มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน สาขาธุรกิจการบิน
มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ความสามารถทางวิชาชีพหรือด้านปฏิบัติการ (Operation) โดยวิทยาลัยมีอุปกรณ์การฝึกที่ครบสมบูรณ์เสมือนจริง รวมทั้งห้องฝึกปฏิบัติการที่หลากหลาย และทันสมัย เช่น ห้องฝึกปฏิบัติการการบริการบนเครื่องบิน ที่ใช้เครื่อง Airbus 300-600 เครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Flight Simulator) รุ่น B737-800 และ Cessna 172 ห้องฝึกปฏิบัติการจราจรทางอากาศ เป็นต้น
จุดเด่นของหลักสูตร
1. ที่เดียวในไทยที่มี Flight Simulator ทันสมัยที่สุด
2. ได้มากกว่าปริญญาตรี เพราะมี Certificate ให้ถึง 3 หลักสูตร
3. เริ่มต้นที่ฐานเงินเดือนสูง
4. อาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงจากสายการบินชั้นนำ
5. เสริมบุคลิกภาพ และภาษาอย่างมืออาชีพ
6. ฝึกงานกับองค์กรชั้นนำด้านการบิน
ปริญญาตรี ++
เรียนแล้วได้มากกว่า ปริญญาตรี (ด้วยหลักสูตรปริญญาตรี ++)วิทยาลัยพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มีสถาบันการบิน (DPU Aviation Academy) หรือ DAA ที่เปิดอบรมด้านการบินแบบครบวงจร เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่เป็นสมาชิกสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่สถาบันที่ได้รับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
(องค์การมหาชน) Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization) TPQI หรือ สคช.ให้จัดทดสอบนักศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองว่าเป็นผู้มีความรู้วิชาชีพด้านสาขาการต้อนรับบนเครื่องบิน นอกจากนี้เราเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินที่ได้รับการรับรองจาก IATA (มาตรฐานเดียวกันกับสิงคโปร์) เปิดอบรม 2 เรื่อง ได้แก่
1. ระบบนิรภัยด้านการบิน
2. การสร้างความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน
ห้องเรียนสุดล้ำตอบโจทย์คนเรียนการบิน
-ห้องฝึกปฏิบัติการการบริการบนเครื่องบิน
-ห้องฝึกปฏิบัติการดับเพลิงบนเครื่องบิน
-อุปกรณ์ฝึกการอพยพจากเครื่องบินกรณีฉุกเฉิน
-อุปกรณ์ฝึกการอพยพจากเครื่องบินกรณีฉุกเฉิน (Slide Drill)
-อุปกรณ์ฝึกการ Ditching
-ห้องฝึกปฏิบัติการ Aerodrome Control
-อุปกรณ์เครื่องช่วยฝึกบินจำลอง 2 แบบ (Cessna 172 และ Boeing 737-800)
Flight Simulator
ที่เดียวในไทยที่มี Flight Simulator ทันสมัยทีสุด อยากเป็นนักบิน ก็ได้เป็น : เพราะที่ CADT
เรามีวิชาการฝึกบินให้นักศึกษาได้เลือกเรียน
1. นักบิน simulator : ฝึกบินกับเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง
- Boeing 737-800 เครื่องบินไอพ่น
- Cessna 172- G1000 เครื่องบินเครื่องยนต์เดียว
2. นักบินส่วนบุคคล : ฝึกบินกับเครื่องบินจริง โดยครูฝึกจากโรงเรียนการบินชั้นนำ
อาชีพ
พนักงานฝ่ายการบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน
พนักงานฝ่ายบัตรโดยสารและการสำรองที่นั่ง
พนักงานฝ่ายคลังสินค้า
พนักงานฝ่ายการตลาด
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสายการบินทั้งภาครัฐและเอกชน
นักบิน
เจ้าของธุรกิจทำงานกับบริษัทต่างชาติ
สถาบันการบินพลเรือน
สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจ สังกัด กระทรวงคมนาคม เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ หลักสูตรวิชาภาคพื้น ระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี
หลักสูตรที่เปิดรับสมัคร
1.หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน
1.1 วิชาเอกการจัดการจราจรทางอากาศ
1.2 วิชาเอกการจัดการท่าอากาศยาน
1.3 วิชาเอกการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
2.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน
3.หลักสูตรนายช่างภาคพื้นเดิน สาขาวิชาช่างเครื่องบิน วิชาเอกเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์
4.หลักสูตรเทียบเท่าระดับอนุปริญญา
4.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน
4.1.1 วิชาเอกอิเล็กทรอนิกส์การบิน ภาคปกติ
4.1.2 วิชาเอกอิเล็กทรอนิกส์การบิน ภาคสมทบ
4.1.3 วิชาเอกเครื่องวัดประกอบการบิน
5. หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (เทียบโอน)
6.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ registrar@catc.or.th หรือโทรสอบถาม 02 272 5741-4 ต่อ 8551 หรือ 02 272 5741-4 ต่อ 230 หรือ 02 272 6113 หรือ 098 928 6394 ในวันเวลาราชการ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชาการจัดการ สาขาการจัดการธุรกิจการบิน
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีวิชาเอกให้เลือกเรียน 3 วิชา ได้แก่ งานบริการการบิน (Aviation Services), ธุรกิจโลจิสติกส์ทางการบิน (Aviation Logistics Business) และ การปฏิบัติการทางการบิน (Aviation Operations) สิ่งที่โดดเด่นที่ทำให้ที่นี่ถูกเลือกมานั้นคือ นอกจากน้องๆ จะได้เรียนรู้ด้านธุรกิจการบินและเรียนรู้ภาษาจีนด้วย ซึ่งธุรกิจการบินในประเทศจีนกำลงเติบโตมากที่สุดในเอเชียด้วย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
สาขาวิชาธุรกิจการบิน มีการเรียนในเรื่องของการให้บริการผู้โดยสาร การจัดการสัมภาระ รวมไปถึงการวางแผนธุรกิจระหว่างประเทศ การนำเข้า-ส่งออก และการขนส่งทางอากาศ นอกจากในภาคทฤษฎีที่จะได้เรียนแล้ว ในภาคปฏิบัติน้องๆ จะได้ลงมือปฏิบัติงานจริงในห้องปฏิบัติการจำลอง (moc-up) เพื่อเป็นการเสริมความชำนาญก่อนที่น้องๆ จะออกไปทำงานจริง นอกจากนี้ยังมีการพานักศึกษาออกไปดูงานในสถานประกอบการด้านธุรกิจการบินเพื่อเสริมประสบการณ์ เห็นถึงการทำงานของสถานประกอบการว่าเขาทำงานกันอย่างไร
U-Review : www.u-review.in.th/th/edu/28
เว็บไซต์สาขา : www.ssruic.siamapp.net/collections/airline-business/
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
สาขาวิชาธุรกิจการบิน
เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้เรียนรู้ให้มีทักษะในการปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งมีความรอบรู้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินทุกสาขา ทั้งภาคพื้นดินและบนอากาศ โดยเน้นผู้เรียนรู้มีความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในทุกด้าน เช่น บุคลิกภาพ ความรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเข้าสู่อาชีพธุรกิจการบิน
เว็บไซต์สาขา : คลิกที่นี่