สอบเข้ามหาวิทยาลัย

10 อันดับสาขาปริญญาตรี ที่บริษัทต้องการมากที่สุดในปี 2017

NACE ( The National Association of Colleges and Employers )  ได้ทำการสำรวจโดยทำแบบสอบถามกับบริษัทนายจ้างกว่า 169  บริษัท โดยถามเกี่ยวกับแผนการที่บริษัทจะจ้างคนที่จะจบการศึกษาจากมหาววิทยาลัยและจบการศึกษาในตอนท้ายของปีการศึกษา 2017   

NACE ยังได้พบอีกว่าบริษัทมีความต้องการผู้ที่จบปริญญาโท โดยมุ่งเน้นไปที่สาขาทางธุรกิจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  


ผลสำรวจปรากฏดังภาพ infographic นี้  โดยทาง AdmissionPremium ได้ทำเทียบกับข้อมูลภาพการขึ้น-ลง ลำดับจาก ในปี 2016 อีกด้วย 


UploadImage

อันดับ 1 การเงิน (Finance) >> ขึ้นมาจากอันดับ 3 จากปี 2016

การบริหารและจัดการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือหัวใจสำคัญของสาขาวิชาการเงิน (Finance) เรียนจบมาแล้วก็สามารถไปทำงานได้หลายด้าน ทั้งโบรกเกอร์, งานธนาคาร หรือบริษัททั่วไป นายจ้างและบริษัทต่างๆ ย่อมต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยบริหารองค์กร จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สาขาวิชาการเงิน จะเป็นสาขาฮอตติดอยู่ในอันดับที่ 1 จากผลสำรวจที่คิดเป็น 60.4% ของทั้งหมด

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สาขาวิศวกรรมการเงิน

คณะบริหารธุรกิจ  สาขาการเงิน


คณะบริหารธุรกิจ สาขาการวางแผนการเงินและการลงทุน

ดูเพิ่มเติม คลิกที่นี่


อันดับ 2  บัญชี (Accounting) >> ตกลงมาจากอันดับ 1 จากปี 2016
สาขาวิชาบัญชีถึงแม้ว่าจะตกลงมาหนึ่งอันดับ แต่ยังคงเป็นสาขายอดนิยมที่การันตีได้ว่าจบแล้วมีงานทำอย่างแน่นอน ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศก็ฮอตไม่แพ้กัน เพราะว่าการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารธุรกิจ การจัดการ การประกอบกิจการไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องใช้บุคลากรทางด้านบัญชีทั้งสิ้น โดยผลจากการสำรวจของ NACE บริษัทและนายจ้างต้องการมากที่สุดเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 59.7% ของทั้งหมด

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

คณะบัญชี สาขาการบัญชี

คณะบัญชี สาขาปริญญาโท (บัญชีมหาบัณฑิต)


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบัญชี) สาขาบัญชี

คณะการบัญชี สาขาการบัญชี

ดูเพิ่มเติม คลิกที่นี่

อันดับ 3 บริหารธุรกิจ (Business Administration/ Management) >> ขึ้นมาจากอันดับ 4 จากปี 2016

เรื่องของการเงินและการบริหารธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่นายจ้างต้องการจ้างงานมากที่สุด ในการประกอบธุรกิจนั้นเรื่องของการบริหารงานจัดว่าสำคัญมาก สาขาบริหารธุรกิจจึงมีความสำคัญกับธุรกิจในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งทักษะเรื่องการวางแผนและวิเคราะห์ทางการเงินการบริหารเงินทุน และยังเป็นสาขาที่นิยมเรียนมากในระดับปริญญาโทอีกด้วย

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ


คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์

ดูข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่


อันดับ 4 วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) >> ตกลงมาจากอันดับ 2 ของปี 2016

สาขาวิชาเอกที่นายจ้างต้องการมากที่สุดอันดับที่ 4 ได้แก่ วิทยาการคอมพิวเตอร์ คิดเป็น 50.7% ผู้ที่จบปริญญาสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จะมีความรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับอาชีพมากมาย เช่น วิศวกรซอฟต์แวร์, โปรแกรมเมอร์, นักพัฒนาเว็บไซต์ และคอมพิวเตอร์กราฟฟิคดีไซน์ เป็นต้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์


ดูข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

อันดับ 5 วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) >> ยังอยู่ในอันดับเดิม จากปี 2016

สาขาฮิตตลอดกาลคงจะหนีไม่พ้นหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกลที่นายจ้างต้องการตัวมากที่สุดอีกสาขาหนึ่ง คิดเป็น 48.6% เมื่อเรียนจบไปแล้วสามารถเลือกทำงานในสายวิศวกรรมได้หลากหลายด้าน ทั้งการผลิต, พลังงานและระบบสาธารณูปโภคหรือจะทำงานในสายอุตสาหกรรมรถยนต์, น้ำมัน, อุตสาหกรรมรีไซเคิล, เทคโนโลยี, เทคโนโลยีทางดนตรี, วิศวกรรมการแพทย์ เป็นต้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต


คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ดูข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่



อันดับ 6 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information & Systems) >> ขึ้นมาจากอันดับ 7 ปี 2016

ปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศได้มีการขยายตัว จากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์การไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศ และระดับนานาชาติ ปัจจุบันธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อสร้าง MIS ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจและขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารในยุคปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง


คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์


คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล

ดูข้อมูลเพิ่มเติม  คลิกที่นี่


อันดับ 7 สารสนเทศศาสตร์ (Information science & system) >> ตกลงมาจากอันดับ 6 ปี 2016

วิทยาการสารสนเทศ หรือ Information Science เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ ตั้งแต่การรับรู้ การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การเก็บ การค้นคืน และการสื่อสารสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ในการศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศนั้น มีความจำเป็นต้องศึกษาวิชาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วย เนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับประมวลผลสารสนเทศนั่นเอง

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง


คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์


คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล

ดูข้อมูลเพิ่มเติม  คลิกที่นี่


อันดับ 8 โลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics/ Supply Chain) >> ขึ้นมาจากอันดับ 9 ปี 2016

โลกแห่งการแข่งขันทางธุรกิจไม่ใช่เพียงแค่มีการดำเนินงานให้เกิดการซื้อขายและบริการเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจในเรื่องของการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนด้วย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้อยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ดีกว่าคู่แข่งขันอีกด้วย ดังนั้นผู้ที่จบการศึกษาทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนยังเป็นที่ต้องการมากในตลาดแรงงาน วัดจากผลการสำรวจของ NACE

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี สาขาบริหารธุรกิจ กลุ่มวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน


เพิ่มเติม คลิกที่นี่

อันดับ 9 วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) >> ตกลงมาจากอันดับ 8 ปี 2016

สำหรับสายงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าเมื่อเรียนจบออกมาแล้ว สามารถทำงานได้หลากหลายสายงานด้วยกัน เช่น วิศวกรควบคุมการออกอากาศ, วิศวกรควบคุมอุปกรณ์ ฯลฯ โดยสายงานหลักของสาขานี้จะเน้นอยู่ที่ สายงานด้านยานยนต์, อวกาศ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, เครื่องมือแพทย์, เครื่องมือสื่อสาร และอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า


อันดับ 10 เศรษฐศาสตร์ (economics) >> ยังคงอยู่ในอันดับเดิม จากปี 2016

จากการสำรวจโดย NACE พบว่าสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่นายจ้างต้องการมากมาเป็นอันดับที่ 10 โดยคิดเป็น 38.9% ของทั้งหมดที่ได้ทำการสำรวจ สำหรับสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มีความจำเป็นและสำคัญมากตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยศึกษาด้านการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและบริการ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นศาสตร์ที่จำเป็นมากต่อธุรกิจต่างๆ รวมไปถึงการเงิน ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า “Neo – Classical Economics”


หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

คณะเศรษฐศาสตร์  สาขาศรษฐศาสตร์

คณะศรษฐศาสตร์ สาขาการสื่อสารเศรษฐกิจ

ดูเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : campus.campus-star.com