หน้าแรก ข่าวมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัฐ

มารู้จักกับ 10 สาขา คณะวิทย์ มีอะไรน่าเรียนบ้าง ?

วันที่เวลาโพส 17 สิงหาคม 64 11:03 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

ไหนใครสาย "นักวิทย์" บางยกมือขึ้น วันนี้พาจะน้อง ๆ มาส่อง 10 สาขา คณะวิทย์ มีอะไรน่าเรียนบ้าง ? อาชีพนักวิทย์พิชิตโอกาสงานมีอะไรบ้าง ? จบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง ? แล้ว 10 สาขาที่พี่จะพาน้อง ๆ มารู้จักกันวันนี้ มีสาขาไหนน่าสนใจบ้าง 

หากน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้ว เตรียมตัวให้พร้อม แล้วเดินตามพี่มาเลยจ้า




1. ฟิสิกส์อุตสาหกรรม ( Industrial Physics )
หลักสูตรผลิตบัณฑิตมีที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0 และมีโครงสร้างหลักสูตรที่บูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ประยุกต์ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะสามารถนําองค์ความรู้ไปแก้ไขปัญหาในการทำงานจริงได้


จุดเด่น
ความรู้ทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0 

จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิทยาศาสตร์
- นักวิชาการ
- วิศวกรฝ่ายขาย
- วิศวกรโรงงาน
- นักวิจัยในภาครัฐและเอกชน
- ผู้ประกอบการทางธุรกิจเทคโนโลยี





2. เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการอย่างยั่งยืน ( Environmental Technology and Sustainable Management )
เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรประยุกต์ที่เน้นด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม หลักสูตรครอบคลุมตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขา วิทยาศาสตร์และเทคโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2559 มุ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


จุดเด่น
เป็นหลักสูตรแรกในประเทศที่ควบรวมการศึกษาด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน โดยน้อง ๆ ทุกคนในหลักสูตรจะได้เรียนพื้นฐานทั้ง 2 ด้านและน้อง ๆ แต่ละคนสามารถเลือกวิชาเลือกด้านที่ต้องการเด่นโดยเฉพาะ เพื่อความเหมาะสมในอาชีพเป้าหมาย


จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิชาการสิ่งแวดล้อมและนักจัดการสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานหรือหน่วยงานของรัฐ
- เจ้าหน้าที่ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน
- นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม
- นักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัย/เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

 



3. เคมีอุตสาหกรรม ( Industrial Chemistry ) 
มุ่งผลิตบัณฑิตสาขาเคมีอุตสาหกรรม ที่มีความรู้และทักษะทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพทางเคมีอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยคํานึงถึงทักษะของตลาดแรงงานในอนาคต ( 21st Century Skills ) และนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยที่มุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ( Value-Based Economy ) นักศึกษาสามารถนําความรู้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้

จุดเด่น
ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพทางเคมีอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน 

จบมาทำงานอะไร ?
หน่วยงานเอกชน

- อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมพอลิเมอร์
- อุตสาหกรรมวัสดุ
- อุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องดื่ม
หน่วยงานราชการ
- กระทรวงอุตสาหกรรม
- สถาบันวิจัย
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม





4. เคมีวิศวกรรมและอุตสาหกรรม นานาชาติ ( Industrial & Engineering Chemistry )
เป็นหลักสูตรใหม่ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางเคมีอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงกับการประยุกต์ทางเคมีวิศวกรรม เพื่อทำงานและแก้ปัญหาในมุมมองที่บูรณาการระหว่างนักเคมีและวิศวกร สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา การจัดการ และการสร้างนวัตกรรม บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้จึงสามารถทำงานได้ทั้งในฐานะนักเคมีและวิศวกรเคมี หรือร่วมกับนักเคมีและวิศวกรในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

จุดเด่น
มีความรู้ทางเคมีอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงกับการประยุกต์ทางเคมีวิศวกรรม เพื่อทำงานและแก้ปัญหาในมุมมองที่บูรณาการระหว่างนักเคมีและวิศวกร สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม

จบมาทำงานอะไร 
- วิศวกรเคมี
- วิศวกรควบคุมการผลิต
- วิศวกรควบคุมคุณภาพ
- นักเทคโนโลยีการผลิต
- นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
- นักวิจัยวัสดุศาสตร์
- นักวิจัยปิโตรเคมีและพอลิเมอร์
- นักวิทยาศาสตร์
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว





5. เทคโนโลยีชีวภาพ  ( Biotechnology )
เป็นการศึกษาสหวิชาการที่บูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นการนำเซลล์สิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์และจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ ผู้เรียนมีความสามารถทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสำหรับการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมและด้านอื่น ๆ อันจะมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความสามารถในการแข่งขันเชิงวิชาการที่สูงขึ้น

จุดเด่น
ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน

จบมาทำงานอะไร ?
ภาคเอกชน

- ฝ่ายผลิต
- ฝ่ายตรวจสอนและควบคุมคุณภาพ
- ฝ่ายวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์
ภาครัฐบาล
- นักวิจัย
- นักวิทยาศาสตร์





6. จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ( Industrial Microbiology )
จุลินทรีย์เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความหลากหลายและสำคัญของประเทศ ปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการคัดเลือก และพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีศักยภาพในการผลิตสารมูลค่าสูงขึ้น เพื่อนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐาน หลักสูตรจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมจึงมุ่งเน้นผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับจุลินทรีย์ สามารถนำจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์มาใช้และเพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป

จุดเด่น
นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม


จบมาทำงานอะไร ?
- นักจุลชีววิทยา ( Microbilogist )
- นักประกันคุณภาพ และนักควบคุมคุณภาพ ( QA-QC )
- ผู้เชียวชาญวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ( R&D )
- เจ้าของกิจการ เช่น ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์





7. จุลชีววิทยาประยุกต์ นานาชาติ  ( Applied Microbiology International program ) 
โปรแกรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้ทางจุลชีววิทยากับความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อตอบสนองการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมชีวภาพจึงมีการศึกษา 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 โดยใช้ระยะเวลา 4 ปี. เมื่อสำเร็จการศึกษาคุณจะได้รับปริญญาตรี วท.บ. จุลชีววิทยาประยุกต์จาก KMITL แบบที่ 2 เป็นรูปแบบการเรียนรู้ 4 + 1 ที่ใช้เวลาเรียน 5 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี วท.บ. จุลชีววิทยาประยุกต์จาก KMITL และ วท.ม. Nutraceuticals and Functional Foods จากมหาวิทยาลัยมหิดล

จุดเด่น 
สามารถนำความรู้ทางจุลชีววิทยามาประยุกต์ใช้ให้ก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจชีวภาพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ


จบมาทำงานอะไร ?
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต QC QA และ R&D ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง พลังงานชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
- นักวิจัยและศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์





8. วิทยาการคอมพิวเตอร์  ( Computer Science )
ผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพทางดิจิทัลที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รองรับยุคการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ( Disruption )  บัณฑิตสามารถบูรณาการศาสตร์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ร่วมกับองค์ความรู้ด้าน วิทยาการข้อมูล  ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน สถิติ และคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา Digital Platform  ที่ใช้แก้ปัญหาสำหรับภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจผ่านสหกิจศึกษามากว่า 8 ปี และโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ 3 ปี

จุดเด่น
ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รองรับยุคการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว 

จบมาทำงานอะไร ?
- นักพัฒนาระบบงานสารสนเทศเชิงบรูณาการ
- นักพัฒนาด้านInterner of Things
- นักวิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรม
- นักวิศวกรรมข้อมูล
- นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และ Ai for Business
- วิทยาศาสตร์ข้อมูล
- Full Stack Dev.
- DevOps






9. สถิติประยุกต์และการวิเคราะห์ข้อมูล  ( Applied Statistics and Data Analytics )
สถิติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งที่ศึกษาการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยในการวางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ธุรกิจ รวมถึงอุตสาหกรรม นอกจากเรียนรู้หลักการเลือกระเบียบวิธีทางสถิติ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับระเบียบวิธีทางสถิติดังกล่าว เช่น Big Data, Business Intelligence และ Data Visualizationเป็นต้น เพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพตามทิศทางเป้าหมายของประเทศ

จุดเด่น
เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งที่ศึกษาการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยในการวางแผน

จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิเคราะห์ข้อมูล/นักวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
- นักสถิติ/นักสถิติประกันภัย/นักวิชาการทางสถิติ
- นักควบคุมคุณภาพ
- นักวางแผนการผลิต
- นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
- นักวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
- นักวิจัย
- นักวิเคราะห์การวิจัยดำเนินงาน
- ครู และ อาจารย์





10. สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ ( Applied Mathematics )
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์มุ่งเน้นผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ในภาคทฤษฎีและมีทักษะปฏิบัติ อย่างมีคุณภาพ โดยมีความรู้วิชาการคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล การหาคำตอบ และการแก้ปัญหา มีความรู้ในคณิตศาสตร์สารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้ความรู้คณิตศาสตร์ในการคำนวณหาคำตอบเชิงตัวเลขและช่วยแก้ปัญหา และมีความรู้ในวิธีทางคณิตศาสตร์ ในการหาคำตอบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาในธุรกิจ อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ การเงิน การลงทุน และการประกันภัย การวิเคราะห์ข้อมูลและการพัฒนาซอฟต์แวร์  และศาสตร์ที่นำไปใช้ด้วยหลักวิชาการ


จุดเด่น
เป็นหลักสูตรที่ศึกษาคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล การหาคำตอบ และแก้ปัญหาที่ สามารถนำไปปรับประยุกต์กับทางอุตสาหกรรม การเงิน การลงทุน การประกันภัยและการวิเคราะห์ข้อมูล


จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิเคราะห์ระบบธุรกิจ
- นักวางแผนการจัดการขนส่ง
- นักวิเคราะห์การเงิน นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
- นักวางแผนการเงิน
- นักวิเคราะห์ข้อมูล
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์
- นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ





สนใจสอบถาม โทร.02-329-8400 ถึง 8411 โทรสาร.02-329-8412
Website : http://www.science.kmitl.ac.th/#/home
Facebook : https://www.facebook.com/SciKmitl

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด