ปัจจุบันนี้เคมีมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรม และธุรกิจเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีการเติมโตทางอุตสาหกรรมมาก จึงมีความต้องการบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านเคมีอุตสาหกรรม ดังนั้น วิชาเคมีจึงมีการขยายตัวมากขึ้นทางการศึกษา และการบูรณาการ จนเกิดความรู้ใหม่และสายงานของนักเคมีเพิ่มมากขึ้น
การเรียนการสอนภายในหลักสูตร
ชั้นปีที่ 1 เรียนความรู้พื้นฐานทางเคมี เช่น กระบวนการวิเคราะห์ทางด้านเคมีทั้งแบบดั้งเดิมและเครื่องมือสมัยใหม่ การฝึกกระบวนการคิดทางเคมีโดยมีทฤษฎีทางเคมีและเครื่องมือเข้ามาเสริม เพื่อที่ว่าในอนาคตน้องๆ จะสามารถจัดการปัญหาได้ โดยใช้กระบวนการคิดทางเคมี ที่จะทำทราบถึงแก่นของปัญหา และเข้าถึงปัญหาได้รวดเร็ว
ชั้นปีที่ 2 เป็นการเรียนภาคปฏิบัติมากขึ้น โดยเรียนผ่านเครื่องมือทางเคมีขั้นสูงในแล็ปต่างๆ เช่น แล็ปเครื่องมือการศึกษาคุณลักษณะวัสดุขั้นสูง(กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด) ในแล็ปนี้น้องๆ จะได้ผลิตวัสดุชิ้นนึงแล้วนำมาศึกษาผ่านเครื่องมือนี้เพื่อทราบว่าวัสดุนี้ประกอบด้วยอะไร มีคุณสมบัติอะไรบ้าง และจะสามารถนำไปพัฒนาทำอะไรได้บ้าง
ชั้นปีที่ 3 น้องๆจะได้เรียนในห้องปฏิบัติการเคมีขั้นสูง มีทั้งความรู้ทางวิศวกรรมเคมีและปิโตรเคมีเข้ามาร่วมด้วย น้องๆ จะได้ศึกษากระบวนการของเครื่องมือขั้นสูงต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์ความคิดรวบยอด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
ชั้นปีที่ 4 ปีสุดท้ายนี้ทางภาควิชาได้เปิดโรงงานอุตสาหกรรมจำลองให้น้องๆ ได้ศึกษาและทดลองผลิตงานจริง ซึ่งน้องๆ จะได้นำความรู้ ประสบการณ์ที่สะสมมาสร้างผลงานในโรงงานแห่งนี้
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้จริงในวิชาชีพทางเคมีอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานที่คํานึงถึงทักษะของตลาดแรงงานในอนาคต และ นโยบายการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ที่เรียกว่า “ประเทศไทย 4.0”
โอกาสงาน
ด้านโอกาสการทำงานก็จะมีหลากหลาย
- ผู้ควบคุมการผลิต ควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมต่างๆ
- เจ้าหน้าที่ควบคุมห้องปฏิบัติการ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมโพลิเมอร์ อุตสาหกรรมวัสดุ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง