สอบเข้ามหาวิทยาลัย

จากสาวโรงงานเป็นผู้พิพากษา "เส้นทางสู่การเป็นผู้พิพากษา"

เป็นที่พูดถึง และชื่นชมเป็นอย่างมาก สำหรับเรื่องราวชีวิตที่ไม่ธรรมดาของท่านผู้พิพากษา  ลัดดาวรรณ หลวงอาจ จากอดีตสาวโรงงาน คนรับจ้างปรบมือ พนังงานเซเว่น แต่เพราะหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ ในวันนี้เธอคือ “ผู้พิพากษาหญิง” ด้วยใจที่บากบั่น อุตสาหะ ทำให้เธอได้ประกอบอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี รับอาชีพที่ทำให้ชาติเจริญก้าวหน้า เป็นอาชีพที่ประชาชนพึ่งพา

ลัดดาวรณ หลวงอาจ ผู้พิพากษาสาว วัย 37 ปี จากชีวิตเด็กสาวอีสาน ที่ทุกคนมองว่าเป็นเด็กขี้อาย ไม่สุงสิงกับใคร ติดยาย เวลาไปไหนมาไหน ก็จะมียายตามติดไปด้วยตลอด ในช่วงวัยเรียนประถม เธอชอบอ่านหนังสือมาก เวลาส่วนใหญ่ก็มักจะนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดของโรงเรียน อ่านทุกเล่ม เล่มละหลายๆรอบ เธอเริ่มด้วยต้นทุนชีวิตที่ติดลบ พ่อแม่และครอบครัวไม่ได้มีเงินทองมากมายพอที่จะส่งให้เรียนสูงๆได้ ดังนั้นเมื่อเธอเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พ่อแม่ก็ไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา เธอจึงต้องหยุดเรียนแล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ซึ่งสวนทางกับความต้องการในใจยิ่งนัก และด้วยความที่เป็นหลานรักของคุณยาย ซึ่งเลี้ยงแบบทะนุถนอมมาตลอด ไม่เคยปล่อยให้ทำงานบ้านเลย เธอจึงโตมาแบบที่ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง เรียกว่าเหมือนถูกเลี้ยงมาอย่างดีเลยทีเดียว ทำกับข้าวก็ไม่เป็น ให้ไปตากแดด ตาก-ลม ทำไร่ทำนาก็ไม่สู้ ทำให้ตอนนั้นเธอมีเพียงความคิดเดียวที่ฝังอยู่ในหัวว่า “ฉันไม่ชอบทำเกษตรกรรม เพราะมันเหนื่อย แต่ฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันอยากเรียนหนังสือสูงๆ ทำงานดีๆ จะได้ส่งเงินให้พ่อแม่”

จากนั้นเธอจึงขวนขวายที่จะเรียนหนังสือให้จงได้ เริ่มจากไปสมัครเรียน กศน.ทางไกล หรือระบบการศึกษานอกโรงเรียน ที่จังหวัดข้างเคียง ห่างจากหมู่บ้านของเธอประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งหนทางที่เธอต้องฝ่าไปนั้นก็ทรหดเอาการสำหรับ เด็กหญิงและยายชรา ภาพที่คนอื่นเห็นจนชินตาก็คือ ยายหลานคู่หนึ่ง เดินขึ้นเขาลงเขา ทุกวันอาทิตย์ ตอนเช้าและตอนเย็น เธอต้องเดินจากหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร เพื่อขึ้นรถเมล์ไปเรียน ทุกวันอาทิตย์  ส่วนวันอื่นๆที่เหลือก็จะกลับมาอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนเอง เป็นเวลากว่า 1 ปี จบจบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 3
 
UploadImage

และเมื่อเธออายุ 15 ปี เธอก็คิดการณ์ใหญ่ว่า ยังไงก็จะมุ่งมั่นเรียนต่อให้ได้ จึงตัดสินใจไปขอพ่อกับแม่ เข้ากรุงเทพฯ เพื่อทำงานและหาที่เรียนต่อ โดยมีเงื่อนไขว่าจะส่งเงินกลับมาให้ที่บ้านทุกเดือน งานแรกที่เธอทำก็คือพนักงานโรงงานปลากระป๋องทูน่า ในจังหวัดนครปฐม ถึงแม้ว่าจะต้องทนกลับกลิ่นคาวปลา จนคลื่นไส้ อาเจียน แต่เธอก็กัดฟันสู้ เพราะคิดเสมอว่าเป้าหมายคือการเรียนต่อ และจะสานฝันนี้ให้สำเร็จ เธอทำงานที่โรงงาน 6 วัน และวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุด ก็จะไปเรียน กศน. เธอไม่รู้สึกเหนื่อยเลย ที่จะต้องไปเรียน แทนที่จะหยุดพักผ่อนเหมือนเพื่อนคนอื่นๆ นั่นเป็นเพราะว่า การไปเรียนหนังสือ อ่านหนังสือ ก็คือการพักผ่อนชั้นยอดแล้ว และเมื่อถึงสิ้นเดือนเวลาส่งเงินกลับไปให้พ่อแม่ ก็จะมีความสุขมากเช่นกัน โดยเธอจะเก็บไว้ส่วนหนึ่งไว้เป็นค่าเรียน กับค่ากับข้าวเท่านั้น

จากนั้นเธอก็ย้ายไปทำงานที่โรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานทอผ้า แม้ว่าจะทำงานโรงงานแต่เธอก็ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการทำงานนี้ เป็นต้นว่าได้ฝึกความอดทน ไม่ย่อท้อต่อการทำงานหนัก ซึ่งเป็นพื้นฐานของจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆทั้งหลายไปได้ แต่การทำงานที่นี่ก็ยังไม่ทำให้เธอเห็นอนาคตที่จะเรียนต่อได้เท่าไหร่นัก เธอจึงกลับบ้านไปตั้งหลัก และกลับมาสมัครงานในโรงงานอิเลกทรอนิกส์ แถว จังหวัด สมุทรปราการ และเริ่มต้นสมัครเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่โชคร้ายที่โรงงานแห่งนี้มีนโยบายจ้างพนักงานแค่ 4 เดือน เธอจึงอยู่ในสถานะคนตกงาน จึงจำเป็นต้องพักเรื่องเรียนไว้ก่อนเช่นกัน 

จนเธอได้มาเป็นสาวโรงงานเครื่องแฟกซ์ แถวอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แม้ว่าเงินจะไม่ได้ดีเท่าทีเดิม แต่ก็มีวันหยุดเยอะพอที่ทำให้เธอวางแผนจะสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้อีกครั้งหนึ่ง ในคณะนิติศาสตร์ เพราะวิชาพื้นฐานน้อย วิชาหลักก็ไม่มีสอนในชั้นมัธยม นักศึกษาทุกคนเริ่มใหม่พร้อมเท่ากันหมด ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจเข้าเรียนในคณะนิติศาสตร์  ในตอนนั้นเธอรู้แค่พอเรียนได้ ไม่ได้ถึงกับเก่งอะไร ชอบไปเรียนหนังสือ มีความสุขทุกครั้งที่มีอาจารย์สอนอยู่หน้าห้อง เพราะฉะนั้นจะตั้งใจเรียนมาก จดและจำทุกอย่างที่อาจารย์สอน จึงได้อะไรจากที่อาจารย์สอนเยอะมาก แต่ปัญหาตอนนั้นคือที่ทำงานกับที่เรียนค่อนข้างไกลกันมาก และงานหนักเกินไป ไม่เหมาะแก่การเรียน เธอจึงตัดสินใจลาออก และสมัครเป็นพนังงานเซเว่น ใกล้กับมหาวิทยาลัยแทน และด้วยความขยัน มุ่งมั่น ทุ่มเท  เธอจึงใช้เวลาเพียง 3ปี ก็สามารถเรียนจบคณะนิติศาสตร์ มหาลัยรามคำแหงได้ จากนั้นก็เรียนเนติบัณฑิตต่ออีก 1ปี จนสอบเป็นผู้พิพากษาได้ และสานฝันของตัวเองได้สำเร็จ
 
UploadImage

“การศึกษาหาความรู้ที่ดีคือ ไม่ใช่การนำข้อมูลมหาศาลมายัดใส่สมองเพียงครั้งเดียว แต่เป็นการค่อยๆซึมซับ สั่งสมความรู้ที่ละเล็กทีละน้อย และฝึกจนเชี่ยวชาญ จุดสำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่อง เราก็จะสามารถจดจำและนำไปปรับใช้ได้ มันจะเป็นความรู้ความเข้าใจที่นานเท่าไหร่ก็จะไม่ลืม ความรู้ก็จะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยฟรี “

” มันยากที่ใจ ถ้าใจเราไม่เอาแล้ว มันก็ไปต่อไม่ได้ ไม่มีใครจะหยุดเราได้ ทุกอย่างเริ่มต้นที่ใจ ต้องมองหาสิ่งดีๆที่เรามีให้ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่เราทุกคนมีเหมือนกันคือ ‘ลมหายใจ’ ถ้าเรายังมี ‘ลมหายใจ’ ต้องทำอะไรต่อไปได้แน่นอน มันจะต้องมีหวังอยู่ในนั้น “

หากเปรียบชีวิตของท่านลัดดาวรรณ ก็คงจะเหมือนนวนิยายเรื่องหนึ่งที่ เด็กสาวบ้านนอก จากต่างจังหวัด ทะเยอทะยานเข้ากรุงมาหางานทำ เริ่มต้นด้วยการเรียนหนังสือ แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ท่านลัดดาวรรณต้องใช้ความเพียรพยายาม และต่อสู้ชีวิตมาแล้วมากมาย ด้วยหัวใจที่แข็งแกร่งไม่เคยยอมแพ้เลยสักครั้งเดียว ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กหญิงลัดดาวรรณ ในวันนั้น พลิกชีวิตสู่ ท่านผู้พิพากษาหญิง ลัดดาวรรณ ก็คือ เธอมีธรรมมะประจำใจอยู่บทหนึ่ง คือ “ ในวันที่สิ่งที่ดูผิดพลาดไปหมด ใจที่ดี จำนำทุกสิ่งกลับเข้าที่เอง การที่มาถึงวันนี้ได้คือ มีใจที่ไม่เคยยอมแพ้ คือพอทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่หวัง เราก็คิดว่ามันต้องมีทางอื่น มันต้องมีหวัง พอเราเหนื่อย เราก็พักก่อน เดี๋ยวเราก็หาทางไปต่อได้เอง ถ้าเราไม่ล้มเลิกซะก่อน วันหนึ่งเราก็จะถึงจุดหมายปลายทาง”

จากเรื่องของ ท่านผู้พิพากษา ลัดดาวรรณ หลวงอาจ  เชื่อว่าสามารถเป็นแรงบันดาลใจ เป็นตัวอย่างแห่งความอดทน ให้กับใครได้อีกหลายคน และทำให้ดิฉันยังคงเชื่ออีกสิ่งหนึ่งว่า สิ่งที่มนุษย์คิดว่าทำไม่ได้ไม่มี มีแต่ตัวเราเองที่หยุดทำมันเสียก่อน เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเราเป็นอะไรก็ได้ หากเรามีความพพยายามมากพอ อย่ายอมแพ้ต่ออุปสรรคที่เข้ามาระหว่างทางนะคะ อดทนและฝันฝ่ากับมันเพื่อความฝันและจุดหมายปลายทางที่สวยงาม แล้วเมื่อวันแห่งความสำเร็จมาถึง เมื่อนั้นเราจะรู้ซึ้งว่าความพยายามทำให้ความสำเร็จมีคุณค่ามากเพียงไร

“บางทีอุปสรรคทั้งหลาย ตัวเราต่างหากที่สร้างขึ้นมาเอง การหาข้ออ้างสำหรับการขี้เกียจนี่ง่ายนะ แต่การหาข้ออ้างที่ทำให้ขยันนี่ … มันต้องได้แรงบันดาลใจ ตราบที่ยังมี ‘ลมหายใจ’ ชีวิตต้องมีความหวัง นี่เป็นแรงบันดาลใจของฉัน”

UploadImage

UploadImage

UploadImage



ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  tnews


เส้นทางการจะเป็นผู้พิพากษา 

บันไดขั้นแรก : น้องจะต้องเรียนจบปริญญาตรีในสาขานิติศาสตร์ 

บันไดขั้นที่สอง : น้องจะต้องผ่านหลักสูตรการอบรมกฎหมายจากเนติบัณฑิตเสียก่อน 

บันไดขั้นที่สาม : เก็บอายุงาน

  คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการของผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาคือการเก็บอายุงาน สามารถเลือกได้สองทาง ทางแรกคือการต้องมีประสบการณ์ในกาทำงานทางด้านกฎหมายมาไม่น้อยกว่าสอง ปี ในตำแหน่งดังต่อไปนี้

1  จ่าศาล,รองจ่าศาล 
2. ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
3. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
4. เจ้าพนักงานบังคับคดี
5. พนักงานคุมประพฤติ 
6.  อัยการ
7. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ 
8. อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
9. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
10.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป.
11. ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี
12. นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
13.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร 
14.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่ ก.ต.รับรอง

        หรืออีกทางคือการเก็บคดี ในทางนี้อาจจะใช้เวลาที่น้อยกว่าวิธีแรก แต่การที่เป็นทนายเก็บคดีได้นั้น ต้องผ่านการอบรม จากสภาทนายความก่อน ซึ่งมีทั้งการสอบภาคทฤษฎี หากผ่านแล้วก็ตจะได้สอบภาคปฏิบัติ และสอบปากเปล่าเป็นอันดับสุดท้ายเมื่อได้รับใบอนุญาตว่าความหรือที่เรียกว่าตั๋วทนาย ก็สามารถใช้เก็บคดีเพื่อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาในลำดับต่อไปได้

บันไดขั้นสุดท้าย : สอบคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา


คณะ/มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตร์ คลิกที่นี่