เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
สิ่งที่เต๋อ ฉันทวิชช์ เรียนรู้จากมหา’ลัย
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
26 ก.ย. 59 15:44 น.
26 ก.ย. 59 15:44 น.
อ่านแล้ว
781
จำนวน
แชร์
พี่จ๋า AdmissionPremium
เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี
รหัสนิสิต : 4445022828
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี
คือนักแสดงมากความสามารถของค่าย GDH 559 ในช่วงเรียนมหา'ลัย เต๋อเป็นนิสิตคณะนิเทศ จุฬาฯ เอกภาพยนตร์ ที่มีโอกาสก้าวเข้าไปเป็นนักแสดงของละครเวทีคณะทุกปี จนเรียกได้ว่ากิจกรรมละครเวทีเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของชีวิตมหา'ลัย ของเขา และนี่คือสิ่งที่เต๋อได้เรียนรู้จากละครเวที-วิชาที่เขาเต็มใจเลือกเอง
ฉาก 1
“เราเข้าคณะนิเทศฯ เพราะเราอยากทำภาพยนตร์ แต่นอกเหนือจากการเรียนแล้ว ที่คณะยังมีกิจกรรมเยอะมาก หนึ่งในนั้นคือละครเวทีที่มีปีละครั้ง ซึ่งการทำละครเวทีมันก็จะมีแผนกต่างๆ ให้น้องๆ อย่างเราเข้าไปเลือกทำ เช่น ฝ่ายฉาก ฝ่ายมัลติมิเดีย ฝ่ายซาวนด์ ฝ่ายคอสตูม แล้วก็มีทีมฝ่ายเขียนบท กำกับ และนักแสดง ซึ่งเราก็ตั้งใจจะอยู่ฝ่ายมัลติมีเดีย ทำ Visual ในฉาก ถ่ายวิดีโอโปรโมตละคร ทำเอ็มวี ฯลฯ ซึ่งมันก็จะคล้ายๆ กับการทำหนัง”
ฉาก 2
“แต่ด้วยความที่คณะนิเทศฯ จะมีผู้ชายน้อยมาก ปีๆ หนึ่งก็จะมีแค่ 10 - 20 คน เป็นตุ๊ดก็เกือบครึ่งแล้ว ทำให้ผู้ชายทั้งหมดในคณะต้องเข้าไปแคสติ้งตัวละครที่เป็นผู้ชายในละครเวทีด้วย ทั้งบทเล็ก-ใหญ่ พอเข้าไปแคสต์แล้ว ปรากฎว่าเราได้เล่นเลยตั้งแต่อยู่ปี 1 ละครเวทีเรื่องนั้นคือ อีสป เวตาล นิทานฮัดช่า เล่นเป็นยามที่พูดแค่คำว่า ‘เฮ้’ และก็ออกมาแค่ 3 - 4 ฉาก แต่เวลาซ้อมก็จะซ้อมเท่าๆ กับทุกคน
“พอขึ้นปี 2 เป็นเรื่อง นิทราวาณิชย์ เราก็ตั้งใจว่าอยากจะกลับไปทำฝ่ายมัลติมีเดียแล้ว แต่ก็เข้าข่ายแบบเดิมคือ ผู้ชายที่คณะมันมีน้อย เราก็ได้เข้าไปแคสต์อีก แล้วก็ได้เล่นอีก รุ่นพี่ก็ให้เหตุผลว่าเรามีพื้นฐานการแสดงมาจากการเวิร์กช็อปครั้งที่แล้วมาแล้ว เหมือนเรามีประสบการณ์แล้วก็ได้เข้าไปเล่นละครเวทีอีกครั้ง ไปซ้อม ไปเวิร์กช็อปเหมือนเดิม แต่คราวนี้เล่นเป็นคนแก่ มีบทพูดเยอะขึ้นหน่อย พออยู่ปี 3 เราก็ชัดเจนว่าจะไปทำมัลติมีเดียแน่ๆ ผมก็เลยพูดกวนๆ ทีมแคสต์ฯ ไปว่า ‘คราวนี้ถ้าผมไม่ได้เล่นเป็นพระเอก ผมไม่เล่นแล้วนะ’ ปรากฎว่าเขาให้แคสต์บทพระเอกเลย แล้วเราได้เล่นด้วย เป็นเรื่อง ลำซิ่งซิงเกอร์ และก็ลามมาถึงปี 4 คือเล่นเป็นพระเอกเรื่อง ซานเทียน หอนางฟ้า ยามหายุทธ ตอนปี 4 ด้วย สรุปแล้วทั้ง 4 ปีก็ไม่เคยอยู่ฝ่ายมัลติมีเดียเลย”
ฉาก 3
“มันจะมีเวิร์กช็อปหนึ่งที่เราชอบที่สุดเลยคือ improvise คือให้เราอยู่ในพื้นที่สี่เหลี่ยม แล้วก็จะมีคนกำหนดสถานการณ์ให้ว่าตอนนั้นเราเจอกับอะไรอยู่ เช่น ตอนนี้อยู่ในลิฟต์ที่กำลังขึ้น แต่ละชั้นเปิดออกมาก็จะมีการ improvise สถานการณ์ขึ้นเรื่อยๆ เช่น ลิฟต์ค้าง มีกลิ่นไหม้ มีคนตาย ซึ่งผมสนุกมาก เป็นสิ่งที่ผมคิดถึงที่สุดในห้องเวิร์กช็อป ผมรู้สึกว่าคลาสนั้นสนุกสุดตรงที่มันเป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ แล้วมันบอกเราว่า ชีวิตเรากำหนดอะไรไม่ได้ เช่นเดียวกันกับการแสดง แม้จะบอกว่ามีบทละครแล้ว มีบทพูดแล้ว แต่จริงๆ เรากำหนดสถานการณ์ตรงหน้าไม่ได้เลย บทก็เป็นแค่ไกด์ไลน์ เพราะเวลาเล่น มันก็ต้องไหลไปตามสถานการณ์อยู่ดี อย่างเช่น ในหนังเรื่อง กวน มึน โฮ มันจะมีฉากที่เราเล่นกันหนูนาแล้วมันต้องวิ่ง แต่หนูนาหกล้มจนขาชี้ฟ้า เราพูดว่า ‘เป็นอะไรหรือเปล่า’ ในแบบฉบับคาแรกเตอร์เหมือนในบท เราไม่ได้พูดว่าหนูนาเป็นอะไรหรือเปล่า ซึ่งซีนเหล่านี้มันก็ไม่ได้อยู่ในบท มันคือลิฟต์ตัวนั้นที่ไม่รู้สถานการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เราแค่ต้อง improvise ตามน้ำไปเรื่อยๆ
ฉาก 4
“อีกเรื่องที่เราเรียนรู้จากการทำละครเวทีคือการทำงานเป็นทีม คือตั้งแต่สมัยเรียนเสมอมา เราจะรู้สึกว่าเราพยายามเอาตัวรอดด้วยตัวเอง เพราะแม้ว่าเราจะติวหนังสือกับเพื่อน แต่เวลาเอนทรานซ์ก็ต้องสอบเอง พึ่งตัวเองอยู่ดี เราต้องช่วยเหลือตัวเองเพื่อไปสู่จุดที่ต้องการ ดังนั้นเราก็เลยเป็นคนที่อยู่กับตัวเองเยอะ ติวเอง อ่านหนังสือเอง แต่การทำละครเวทีมันเป็นอีกแบบหนึ่งไปเลย เราอยู่กับตัวเองไม่ได้ มันต้องทำงานเป็นทีม ทุกอย่างรวมกันเพื่อเป็นก้อนเดียวไปสู่คนดู ดังนั้นช่วงที่ทำงานผมจะเจอคนจากหลายฝ่ายมาก มีการตกลงร่วมกัน คุยร่วมกันเยอะมาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก มันทำให้เรารู้ว่าการทำงานที่เป็นการแสดงสักอย่าง จะมีคนเบื้องหลังเยอะมาก”
“มันทำให้ผมเชื่อมาตั้งแต่ตอนนั้นเลยว่า การทำงานเป็นทีมดีที่สุด จะทำงานคนเดียวก็ได้แหละ แต่การทำงานเป็นทีมมันสบายใจ แล้วก็มีหลายความคิด มันจะไม่ได้แค่สิ่งที่ดี แต่จะได้คำว่าดีที่สุด”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
adaymagazine
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการออกแบบสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยสยาม
ดูรายละเอียดและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเพิ่มเติม
คลิกที่นี่
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
781
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
เรียนหมอเอกชน ต้องใช้เงินเท่าไหร่? เปิดค่าเทอม แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวะ ม.เอกชน เช็กเลย!
124
เปิดโผ ที่สุดของปี!! การจัดอันดับ 10 มหาวิทยาลัยไทย ปี 2567 โดย Webometrics ม.ไหนครองแชมป์?
3K
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น สำหรับสายงาน IT อ้างอิงจาก Adecco Salary Guide FY2016
3K
เตรียมอุดมฯ ปรับวิธีคัดเด็กโควตาปี 60
5K
Dek รุ่นไหนก็มาร่วมงานนี้ได้ ! วางแผนเตรียมตัว สู่รั้วมหาวิทยาลัย (รับจำนวนจำกัด)
5K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
ยื่นพอร์ตปุ๊ป สัมภาษณ์ปั๊บ
สมัครออนไลน์ได้เลย!!!
นับถอยหลัง ม.5 !! สอบติดหมอ ไม่ยาก
ติวเข้มข้น ครบทุกวิชา ที่ใช้ในการสอบติด แพทย์ กสพท
สาขาแนะนำ ตามคำเรียกร้อง
น่าเรียน มีที่ไหน เน้นอะไร มาดูกัน!!
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
ติวเจาะ A-Level ครบทุกวิชา สายแพทย์
บูสต์คะแนน 70 UP กับเคล็ดลับเพิ่มคะแนน A-Level แบบฉุดไม่อยู่
จะดีแค่ไหน! ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าสอบติดไหม?
พร้อมรู้แนวข้อสอบ #TCAS66 ก่อนสอบจริง คลิกเลย!
×
Close