะมุ่งเป็นผู้พัฒนาแบรนด์อย่างเต็มสูบ
ปัจจุบันเคเอฟซีในไทยมีทั้งหมด 586 สาขา แบ่งเป็นของยัมฯ 244 สาขา สัดส่วน 42% ซีอาร์จี 219 สาขา สัดส่วน 37% และอาร์ดี 123 สาขา สัดส่วน 21% (จะเป็น 130 สาขาตามสัญญาเดิมในอีก 4 เดือนนี้) ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปลายปีที่แล้วยัมฯ เพิ่งบรรลุข้อตกลงในการขายกิจการสาขาเดิมกว่า 130 สาขาให้กับแฟรนไชส์รายใหม่คือ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลลอปเม้นต์ จำกัด หรืออาร์ดี ตามนโยบายของบริษัทแม่ที่จะใช้กลยุทธ์ให้แฟรนไชส์เป็นผู้ดำเนินการแทน
“เคเอฟซียังมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก จึงต้องหาพันธมิตรมาช่วยขยายธุรกิจตามเป้าหมายให้มีร้านเคเอฟซีในไทยครบ 800 สาขาภายในปี 2563 ซึ่งเราก็เชิญทางพันธมิตรเดิมคือ ซีอาร์จี และอาร์ดี เข้ามาร่วมด้วยหากสนใจที่จะซื้อแฟรนไชส์เพิ่มอีก” นางแววคนีย์กล่าว
สำหรับ KFC ในต่างประเทศอย่าง ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา แอฟริกาใต้ นั้นก็มีการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จและดำเนินไปในทิศทางที่ดีกันทั้งสิ้น และการประกาศขายของบริษัทยัมฯในครั้งนี้ก็ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก
การทำงานจากนี้ไปเรามี Brand Advisory Council ซึ่งประกอบไปด้วย แววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล, จีเอ็มของ ซีอาร์จี, จีเอ็มของอาร์ดี และผู้บริหารจากยัมฯ ที่ดูแลเคเอฟซี 244 สาขา เพื่อเป็นคณะทำงานการวางนโยบาย ทั้งขยายสาขา การตลาด การพัฒนาต่างๆ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งแฟรนไชส์จะเป็นผู้ลงทุนสาขา ส่วนงบการตลาดนั้นจะมาจากการหักเปอร์เซ็นต์จากยอดขายของแต่ละรายเพื่อเข้ากองกลาง โดยมีทีมการตลาดของยัมฯ เป็นผู้ดูแลบริหาร
ประวัติผู้ก่อตั้ง KFC
ผู้พันฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส ท่านเป็นผู้คิดค้นสูตรไก่ทอดที่มีรสชาติและชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง ร้านเคเอฟซี
แซนเดอส์ต้องทำงานหาเงินช่วยครอบครัวตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี ตั้งแต่ทำงานในฟาร์มใกล้บ้าน เป็นคนขายประกัน พนักงานดับเพลิง แถมยังเข้าเป็นทหารตั้งแต่อายุ 16 ปี (โดยโกหกเรื่องอายุเพื่อเข้าสมัครทหาร) แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าไรนักเลย แต่จนกระทั่งอายุย่างก้าวเข้าสู่วัย 40 เขาก็เริ่มทำงานในด้านที่เขาถนัด นั่นก็คือการทำอาหาร โดยเขาได้เป็นพ่อครัวทำอาหารอยู่ในรัฐเคนทักกี ซึ่งที่นั่นเขาก็ประสบความสำเร็จเมื่อผู้คนชื่นชอบอาหารฝีมือของเขา จนเขาสามารถออกมาเปิดร้านอาหารเป็นของตนเองได้ และในอีก 9 ปีต่อมา
เขาก็คิดค้นไก่ทอดสูตรลับขึ้นมาได้สำเร็จ โดยมีเครื่องปรุงเป็นเครื่องเทศต่างๆถึง 11 ชนิด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนแซนเดอส์ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการรัฐเคนทักกีให้เป็นถึง พันเอก ฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์ ในปี ค.ศ. 1935
LOGO KFC ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจค้าปลีก แฟรนไชส์