ในอนาคต ประเทศไทยจะมีการพัฒนาระบบขนส่งทางรางมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ทำให้ตลาดงานของวิศวกรเกี่ยวกับระบบทางรางมีความจำเป็นสูงมากขึ้น เพื่อพัฒนาให้ทันโลก
สาขาวิศวกรรมขนส่งทางราง ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นวิศวกรรมที่ต้องใช้องค์ความรู้หลายแขนงวิชา ไม่ว่าจะเป็นด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกลเป็นต้น ทำให้สาขาวิศวกรรมขนส่งทางรางจะเป็นสาขาย่อยในวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในส่วนนี้ เพื่อต่อยอดพัฒนาในส่วนอื่นขึ้นไป
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
เน้นเรียนในส่วนของงานระบบเครื่องกล เพราะในส่วนการเรียนวิศวกรรมขนส่งทางราง จะประกอบด้วยงานด้านวิศวกรรมหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมระบบสื่อสาร และความรู้เกี่ยวกับระบบเครื่องกลเป็นต้น ทำให้เมื่อนักศึกษาจบมาก็สามารถเลือกทำงานได้หลากหลายสาย ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรเครื่องกล หรือสามารถทำงานในส่วนวิศวกรรมขนส่งทางรางก็สามารถทำได้
การเรียนการสอนภายในหลักสูตร
ชั้นปีที่ 1 เรียนพื้นฐานวิศวกรรมเครื่องกล
ชั้นปีที่ 2 เรียนเบื้องต้นเกี่ยวกับวิศวกรรมขนส่งทางราง
ชั้นปีที่ 3 จะได้เรียนวิศวกรรมเครื่องกล และวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมขนส่งทางราง เช่น วิชาการวางทางรถไฟ วิชาระบบอาณัติสัญญาณ เป็นต้น
ชั้นปีที่ 4 เรียนเน้นพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีรถไฟ และรถไฟความเร็วสูง เพื่อสามารถนำความรู้มาต่อยอดได้
โอกาสงาน
- วิศวกรระบบราง
- วิศวกรช่างซ่อมบำรุงระบบขับเคลื่อนยานพาหนะระบบราง
- วิศวกรซ่อมบำรุงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ
- วิศวกรที่ปรึกษา ออกแบบ วิเคราะห์ระบบ และแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบราง
- ผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือเป็นผู้ปฏิบัติงาน
และอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งโลจิสติกส์ ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ วิศวกรประจำคลังสินค้า วิศวกรที่ปรึกษา วิศวกรควบคุม วิศวกรการจัดการ วิศวกรวางแผนและวิเคราะห์ เป็นต้น