รู้จักสาขาวิชา "โลจิสติกส์"
สาขาวิชาโลจิสติกส์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย
เรียนยังไง เจอวิชาอะไรบ้าง?
สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน นั่นคือ น้องๆ ปี 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น
ส่วนในปีต่อๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น และจากนั้นน้องๆ จะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงออกสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4
จบไปทำงานอะไรด้านไหน?
วิศวกรทางด้านโลจิสติกส์ที่มีหน้าที่หลักในการออกแบบ และจัดการระบบต่างๆ เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการบรรจุภัณฑ์ ระบบการกระจายสินค้า รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน จึงถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ และนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้องๆ บัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้
ระดับปฏิบัติการ
เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก
ระดับบริหาร
เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
ประกอบธุรกิจส่วนตัว
เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ
รับราชการ
รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
งานสายวิชาการ
เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์
ทำไมต้องวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์
วิศวะ “โลจิสติกส์” ที่นี่เรามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งด้านการขนส่ง และการกระจายสินค้าทั่วโลกตลอดจน การออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ความรู้ทางด้านการผลิต Supply Chain ระบบสารสนเทศ ERP ความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี การสร้างนวัตกรนำความสำเร็จสู่ภาคธุรกิจยุค 4.0 เราพร้อมดูแล เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทุกคนก้าวไปเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพมีความเชี่ยวชาญระดับสากล เพื่อผลักดันธุรกิจ และพัฒนาประเทศชาติ โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมการจัดการ วิศวกรรมโลจิสติกส์ วิศวกรรมอุตสาหการบริหารธุรกิจสาขาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
เรียนกับตัวจริง ผู้เชียวชาญด้านโลจิสติกส์
“ไม่ใช่เรียนแค่ในตำรา แต่ที่นี่เราเรียนรู้ในการออกแบบ และแก้ปัญหาจริงในงานโลจิสติกส์ และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม” จากประสบการณ์คณาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนกว่า 200 โรงงานชั้นนำทั่วประเทศ บรูณาการณ์ความรู้และประสบการณ์ ด้านโลจิสติกส์ การขนส่งและกระจายสินค้า การจัดการด้านการผลิต และเทคโนโลยีในอนาคตสำหรังานโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญด้านงานโลจิสติกส์ พร้อมเป็น Coach เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่ขาดแคลนเป็นจำนวนมาก สายงานด้านโลจิสติกส์ยังมี Career Path (เส้นทางอาชีพ) ที่ก้าวหน้าสามารถเติบโตในสายงาน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพรับราชการ บริษัทเอกชน วิศวกร งานด้านการผลิต งานด้านบริหารจัดการการขนส่ง และคลังสินค้า “วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เราพร้อม Coach ให้คุณก้าวออกไปเป็นบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ พร้อมทำงานจริงและมีอนาคตที่ดี”
เพราะดีกว่า... จึงกล้าพูด
1. "เพราะโลจิสติกส์ ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่ง" เพราะที่นี้เราสอนให้โลจิสติกส์ ไม่ใช่แค่การขนส่งแต่เป็นการแก้ปัญหาทั้งกระบวนการในอุตสาหกรรม บรูณาการณ์ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งด้านการขนส่ง, การกระจายสินค้าทั่วโลก, ความรู้ทางด้านการผลิต, Supply Chain, ระบบสารสนเทศ ERP, ความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี และตลอดจนการออกแบบกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการสร้างนวัตกรนำความสำเร็จสู่ภาคธุรกิจยุค 4.0
2. "Move the World" เนื้อหาการเรียนการสอนและความร่วมมือกับบริษัทภายนอกในการพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ และทั่วโลก โดยมีประสิทธิภาพ และต้นทุนที่ต่ำ จากคณาจารย์ผู้เชียวชาญ และวิทยากรจากภายนอก ได้แก่ บริษัท ไอ อาร์ พี ซี จำกัด(มหาชน) นักวิชาการจากกรมศุลกากร ร่วมถึงความร่วมมือในการรับนักศึกษาฝึกงานจาก บริษัท วีพรอมท์ จำกัด ผู้ให้บริการขนส่งทางทะเล
3. "มากกว่าการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน" ฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหา และเทคนิคการลดต้นทุน จากการเรียนรู้ปัญหาจริงที่พบในอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ จากคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม"
4. "ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม" ในปี 2561 ได้รับความไว้วางใจจาก กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับจัดทำระบบการประมวลผล
5. "Logistics 4.0" การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นระบบแบบจำลองคลังสินค้าอัตโนมัติ นระบบ ERP การได้ทดลองออกแบบระบบ ERP ตามโจทย์ของอุตสาหกรรม โดยทีมคณาจารย์มีประสบการณ์ทางด้านพัฒนาระบบ ERP ให้กับองค์กรต่างๆ ร่วมถึงพื้นฐานการออกแบบระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติในงานด้านโลจิสติกส์
คลิกที่นี่ :
https://cite.dpu.ac.th/logistics.html
วิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก
คณะโลจิสจิกส์และเทคโนโลยีการบิน
ปัจจุบัน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก มีการบริหารงานโดย ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง ตำแหน่ง อธิการบดี เป็นผู้รับใบอนุญาต และนายชนะ รุ่งแสง เป็นนายกสภาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยปณิธานแน่วแน่ในการสร้างคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพและสมรรถนะระดับสากล ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2542 และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้อนุญาตให้เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต รวมทั้งให้การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 โดยได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2543 และได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) โดยเปิดสอนรวม 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี, สาขาวิชาการตลาด และ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปีการศึกษา 2549 ได้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการการจัดการโลจิสติกส์ และในปีการศึกษา 2555 ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และในปีการศึกษา 2559 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ได้ปรับเปลี่ยนเป็นคณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน โดยได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนจำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (Department of Logistics Management)
- หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Department of Air cargo Management)
เว็บไซต์สาขา :
คลิกที่นี่
มหาวิทยาลัยบูรพา
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นปลูกฝังให้บัณฑิตมีคุณลักษณะ ใฝ่รู้ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพที่สามารถบูรณาการศาสตร์ด้าน การจัดการโลจิสติกส์ ตลอดจนเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ตลอดถึงสังคมในภาพรวม
เว็บไซต์สาขา :
คลิกที่นี่
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะด้านวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและวิศวกรรมโลจิสติกส์ เพื่อนําไปประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ รวมทั้งการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศอันส่งผลต่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย
เว็บไซต์สาขา :
คลิกที่นี่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สาขาการจัดการโลจิสติกส์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ ใฝ่รู้ และมีจริยธรรมในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีความรู้พื้นฐานเพื่อศึกษาในระดับสูง สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้วยประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานจริงผ่านระบบสหกิจศึกษา ตลอดจนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้
เว็บไซต์สาขา :
คลิกที่นี่