วันนี้ (4 พ.ค. 49) เวลาประมาณ 11.00 น. สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) จัดงานแถลงข่าวการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admission) ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร ประธานที่ประชุมอธิการบดี แห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการรับ Admission มีรายระเอียดดังนี้
วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 จะเริ่มจำหน่ายระเบียบการ Admission และเปิดให้ดาวน์โหลดได้ที่ www.aupt.or.th พร้อมกันทั่วประเทศ และจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 - 17 พฤษภาคม 2559 ซึ่งนักเรียนจะต้องเลือกคณะสาขาที่ต้องการยื่น Admission ให้เรียบร้อย และต้องชำระเงินก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 จึงจะถือว่าการสมัครเสร็จสมบูรณ์ สำหรับนักเรียนที่จ่ายเงินไปแล้ว ต้องการเปลี่ยนคณะสาขาที่จะยื่น Admission ให้ทำการเปลี่ยนในระบบก่อน จากนั้นให้ไปชำระเงินอีกครั้ง โดย สอท. จะถือเอาครั้งล่าสุดเป็นคณะสาขาที่นักเรียนต้องการยื่น Admission หลังจากนั้นจะทำการประกาศผล Admission ในวันที่ 5 มิถุนายน 2559 และสอบสัมภาษณ์พร้อมตรวจร้างกาย ระหว่างวันที่ 14 – 17 มิถุนายน 2559 ที่มหาวิทยาลัยที่นักเรียนสอบติด
สำหรับยอดรับตามระเบียบการ Admission’59 มีจำนวนสถาบันที่เข้าร่วม
88 สถาบัน คณะ สาขาร่วมกันกว่า
754 คณะ/สาขา 4,191 รหัส รวมที่นั่งในระบบ Admission’59 จำนวน
123,179 ที่นั่ง (ไม่รวมเคลียริ่งเฮาส์)
และในปีนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะไม่เปิดรับนักศึกษาผ่าน Admission
โดยสามารถจำแนกรายสถาบันได้ดังนี้
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1,834 คน
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 9,106 คน
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2,168 คน
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 2,478 คน
5. มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 1,628 คน
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 873 คน
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 2,820 คน
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 525 คน
9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4,024 คน
10. มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 293 คน
11. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 205 คน
12. มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 3,570 คน
13. มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 4,657 คน
14. มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 2,460 คน
15. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 2,567 คน
16. มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1,499 คน
17. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 3,400 คน
18. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวน 2,145 คน
19. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 1,525 คน
20. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 1,956 คน
21. มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 3,163 คน
22. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3,289 คน
23. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 1,460 คน
24. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 1,665 คน
25. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จำนวน 200 คน
26. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 825 คน
27. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 1,240 คน
28. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 1,425 คน
29. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 410 คน
30. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 455 คน
31. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 1,005 คน
32. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จำนวน 280 คน
33. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 740 คน
34. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 615 คน
35. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 210 คน
36. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 280 คน
37. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 1,340 คน
38. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 580 คน
39. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 2,391 คน
40. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 1,080 คน
41. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 785 คน
42. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 825 คน
43. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 1,025 คน
44. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 75 คน
45. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 1,740 คน
46. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 1,954 คน
47. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 1,555 คน
48. คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 35 คน
49. วิทยาลัยพยาบาลตํารวจ จำนวน 60 คน
50. วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย จำนวน 60 คน
51. สถาบันการพลศึกษา จำนวน 299 คน
52. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 1,610 คน
53. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 1,020 คน
54. มหาวิทยาลัยเกริก จำนวน 1,715 คน
55. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวน 2,290 คน
56. มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 810 คน
57. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จำนวน 400 คน
58. มหาวิทยาลัยชินวัตร จำนวน 340 คน
59. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น จำนวน 240 คน
60. มหาวิทยาลัยตาปี จำนวน 275 คน
61. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จำนวน 250 คน
62. มหาวิทยาลัยธนบุรี จำนวน 580 คน
63. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน 945 คน
64. มหาวิทยาลัยเนชั่น จำนวน 530 คน
65. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จำนวน 2,880 คน
66. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด จำนวน 810 คน
67. มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชียแปซิฟิก จำนวน 100 คน
68. มหาวิทยาลัยพายัพ จำนวน 3,590 คน
69. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จำนวน 1,110 คน
70. มหาวิทยาลัยภาคกลาง จำนวน 880 คน
71. มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 4,210 คน
72. มหาวิทยาลัยราชธานี จำนวน 1,350 คน
73. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จำนวน 550 คน
74. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จำนวน 870 คน
75. มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 2,565 คน
76. มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 1,090 คน
77. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 3,125 คน
78. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2,275 คน
79. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จำนวน 1,100 คน
80. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จำนวน 665 คน
81.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 445 คน
82.วิทยาลัยเชียงราย จำนวน 340 คน
83. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 120 คน
84. วิทยาลัยเซาส์อีสบางกอก จำนวน 400 คน
85. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ จำนวน 180 คน
86. วิทยาลัยดุสิตธานี จำนวน 220 คน
87. วิทยาลัยนครราชสีมา จำนวน 890 คน
88. วิทยาลัยสันตพล จำนวน 1,330 คน
โดยในระบบเคลียริ่งเฮาส์ที่ผ่านมา มีผู้ผ่านการคัดเลือกรวม 31,096 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าเรียนไป 23,418 คน สละสิทธิ์ 7,678 คน ทำให้จำนวนที่นั่งในระบบ Admission รวมกับจำนวนผู้ที่สละสิทธิ์ไปในระบบเคลียริ่งเฮาส์อยู่ที่ 130,857 ที่นั่ง
จำนวนผู้สละสิทธิ์
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 540 คน
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 1,258 คน
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 1,553 คน
4. มหาวิทยาลัยทักษิณ มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 512 คน
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 118 คน
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 740 คน
7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 916 คน
8. มหาวิทยาลัยนครพนม มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 208 คน
9. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 39 คน
10. มหาวิทยาลัยมหิดล มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 613 คน
11. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 139 คน
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 29 คน
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 159 คน
14. มหาวิทยาลัยศิลปากร มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 819 คน
15. มหาวิทยาลัยสยาม มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 2 คน
16. กสพท มีผู้สละสิทธิ์ จำนวน 33 คน
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จะนำ ยอดผู้สละสิทธิ์ดังกล่าว ไปรับผ่านรอบแอดมิชชั่นต่อไป
สำหรับนักเรียนที่จะสมัคร Admission ต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2559 เท่านั้น สอท. ยังเตือนไปถึงผู้สมัครอีกด้วยว่าในแต่ละปีจะมีนักเรียนที่คุณสมบัติไม่ตรงกับที่คณะ สาขา ได้ระบุไว้กว่าร้อยราย ซึ่ง สทอ. จะพิจารณาอันดับที่เลือกถัดไปให้ ฉะนั้นนักเรียนควรตรวจสอบคุณสมบัติจากระเบียบการให้ดีก่อนทำการสมัคร เพื่อไม่ให้เสียโอกาสที่ควรได้รับ