การตลาดดิจิตอล คืออะไร (Digital Marketing)
Digital Marketing หรือ การตลาดดิจิตัล หมายถึงการตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ดิจิตอล เช่นคอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์มือถือ เป็นสื่อกลางในการโปรโมทสินค้าหรือบริการ ธุรกิจสามารถใช้ช่องทางการตลาดดิจิตอล เช่น เสิร์ชเอนจิน (search engine) โซเชียว มิเดียร์ (social media) อีเมล และ เว็บไซต์เพื่อเข้าหาลูกค้า คำว่า การตลาดดิจิตอล (digital marketing) นั้นเป็นคำที่ถูกใช้ควบคู่ไปกับ ‘การตลาดออนไลน์’ (online marketing) ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพราะการที่ผู้บริโภคอยู่ในโลกออนไลน์เยอะ ก็แปลว่าโอกาสในการเสพสื่อดิจิตอลก็เยอะขึ้น หากเทียบกับการตลาดดั้งเดิม เช่นการซื้อโฆษณาทีวี การซื้อพื้นที่ป้ายตามถนน การแจกใบปลิว การตลาดแบบดิจิตอลก็ถือว่าเป็นเทคนิคแบบใหม่ที่เพิ่งมีมาไม่กี่สิบปีในประเทศไทย
ทำไมต้องเรียน ... การตลาดยุดดิจิทัล
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นส่งผลให้ธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดดิจิทัลกันมากยิ่งขึ้น อัตราการเติบโตมีแนวโน้มสูงเรื่อย ๆ ทุกปี ประกอบกับแผนแม่บทของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการให้ผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงถือเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความต้องการการจ้างแรงงานสายดิจิทัลกันมากขึ้น ซึ่งจากรายงานพบว่านายจ้างมีความต้องการตำแหน่งงานการตลาดดิจิทัลปัจจุบันมากกว่า 5,000 ตำแหน่ง ในขณะที่มีผู้สมัครงานในสายดังกล่าวมีเพียง 700 ตำแหน่งเท่านั้น ส่งผลให้ตลาดขาดแคลนตำแหน่งนี้ถึง 85%
โอกาสงานตำแหน่งต่างๆของผู้ที่เรียนจบด้านการตลาดดิจิทัลได้แก่
- ฝ่ายการตลาด - ฝ่ายขาย - ฝ่ายสื่อสารการตลาด - ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ - ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ - ฝ่ายวิเคราะห์และวางแผน - ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ - ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ - ฝ่ายวิเคราะห์และวางแผน - ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร - ผู้ประกอบการ - อาจารย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
หลักสูตรการตลาดยุคดิจิทัล
หลักสูตรมุ่งเน้นให้มีโครงสร้าง ลักษณะวิชา และเนื้อหาวิชาทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก หลักเกณฑ์การจัดทำหลักสูตรสอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรได้ปรับปรุงตามความต้องการของตลาดแรงงานที่ต้องการบัณฑิตที่มีความสามารถทางด้านการตลาดควบคู่กับความสามารถทางธุรกิจ นอกจากนี้หลักสูตรยังเน้นการสร้างความตระหนักในคุณธรรมและความรับผิดชอบในการบริหารงานด้านการตลาดแก่สังคมโดยมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีจริยธรรมในการทำงาน
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- หลักสูตรสอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- หลักสูตรได้ปรับปรุงตามความต้องการของตลาดแรงงานที่ต้องการบัณฑิตที่มีความสามารถทางด้านการตลาดควบคู่กับความสามารถทางธุรกิจ
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
248,000 บาท
U-Review : https://www.u-review.in.th/th/edu/34604
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ที่เป็นผู้ที่มีทักษะและความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยี ธุรกิจและนวัตกรรม และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้ธุรกิจ สังคม และประเทศ
- เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาการแปรรูปดิจิทัล (Digital Transformation) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากกับธุรกิจในประเทศในการเติบโตและพัฒนาของธุรกิจ
- เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning) ในเรื่องวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับผู้เรียนที่ไม่จำกัดในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น
หลักสูตรนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและการแปรรูปดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้จากหลายสาขาด้วยกัน โดยเนื้อหาหลักสูตร จะครอบคลุมถึงแนวโน้มสำคัญในอนาคตของการพัฒนาประเทศไทยเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ทั้งในเรื่อง Digital Transformation, Design Thinking, Cyber security, Business Analytics และ Creative Media ซึ่งธุรกิจเกือบทุกแห่งในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งหากธุรกิจเหล่านี้ไม่รีบปรับตัว จะถูกทำให้ล้าสมัย (Irrelevant) หรืออาจถูกทำลายล้าง (Disrupt) โดยเทคโนโลยีดิจิทัลดังที่เกิดขึ้นแล้วในหลายอุตสาหกรรม
เว็บไซต์สาขา : คลิกที่นี่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล
ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Digital Entrepreneur
ความโดดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรที่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ซึ่งมีความต้องการบุคลากรที่ต้องพร้อมด้วยความรู้ความสามารถทั้งทางด้าน Soft Skill และ Hard Skill เพื่อการพัฒนาตนเองและสามารถปรับตัวในยุคดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด อีกทั้งยังสามารถยกระดับศักยภาพตนเองไปสู่ระดับนานาชาติ
เว็บไซต์สาขา : คลิกที่นี่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาวิชาตลาด
ให้การศึกษาในหลักสำคัญของวิชาการตลาด ซึ่งเป็นสาขาที่เน้นความสามารถในการบริหารการตลาด โดยให้ความสำคัญถึงความต้องการของคนและสนองตอบความต้องการเหล่านั้นบนพื้นฐานของความพอใจ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การพยากรณ์ยอดขาย การวิจัยตลาด การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การตลาดระหว่างประเทศ นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา การตลาดสินค้าอุตสาหกรรม และการจัดซื้อ เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร
- ใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- รับทั้งนิสิตไทยและต่างชาติ
- เป็นหลักสูตรเฉพาะสถาบัน ไม่มีการร่วมมือกับสถาบันอื่น
- ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
เว็บไซต์สาขา : คลิกที่นี่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สาขาวิชาตลาด
เรามุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการตลาด และมีศักยภาพที่เหมาะกับตลาดงานในยุคดิจิตอล โดยผู้เรียนจะได้รับการเสริมทักษะเชิงวิชาการควบคู่กับการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง นอกจากนี้ เรายังเน้นเสริมทักษะภาษาต่างประเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รวมถึงฝึกทักษะความคิดและการนำเสนองานอย่างเป็นระบบ หลังจบหลักสูตร นักศึกษาของเราจะสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างประสบความสำเร็จในหลายวิชาชีพ อาทิ สายงานผู้บริหารด้านการตลาด การขาย การจัดซื้อ การวิจัยตลาด การโฆษณาและบริหารตราสินค้า ผู้ประกอบการธุรกิจ ฯลฯ
ปรัชญาสาขาวิชา
มีความรู้ด้านวิชาชีพทางการตลาด มีจริยธรรม สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในระดับสากล
เว็บไซต์สาขา : คลิกที่นี่
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติการด้านการตลาดดิจิทัลที่มีความรู้ความสามารถ และมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศ เน้นการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการศาสตร์ที่หลากหลาย การเรียนรู้ควบคู่กับฝึกปฏิบัติจริงโดยยึดมั่นหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล ออกแบบไว้เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา สามารถทำงานได้หลากหลายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ
1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด/ฝ่ายขาย (Marketing or Sale Officer)
2. เจ้าหน้าที่การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Officer)
3. เจ้าหน้าที่การตลาดออนไลน์ (Online Marketing Officer)
4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Officer)
5. นักวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการตลาด (Analysts and Marketing Planners)
6. เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และวางแผนการตลาด (Product Development and Marketing Planning Officer)
7. เจ้าหน้าที่แผนกตราสินค้า (Brand Officer)
8. เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Officer)
9. เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณา (Advertising Officer)
10. เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ (Public Relation Officer)
11. ผู้บริหารระดับต้นแผนกการตลาดและตราสินค้า (Marketing and Brand Supervisor)
12. นักวางแผนกลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy Planner)
13. นักวิจัยการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค (Marketing and Consumer Behavior Researcher)
14. ผู้ดูแลระบบโซเชียลมีเดีย (Social Media Admin)
15. ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEM (Search Engine Marketing Specialist)
รวมทั้งการประกอบอาชีพทำธุรกิจส่วนตัวแบบ Startup หรือ การนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดธุรกิจของครอบครัว
เว็บไซต์สาขา : คลิกที่นี่