เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
หมดยุค ปริญญาแปะฝาบ้าน ทักษะอาชีพสำคัญกกว่า
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
21 ส.ค. 59 10:46 น.
21 ส.ค. 59 10:46 น.
อ่านแล้ว
614
จำนวน
แชร์
พี่จ๋า AdmissionPremium
“กับดักรายได้ปานกลาง”…
หรือภาวะที่สังคมหนึ่งจากเดิมเคยมีรายได้จากอาชีพประเภท “ใช้แรงงานมาก” กระทั่งในยุคต่อมา ประชากรโดยรวมในสังคมนั้น มีการศึกษาที่ดีขึ้น พร้อมกับอัตราค่าแรงที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทว่าศักยภาพประชากรยังไม่อาจก้าวไปสู่ขั้น “สังคมนวัตกรรม” ที่ใช้ความรู้และทักษะขั้นสูง ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถ “ลดตัว” ลงไปแข่งขันกับสังคมที่อยู่ระดับล่างที่ค่าแรงถูกได้อีกต่อไป
นี่คือสภาพที่ “ประเทศไทย” กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน!!!
ไม่นานนี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(DPU) จัดการประชุมนานาชาติ หัวข้อ “การยกระดับกำลังคนของไทย : ทางออกจากกับดักรายได้ปานกลาง” ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
ซึ่ง “น.ส.อกิโกะ ซากาโมโตะ” ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะและการจ้างงาน องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) เปิดเผยผลการสำรวจผู้ประกอบการในอาเซียนจำนวน 4,076 ราย และนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัยต่างๆในอาเซียน จำนวน 2,747 ราย พบว่า ในอาเซียน “แรงงานหน้าใหม่” กลับมีทักษะไม่ต่างจาก “แรงงานใกล้เกษียณ”
ผู้เชี่ยวชาญจาก ILO กล่าวอีกว่า ในยุคการทำงานที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง กลุ่มแรงงานผู้หญิงและกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หากไม่มีการพัฒนาทักษะ นอกจากนี้ จากการสำรวจแรงงานรุ่นใหม่ อายุ 18-24 ปีของไทย มีความสนใจงานด้านข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการการเงิน และด้านศิลปะบันเทิง
“โจทย์สำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้สอดรับกับทักษะที่ตลาดโลกต้องการ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง แต่ทักษะของบัณฑิตและผู้จบการศึกษาในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยและกัมพูชา กลับสวนทาง” น.ส.อกิโกะ กล่าว
แล้วอะไรคือ “ทักษะแรงงานที่โลกต้องการ” ในยุคอนาคต?...“นายแอนเดรียส ชไลเชอร์” ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาและทักษะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ระบุว่า แนวโน้มตลาดแรงงานโลกจะให้ความสำคัญกับแรงงานที่มี “ทักษะชีวิต” ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร และการประสานความร่วมมือ รวมถึงลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพ ได้แก่ ความไม่ย่อท้อ ความสามารถในการปรับตัว ความใคร่รู้ เป็นต้น
มากกว่าแค่ “วิชาการ” ที่ร่ำเรียนในสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว!!!
สอดคล้องกับที่ “ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว” คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงผลงานวิจัยที่ทำร่วมกับ สสค. ในการศึกษาตลาดแรงงานและผู้ประกอบการภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) นำร่องใน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ตราด และภูเก็ต พบว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าวให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของลูกจ้างเรียงตามลำดับ คือ
“ทำงานเป็น”
หรือมีทักษะทางอาชีพตรงกับที่นายจ้างต้องการ มาเป็นอันดับ 1 ตามด้วย
“ความประพฤติดี”
เช่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความซื่อสัตย์ เป็นอันดับ 2 ส่วน
“วุฒิการศึกษา”
จากสถาบันต่างๆ อยู่ในอันดับ 3
ด้าน “ม.ล.ปุณฑริก สมิติ” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้กำลังพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการมีงานทำ ซึ่งสาระสำคัญ คือ นักเรียน ม.3 หรือ ม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษา ต้องเข้ารับการ
“ทดสอบความถนัด”
เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีทักษะด้านใด เป็นแนวทางสำหรับนำไปเลือกศึกษาต่อหรือทำงานในอนาคตต่อไป รวมถึงให้ผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรม แจ้งความต้องการจ้างแรงงานมายังกระทรวงแรงงาน ทั้งจำนวนที่ต้องการ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และทักษะที่ขาด ซึ่งกระทรวงแรงงานจะนำข้อมูลมาวางแผน “ผลิตกำลังคน” รองรับตลาดแรงงานต่อไป นอกจากนี้ปัจจุบันภาครัฐยังส่งเสริมการศึกษาแบบ “หลักสูตรทวิภาคี” ให้แรงงานรุ่นใหม่ที่ยังศึกษาอยู่เข้าฝึกงานเรียนรู้งานกับองค์กร โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจะได้
“สิทธิประโยชน์ด้านภาษี” จากรัฐ!!!
นอกจากแรงงานภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการแล้ว “ภาคเกษตร” ก็ต้องไม่ละเลย...“ดร.ไมค์ วาย เค กู” อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติผิงตุง ไต้หวัน ยกตัวอย่างไต้หวันที่ในอดีตเป็นประเทศเกษตรกรรมแบบเข้มข้น มาเป็นประเทศที่ทำเกษตรแบบ“ไฮเทค” ทั้งการควบคุมผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ ภายใต้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชนบท รวมถึงการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
“แม้จีดีพีภาคเกษตรจะลดลงจากร้อยละ 30 ในปี 2493 เป็นร้อยละ 2 ในปี 2558 และจำนวนเกษตรกรลดลงจากร้อยละ 50 ในปี 2493 เหลือร้อยละ 6-10 ในปี 2558 แต่ก็ทำให้เกษตรกรจำนวนดังกล่าวมีรายได้สูงขึ้นมาก เพราะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในงานเกษตรกรรม” ดร.ไมค์ วาย เค กู กล่าวทิ้งท้าย
ในอดีตเรามักสอนกันว่า “เรียนให้สูงๆ นะลูก โตขึ้นจะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคนนายคน” ส่งผลให้เกิดการดิ้นรนเพื่อส่งบุตรหลานไปเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นนำ เพราะมองว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษา โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา แค่ “มีใบปริญญาประดับฝาบ้าน” ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว
ทว่า...ในปัจจุบันและอนาคตกระแสโลกได้เปลี่ยนไป เช่นที่ เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21(Partnership For 21st Century Skills) ซึ่งเป็นเครือข่ายของกลุ่มธุรกิจชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก อาทิ แอปเปิ้ล(Apple), ไมโครซอฟท์(Microsoft) และดิสนีย์(Disney) เป็นต้น ร่วมกับองค์กรด้านการศึกษาอีกหลายแห่ง กล่าวถึงทักษะสำคัญของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ไว้ ดังนี้...
“3R” ได้แก่ การอ่าน (“R”eading), การเขียน(w“R”iting) และการคำนวณ(a“R”ithemetic) กับ “7C” ได้แก่ มีวิจารณญาณ(“C”ritical Thinking), คิดอย่างสร้างสรรค์(“C”reativity), เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม(“C”ross-cultural Understanding), ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (“C”ollaboration), ใช้สื่อเป็นอย่างรู้เท่าทัน(“C”ommunications-Media Literacy), ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น(“C”omputing and ICT Literacy) และมีทักษะทางวิชาชีพรวมถึงการเรียนรู้(“C”areer andLearning Skills)
ทักษะทั้งหมดนี้ มิใช่แค่การเรียนในรั้วสถาบันการศึกษา แต่ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรม “เรียนรู้ตลอดชีวิต” ตั้งแต่เกิดจนตาย...ดังนั้นสังคมไทยทุกภาคส่วน พร้อมปรับตัวหรือยัง!?!?!
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
แนวหน้า
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
614
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
เรียนหมอเอกชน ต้องใช้เงินเท่าไหร่? เปิดค่าเทอม แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวะ ม.เอกชน เช็กเลย!
124
เปิดโผ ที่สุดของปี!! การจัดอันดับ 10 มหาวิทยาลัยไทย ปี 2567 โดย Webometrics ม.ไหนครองแชมป์?
3K
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น สำหรับสายงาน IT อ้างอิงจาก Adecco Salary Guide FY2016
3K
เตรียมอุดมฯ ปรับวิธีคัดเด็กโควตาปี 60
5K
Dek รุ่นไหนก็มาร่วมงานนี้ได้ ! วางแผนเตรียมตัว สู่รั้วมหาวิทยาลัย (รับจำนวนจำกัด)
5K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
ติวเจาะ A-Level ครบทุกวิชา สายแพทย์
บูสต์คะแนน 70 UP กับเคล็ดลับเพิ่มคะแนน A-Level แบบฉุดไม่อยู่
ติวสอบติดหมอ ครบทั้ง 3 พาร์ท
พาร์ทเชาว์ พาร์ทจริยธรรม พาร์ทเชื่อมโยง โดยอันดับ1 กสพท ของประเทศ
จะดีแค่ไหน! ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าสอบติดไหม?
พร้อมรู้แนวข้อสอบ #TCAS66 ก่อนสอบจริง คลิกเลย!
ยื่นพอร์ตปุ๊ป สัมภาษณ์ปั๊บ
สมัครออนไลน์ได้เลย!!!
นับถอยหลัง ม.5 !! สอบติดหมอ ไม่ยาก
ติวเข้มข้น ครบทุกวิชา ที่ใช้ในการสอบติด แพทย์ กสพท
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
×
Close