“เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ” หนึ่งในอาชีพที่มีมานานมากแล้ว แต่ไม่ได้เป็นอาชีพที่ยอดฮิตมากนัก แต่รู้หรือไม่ว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ทุกภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (จป.วิชาชีพ) ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหนัก หรืออุตสาหกรรมเบา เช่นแท่นขุดเจาะน้ำมันและปิโตรเลียม พาณิชยกรรม แม้กระทั่งโรงแรม ก็ต้องมี จป.วิชาชีพ ไว้เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างให้เป็นไปได้ตามมาตรฐาน
โอกาสที่มากกว่าหากจบจากสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย เพราะสมัยก่อนการที่ใครสักคนจะเป็น จป.วิชาชีพ จะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรของกระทรวงแรงงาน แต่ในปัจจุบันทำเช่นนั้นไม่ได้แล้ว ผู้ที่จะเป็น จป.วิชาชีพ จะต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือในสาขาที่เทียบเท่า เท่านั้น แล้วทำไมเรียนจบสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย จึงมีโอกาสมากกว่า เพราะว่าภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันต้องการบุคลากรที่มีความรู้พื้นฐานทางสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพในแต่อุตสาหกรรม
ถ้าจะพูดถึงหลักสูตรที่จะเข้ามารองรับอาชีพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ก็คงจะต้องเป็น “สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย” มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เปิดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมความปลอดภัยเป็นที่แรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2548 นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้สามารถเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพได้ จุดเด่นของสาขาวิชาคือการผสมผสานความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์และความรู้ด้านอาชีวอนามัยเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
สาขาวิศวกรรมความปลอดภัยรับเด็กเฉพาะสายวิทย์-คณิต หรือ เด็กสายศิลป์ก็เรียนได้ ?
จริงๆ แล้วสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย รับเฉพาะเด็กที่สำเร็จการศึกษาจากสายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เท่านั้น แต่ทางมหาวิทยาลัยให้โอกาสเด็ก เด็กที่ไม่จบวิทย์-คณิต สามารถเข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ได้ แต่ต้องมีการปรับพื้นฐาน ซึ่งหลักสูตรก็มีการเตรียมการปรับพื้นฐานให้ ต้องปรับพื้นฐานให้จบก่อนถึงจะเข้ามาเรียนในหลักสูตรได้ เด็กจะต้องมีพื้นฐานทางด้านวิทย์-คณิตให้เทียบเท่าเด็ก ม.6 ที่จบจากสายวิทย์-คณิต 12 กับ 16 หน่วยกิต
จุดเด่นในกระบวนการเรียนการสอน ?
สัดส่วนของหลักสูตรการเรียนการสอนของเราแบ่งออกเป็น ทฤษฎี 60 ปฏิบัติ 40 ผมย้ำอาจารย์ทุกท่ายเสมอว่าเราจะต้องใส่ในใจการฝึกจากของจริง ลงมือปฏิบัติจริง แต่ทฤษฎีต้องไม่ทิ้ง เพราะพื้นฐานความรู้ของนักศึกษาเราต้องครบ เมื่อนักศึกษาจบการศึกษาออกไป ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และกลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม ชั้นปีที่ 2 และ 3 นักศึกษาจะได้ลงรายวิชาเฉพาะด้าน เช่น กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรม และกลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรม ในปีสุดท้าย (ปีที่ 4) นักศึกษาจะได้ออกไปฝึกงานในสถานประกอบการณ์จริง โดยทางมหาวิทยาลัยบังคับนักศึกษาจะต้องยื่นเอกสารฝึกงานกับสถานประกอบการที่มี จป.วิชาชีพ ประจำสถานประกอบการเท่านั้น ถ้าไม่มี เราจะไม่อนุญาตให้นักศึกษาไม่สามารถเข้าไปฝึกงานได้ มหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการนิเทศนักศึกษาในระหว่างที่ฝึกงานอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยอาจารย์ ที่เป็นอาจารย์ที่รับผิดชอบไปดูว่านักศึกษาได้ไปปฏิบัติงานจริงตามขอบเขตในการฝึกงานที่อาจารย์ได้รับมอบหมายหรือไม่ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบเองก็จะสำรวจและสอบถามจากสถานประกอบการว่าหลังจากนักศึกษาผ่านการฝึกงาน เด็กยังขาดทักษะอะไรบ้าง เราก็จะนำข้อมูลมาปรับปรุงหลักสูตรของเรา เพื่อให้นักศึกษาที่จบออกไปสามารถมีทักษะและความรู้ในการประกับวิชาชีพจริงได้ 100 %
โอกาสงานของนักศึกษาที่จบสาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย สามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ?
โอกาสของการได้งานทำเมื่อจบการศึกษาแน่นอนอยู่แล้วครับ ผมกล้าการันตีเลยงาน มีงานทำ 100% ไม่มีตกงานแน่นอน เพราะความต้องการค่อนข้างสูงมาก ณ ตอนนี้ และอีกอย่างในปัจจุบันมีมหาลัยของรัฐและเอกชนที่เปิดสอนสาขานี้ยังไม่พอกับความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็น
- วิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (Safety Officer, Professional Level) หรือ จป. วิชาชีพ
- นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygienist)
- นักอาชีวอนามัย (Occupational Health Officer)
- พนักงานตรวจสอบความปลอดภัย (Safety Auditor)
- ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย (Safety Officer, Senior Professional Level)
- เจ้าหน้าที่ให้บริการตรวจวัดสภาพแวดล้อม (Environmental Sampling Officer)
- นักวิชาการหรือนักวิจัย (Academic Scholar or Researcher)