บริษัท Fastbrick Robotics จากออสเตรเลีย พัฒนา “หุ่นยนต์ก่ออิฐ” ตอบโจทย์ปัญหาค่าแรงงานก่อสร้างในอนาคต สามารถสร้างบ้านขนาด 4 ห้องนอน ได้ภายในเวลาเพียง 2 วัน โดยปราศจากแรงงานมนุษย์
ปัจจุบันค่าแรงของคนงานก่อสร้างในออสเตรเลีย ทะยานสูงถึง 3,500,000 บาท/ปี หรือเฉลี่ย 291,600 บาท/เดือน จึงกระทบต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ในขณะเดียวกัน จำนวนแรงงานก็ลดน้อยถอยลง น้อยนักที่คนรุ่นใหม่จะเลือกอาชีพก่อสร้าง บริษัท Fastbrick Robotics จึงพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะเข้ามามีบทบาทในวงการก่อสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหาในจุดนี้
หุ่นยนต์ก่ออิฐดังกล่าว มีชื่อว่า Hadrian ตั้งชื่อตามกำแพงเฮเดรียน ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของ จักรพรรดิเฮเดรยน แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งตั้งขวางตอนแนวพรมแดนทางตอนเหนือและตอนใต้ของอังกฤษ
ด้าน Mike Pivac วิศวกร และประธานบริหารด้านเทคนิค แห่ง Fastbrick Robotics ระบุว่า “แรงงานผู้มีประสบการณ์ในปัจจุบัน จะสามารถก่ออิฐได้ราว 100 ก้อน/ชั่วโมง สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบ สามารถก่ออิฐได้ราว 300 ก้อน/ชั่วโมง และตั้งใจให้สามารถก่ออิฐได้มากถึง 1,000 ก้อน/ชั่วโมง สามารถสร้างบ้านได้ 150 หลัง/ปี ข้อดีอีกประการคือ งานที่ได้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน สามารถทำงานได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : buildernews
จากข่าวข้างต้น ถ้าน้องมีความสนใจและอยากเข้าศึกษา ด้านหุ่นยนต์ นั้น ณ.ตอนนี้ มีสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการเปิดหลักสูตรที่ให้ปริญญาเฉพาะทางทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยในปัจจุบันสถาบันเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ปริญญาตรี โท และเอก โดยเน้นการพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาตามแนวทาง Outcome-based Education นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโททางด้านธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่สนใจต้องการต่อยอดเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอีกด้วย
การรับเข้า
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รับผู้สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาในระดับชั้น ดูคุณสมบัติผู้สมัคร
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 6) สายการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต) หรือ คณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ (ศิลป์-คำนวณ) หรือ ภาษาอังกฤษ – ภาษาต่างประเทศ (ศิลป์-ภาษา)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โครงการที่เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทคัดเลือกตรง
โครงการคัดเลือกตรง ประเภทเรียนดี ดูรายละเอียด
โครงการคัดเลือกตรง โดยใช้คะแนน GAT/PAT ดูรายละเอียด
โครงการ Active Recruitment ดูรายละเอียด
โครงการคัดเลือกตรง โดยสมาคมนักศึกษาเก่า มจธ.
ประเภทโควตาโควตา
2B-KMUTT
ประเภทแอดมิชชั่นกลาง
ระบบกลาง (Admissions) ผ่านการคัดเลือกจากสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 440,000 บาท
เป็นไงบ้างคะ ข้อมูลที่พี่แนะนำ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องที่สนใจกันนะคะ สาขาทางด้านนี้ ในอนาคตพี่มองว่าจะเป็นที่ต้องการในตลาดในอีกไม่ช้านะคะ หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนคนมากๆยิ่งขึ้น เพื่อลดความผิดพลาดและงบประมาณขององค์กร