สวัสดีจ้าน้อง ๆ สำหรับคนที่อยากเข้ามาเรียนทางด้านโลจิสติกส์ สาขาวิชาโลจิสติกส์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศแต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย
หลักสูตรวิศวกรรมโลจิสติกส์ เรียนอะไรบ้าง?
ในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกันนั่นคือ น้องๆ ปี 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น มนุษยศาสตร์ แคลคูลัส สถิติธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษส่วนในปีต่อ ๆ ไปจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร ?
- ฝ่ายจัดซื้อ
- นักวางแผนวัสดุ
- นักวางแผน
- ฝ่ายการขนส่ง
- เจ้าหน้าที่คลังสินค้า
- นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
- ผู้นำเข้าและส่งออก
- กรมการขนส่งทางอากาศ
- นักวิชาการ นักวิจัย
- เจ้าหน้าที่การกระจายสินค้า
- นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- วิศวกรรมโลจิสติกส์
เว็บไซต์ : https://cite.dpu.ac.th/logistics.html
หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- เน้นการเรียนด้านเทคโนโลยีภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต
- เรียนแบบ Active Learning ได้ลงมือทำจริง และต่อยอดสู่ธุรกิจได้
เหตุผลดีดีที่น่าเรียน
- เป็นหลักสูตร CITE หลักสูตร CITE เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม
- ทุกหลักสูตรมีความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำในศาสตร์นั้นๆ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสอดคล้องกับตลาดแรงงาน
- ทุกหลักสูตรมีการวางเป้าหมายทักษะที่นักศึกษาจะต้องทำได้ในแต่ละปีการศึกษา
- มีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่ทันสมัย และเพียงพอ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าใช้งานนอกเวลา เพื่อเพิ่มทักษะได้อย่างต่อเนื่อง
- มีการเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทำให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และความต่อเนื่องของการศึกษาวิจัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- เรียนรู้การจัดซื้อ การขนส่งและเก็บรักษาสินค้า รวมทั้งการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงองค์กรให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้
หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- เน้นเรียนเกี่ยวกับการนำเอาแนวคิดด้านการจัดการมาบูรณาการเข้ากับกระบวนดำเนินงานงานขององค์กรในระบบโซ่อุปทานโดยรวม
- เรียนรู้ด้านการกระจายสินค้าในระบบโซ่อุปทาน โดยเน้นที่การจัดการขนส่งและเก็บรักษาสินค้าในกระบวนการกระจายสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งการจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าในระบบโซ่อุปทาน
เหตุผลดีดีที่น่าเรียน
- ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าทำงานในแทบทุกองค์กรไม่ว่าอยู่ในภาครัฐและภาคเอกชน
- มีคณาจารย์และบุคลากรที่มีคุณภาพ ประสบการณ์ และ สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- ได้เรียนรู้เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
- เรียนรู้การจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้สามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้
เหตุผลดีดีที่น่าเรียน
- มีความรู้ทางด้านอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุและการจัดการโลจิสติกส์เป็นอย่างดี
- ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
คณะบริหารธุรกิจ
- สาขาโลจิสติกส์สากลและการจัดการอุตสาหกรรม
หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- ศึกษาและการวิเคราะห์งานอุตสาหกรรม การจัดการเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์และอุตสาหกรรม
- เรียนรู้การจัดการการกระจายสินค้าสู่ความเป็นเลิศ และ การจัดซื้อระหว่างประเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
เหตุผลดีดีที่น่าเรียน
- หลักสูตร มีการปรับปรุงอยู่เสมอ คุณภาพการเรียนการสอน อาจารย์ หลักสูตรเป็นที่ยอมรับ
- มีชื่อเสียงและเป็นสถาบันอันดับต้นๆของประเทศ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- สาขาการจัดการโลจิสติกส์
หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- เรียนรู้งานวิจัยทางโลจิสติกส์
- เรียนระบบสารสนเทศทางโลจิสติกส์
เหตุผลดีดีที่น่าเรียน
- มหาวิทยามุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ ใฝ่รู้ และมีจริยธรรมในวิชาชีพ
- มหาวิทยามีความรู้พื้นฐานเพื่อศึกษาในระดับสูง และสามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้