หน้าแรก ข่าวมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัฐ

คณะวิทย์ฯ ลาดกระบัง ทำยังไงถึงสอบติด?

วันที่เวลาโพส 06 กันยายน 64 13:52 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

น้อง ๆ หลาย ๆ คน อยากสอบติดคณะวิทยาศาสตร์  ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะทำยังไงให้สอบติด ? วันนี้พี่มีแนวทางมาแนะนำ มีอะไรบ้างมาดูกัน


คณะวิทยาศาสตร์ เหมาะกับใคร 
- เป็นคนที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์
- เป็นผู้มีความขยัน มุ่งมั่น อดทนและตั้งใจในการศึกษาหาความรู้
- เป็นคนชอบการคิดวิเคราะห์ ชอบการค้นคว้าทดลอง และมีความช่างสังเกต
- ผู้ที่มีความกระตือรื้นร้น ช่างสังเกต พร้อมที่จะเรียนรู้
- มีความคิดสร้างสรรค์ อันจะนำมาซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี เมื่อต้องทำร่วมกับผู้อื่น
- ใส่ใจรายละเอียดในการทำงาน และใส่ใจในทุกรายละเอียดที่เกิดขึ้นกับการทดลองต่าง ๆ
- ชอบการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล การหาคำตอบ และการแก้ปัญหา



อาชีพที่สามารถทำได้
1. เจ้าหน้าที่โลจิสติกส์
2. นักวิจัย ผู้ควบคุมการผลิต และควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
3. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต QC QA และ R&D ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง พลังงานชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
5. ฝ่ายควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ 
6. ฝ่ายวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
7. นักวิชาการสิ่งแวดล้อมและนักจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์กรต่าง ๆ
8. นักวิทยาศาสตร์
9. วิศวกรโรงงาน
10. นักวิศวกรข้อมูล
11. นักวิเคราะห์ข้อมูล/นักวิเคราะห์เชิงธุรกิจ



รอบ 1
Portfolio 

รอบนี้เป็นรอบที่ใช้การยื่นแฟ้มสะสมผลงานและคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น เกรดเฉลี่ยสะสม 4-5 เทอม ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด*  และมีการสอบสัมภาษณ์สำหรับคนที่อยากเข้ามาเรียนคณะวิทยาศาสตร์ พี่แนะนำว่าการรับรอบนี้น้อง ๆ ควรจะมีผลงานทางวิชาการ รางวัล หรือประกาศนียบัตร ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์ใส่มาในแฟ้มสะสมผลงานไว้ด้วย ในส่วนการสอบสัมภาษณ์ก็ควรจะมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถามต่าง ๆ จากอาจารย์ที่ทำการสัมภาษณ์ด้วยนะคะ


และน้อง ๆ ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำ ลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (ม.6) หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
น้อง ๆ ต้องส่งผลงาน ( Portfolio ) แนบในระบบการรับสมัคร ขนาด ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ ขนาด A4 ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
1.แนะนำตนเอง
2.แนบผลงานหรือการเข้าร่วมกิจกรรมและอธิบายรายละเอียด
3.แนบใบรายงานผลการเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน
4.เขียนความตั้งใจและเหตุผลในการเลือกสาขาวิชาที่สมัครและความคาดหวังในการประกอบอาชีพ



รอบ 2
Quota

รอบนี้เป็นรอบสำหรับนักเรียนในโครงการพิเศษและคนที่ภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ตามเกณฑ์มหาวิทยาลัยกำหนดที่มีความสามารถพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถด้านการเรียน ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านศิลปะ ฯลฯ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกจะพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสม 4-5 เทอม คะแนน GAT, PAT คะแนนสอบวิชาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยกำหนด* และมีการสอบสัมภาษณ์หรือมีการสอบเฉพาะทางเพิ่มเติมจากทางมหาวิทยาลัย*
สำหรับคนที่อยากเข้ามาเรียนวิทยาศาสตร์จากการรับรอบนี้ ควรทำคะแนนสอบให้ได้คะแนนที่สูงเพื่อจะได้รับการพิจารณาจากกรรมการที่ทำการคัดเลือก โดยพยายามตามข้อมูลและความเปลี่ยนแปลงของลักษณะข้อสอบ สำหรับการสอบสัมภาษณ์หรือมีการสอบเฉพาะทางก็ควรจะมีความรู้พื้นฐานเช่นเดียวกับการสอบรอบ Portfolio



รอบ 3
Admission

รอบนี้เป็นรอบรับตรงร่วมกันของทุกมหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครพร้อมกันทั้งประเทศ ผ่านการทดสอบกลางวิชา GAT, PAT โดยตั้งแต่ปี 65 จะยกเลิกการใช้คะแนน O-NET และพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสม 4-5 เทอม
* มีการสอบสัมภาษณ์สำหรับคนที่อยากเข้ามาเรียนคณะวิทยาศาตร์จากการรับรอบนี้ ควรมีการเตรียมตัวเช่นเดียวกับการสอบรอบ Quota



รอบ 4
Direct Admission 

เป็นรอบที่มหาวิทยาลัยแต่ละที่จะรับตรงอิสระผ่านเกณฑ์ของแต่ละที่ที่กำหนดเอง ทั้งระดับเกรดเฉลี่ยสะสม 4-5 เทอมและคะแนนสอบวิชา GAT, PAT
* มีการสอบสัมภาษณ์สำหรับคนที่อยากเข้ามาเรียนคณะวิทยาศาสตร์จากการรับรอบนี้ ควรมีการเตรียมตัวเช่นเดียวกับการสอบรอบ Quota



เคล็ดไม่ลับฝากน้อง ๆ 
พี่อยากจะแนะนำน้อง ๆ ว่าให้เตรียมตัวสอบดี ๆ อ่านหนังสือในวิชาที่ต้องการสอบเข้า และเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ โดยน้อง ๆ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรเพื่อใช้ในการตอบคำถาม รวมทั้งศึกษาว่าในหลักสูตรที่น้อง ๆ ต้องการเรียน จะต้องเรียนอะไรบ้าง เพื่อให้การเตรียมตัวอ่านหนังสือหรือหาความรู้ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเรียนในหลักสูตรนั้น ๆ

* รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ทาง >> https://www.kmitl.ac.th/en
** กำหนดการของการรับแต่ละรอบสามารถติดตามได้ทาง >> https://www.mytcas.com/

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด