เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
ไม่มีผลงาน ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง? 6 เคล็ดไม่ลับ แนวทางการยื่น Portfolio DEK68 ต้องดู !!
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
07 พ.ค. 67 14:56 น.
07 พ.ค. 67 14:56 น.
อ่านแล้ว
5,141
จำนวน
แชร์
พี่ตาล AP
ไม่มีผลงาน ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง? 6 เคล็ดไม่ลับ แนวทางการยื่น Portfolio DEK68 ต้องดู !!
1. ตั้ง Goal เป้าหมายให้ชัดเจน
เริ่มแรกสำคัญเลยว่าน้องๆต้องรู้ก่อนว่าต้องการจะเป็นอะไรในอนาคต แต่ถ้าหากคุณยังไม่แน่ใจว่าชอบหรือต้องการอะไร ไม่ต้องเครียดเลย ใช้เวลาค่อยๆ คิด ลองย้อนกลับไปดูว่ามีอะไรบ้างที่คุณรู้สึกชื่นชอบอย่างมากในอดีต ตอนเด็ก และปัจจุบัน และจินตนาการถึงตัวน้องๆ ในอนาคตว่าอยากเห็นตัวเองเป็นยังไง ทำอะไร อยู่ที่ไหน มีบทบาทอย่างไรในสังคม การทบทวนเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้น้องๆค้นหาและรู้จักตัวเองมากขึ้น
2. สำรวจและรวมผลงานของตัวเอง
ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ผลงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสายที่น้องๆจะเข้า ทุกอย่างมีค่าทั้งนั้น! ไม่ว่าจะเป็นงานจิตอาสา, กิจกรรมทางโรงเรียน, การแข่งขันต่างๆ หรือแม้แต่โครงการที่ไม่ตรงสายที่คุณสนใจก็นำมาใส่ด้วยเลย นี่อาจจะเป็นตัวช่วยให้คุณได้ลองยื่นเข้าคณะที่อยากลองดูบ้างใครจะรู้! แนะนำให้จัดเรียงงานเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่ เช่น กิจกรรมวิชาการ, จิตอาสา, การแข่งขัน, หรือโครงงานที่สำคัญๆ อย่าลืมเก็บรูปตอนทำกิจกรรมไว้ด้วยน้า เพราะภาพจะช่วยให้ผลงานของคุณดูมีชีวิตชีวาและน่าสนใจยิ่งขึ้น
3. หาข้อมูลคณะ และมหาลัยที่อยากเข้า
หาข้อมูลเกี่ยวกับคณะและมหาวิทยาลัยที่ตัวเองอยากเข้า การเลือกคณะนั้นควรเลือกที่ตรงกับเป้าหมายในชีวิตของเรา เพื่อให้เราสามารถทำงานที่ชอบและมีความสุขได้ในอนาคต ส่วนเรื่องของมหาวิทยาลัยนั้น มันขึ้นอยู่กับเป้าหมายส่วนตัวของแต่ละคนเลย เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนกัน อย่าลืมน้า หาข้อมูลให้เยอะๆ ควานหาทั้งจากเว็บไซต์, รีวิวของรุ่นพี่, หรือแม้กระทั่งเข้าไปเยี่ยมชมงาน Open House ของมหาวิทยาลัยเพื่อดูสภาพแวดล้อมจริง ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้น้องๆตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าคณะและมหาวิทยาลัยไหนที่เหมาะสมกับน้องที่สุด!
4. ถ้าไม่มีผลงาน ให้หาเก็บเพิ่มเติม
ถ้ารู้สึกว่ายังไม่มีผลงานเพียงพอ ก็มาหาเก็บเพิ่มเติมกันเถอะ! ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็ตาม หรืออาจจะเข้าร่วมค่ายวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพที่น้องๆฝันถึง ควรพยายามเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ให้มากที่สุด เพราะนอกจากจะได้ผลงานมาใส่ในพอร์ตของเราแล้ว ยังได้ประสบการณ์, มิตรภาพ, และความทรงจำอันมีค่าจากกิจกรรมเหล่านั้นอีกด้วย แถมถ้าเราเข้าค่ายบ่อยๆ ยังได้คอนเนคชั่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย! สำหรับการหาค่าย สามารถเช็คได้ที่ 'CAMPHUB' ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีการจัดกิจกรรมค่ายเยอะแยะไปหมดเลย ลองเข้าไปติดตามเรื่อยๆ แล้วจะพบกับโอกาสมากมายที่รอน้องๆอยู่น้า
5.ศึกษารายละเอียดการยื่นพอร์ทของแต่ละมหาลัย
ในขั้นตอนที่ห้านี้สำคัญมากๆ น้องๆ ต้องเช็ครายละเอียดในการยื่นพอร์ตของแต่ละมหาวิทยาลัยที่น้องๆสนใจ เพราะแต่ละที่กำหนดรายละเอียดและข้อกำหนดต่างๆ ไม่เหมือนกันเลยนะ บางมหาวิทยาลัยอาจจะมีแบบฟอร์มเฉพาะให้ทำตาม, ข้อกำหนดเรื่องจำนวนหน้า, ขนาดตัวอักษร, หรือชนิดของ font ,สีประจำมหาลัย ที่ต้องใช้ น้องๆต้องศึกษารายละเอียดเหล่านี้ให้ละเอียด เพราะหากทำไม่ตรงตามที่กำหนด น้องอาจจะถูกตัดสิทธิ์ในการรับพิจารณาได้ สำหรับการหาข้อมูลเกณฑ์การรับให้เสิช ใน Google ด้วยชื่อคณะและมหาวิทยาลัยตามด้วยคำว่า "รอบ portfolio" หรือเข้าไปดูประกาศบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้เลย รับรองว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างถูกต้องแน่นอน!
6.ถึงเวลามาประกอบร่างportfolioกัน
เริ่มด้วยการนำผลงานที่มีมาจัดเรียงตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนดไว้ ถ้าพอร์ตของคุณไม่ได้อยู่ในสายกราฟิกหรือศิลปะที่ต้องเน้นความสวยงามมากมาย ไม่ต้องซีเรียสมากน้องๆแค่ทำให้มันออกมาเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด โดยเน้นเนื้อหาให้กระชับและอ่านง่าย สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องใส่รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ลงไปให้ครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม น้องๆควรเขียนรายละเอียดนี้ด้วยตัวเอง เพราะเราเป็นคนที่รู้จักประสบการณ์ของเราได้ดีที่สุด การที่เขียนออกมาด้วยตัวเองจะทำให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อแต่ละกิจกรรมได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ เมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์ กรรมการอาจจะถามเกี่ยวกับรายละเอียดในพอร์ต การเขียนด้วยตัวเองจะช่วยให้เราตอบได้ดีและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของ SOP หรือ Statement of Purpose ซึ่งควรเป็นเรื่องราวที่มาจากความตั้งใจของน้องๆจริงๆ ไม่ควรจ้างคนอื่นเขียน เพราะเรารู้และเข้าใจในสิ่งที่เราเขียนดีที่สุด!
สุดท้ายนี้ แอดมินจะบอก #DEK68 ว่า ไม่ว่าน้องจะเป็นใคร มีความฝันอยากเป็นอะไร หรือมีเป้าหมายอย่างไร ขอให้น้องๆ ทำมันอย่างเต็มที่แล้วจะไม่มาเสียใจทีหลัง และจงเชื่อมั่นในความฝันของตัวเองเสมอ อย่ามองข้ามหรือดูถูกความฝันของตัวเองเด็ดขาด เพราะนั่นหมายความว่าน้องกำลังขัดขวางโอกาสในอนาคตของตัวเองอยู่นั่นเอง ให้กำลังใจตัวเองเยอะๆ และมั่นใจว่าเพียงแค่น้องกล้าที่จะฝัน นั่นก็คือก้าวแรกที่ดีที่สุด กล้าลงมือทำดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ตัวเราในอนาคตกำลังรออยู่ ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนสนุกกับการเตรียมตัวในรอบ portfolio จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน ลุยยยยย!!!
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
5,141
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
16 โครงการจัดเต็ม! มจธ.เปิดรับโควตา TCAS68 รอบ 2 TCAS68 เริ่ม 14 ก.พ. 68
40
ม.ธรรมศาสตร์ จัดให้!! เปิดรับ 8 โครงการ รอบ 2 โควตา TCAS68
369
2,967 ที่นั่ง ม.ศิลปากร รอบ 2 Quota TCAS68 151 สาขาวิชา เริ่มสมัคร 17 ก.พ. 68
410
3,071 ที่นั่ง 9 โครงการ !! ม.พะเยา เปิดรับสมัคร TCAS68 รอบที่ 2 โควตา เริ่มสมัคร 11 ก.พ. 68
202
โครงการคัดเลือกโดยใช้ TGAT/TPAT มจพ. รับสมัครเข้าศึกษา ผ่าน #TCAS68 รอบที่ 2 #โควตา เริ่มสมัครตั้งแต่วันนี้ – 10 มี.ค.68
642
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
สาขาแนะนำ ตามคำเรียกร้อง
น่าเรียน มีที่ไหน เน้นอะไร มาดูกัน!!
นับถอยหลัง ม.5 !! สอบติดหมอ ไม่ยาก
ติวเข้มข้น ครบทุกวิชา ที่ใช้ในการสอบติด แพทย์ กสพท
สร้างตน สร้างอนาคต ที่รามคำแหง
ชวนน้อง ม.ปลาย เรียน ป.ตรี ล่วงหน้า Pre-degree รับสมัครวันนี้ - 17 พ.ย. 2567
จะดีแค่ไหน! ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าสอบติดไหม?
พร้อมรู้แนวข้อสอบ #TCAS66 ก่อนสอบจริง คลิกเลย!
TCASPortfolio ต้อนรับปี 2024
ใช้งานฟรี! ไปเลย...
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
×
Close