จากเอกสารประกอบการทำประชาพิจารณ์ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 - 2566 (TCAS64 - TCAS66) ของ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) นอกจากประเด็นหลักเรื่องการทำประชาพิจารณ์แล้ว ยังมีการระบุถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน TCAS64 – 66 ด้วย ดังนี้
ความเปลี่ยนแปลง : TCAS64 – 65
- รอบการคัดเลือก 4 รอบ ประกาศผล 5 ครั้ง
Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน)
Quota (โควตา)
Combined Admission = รวม Admission 1 และ Admission 2 ให้สมัครพร้อมกัน โดยประกาศผล 2 ครั้ง มีการประมวลผลหลังการประกาศผลครั้งแรก เพื่อเรียกผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวสํารอง) เพิ่มถ้ามีผู้สละสิทธิ์ในสาขาที่ประกาศผลครั้งแรก
Direct Admission (รับตรงอิสระ)
- การสอบ TGAT (Thai General Aptitude Test) เป็นทางเลือกเพิ่มเติม
เป็นการวัดสมรรถนะทั่วไป 3 ส่วน (English Communication, Critical and Logical Thinking, Future Workforce Competencies)
• เลือกข้อสอบเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ได้
• สอบบนเครื่องคอมพิวเตอร์
• สอบได้ตั้งแต่ชั้น ม. 4 ปีละ 3 ครั้ง ในเดือน พ.ค. ส.ค. และ พ.ย.
• ใช้สําหรับการยื่นในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ โควตา
- การปรับเกณฑ์ Admission 2 ของสาขาสัตวแพทยศาสตร์
• ปรับสัดส่วนคะแนนที่ใช้ในเกณฑ์ Admission 2 เริ่มใช้ TCAS64
• จากเดิมจะใช้คะแนน GAT 20 % / PAT 2 30 %
• เปลี่ยนเป็น GAT 20 % / PAT 1 10 % / PAT 20 %
ความเปลี่ยนแปลง : TCAS66
- รูปแบบการคัดเลือก มี 4 แบบ 4 รอบ
Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน)
- สมัครที่มหาวิทยาลัย ไม่จํากัดจํานวนสาขา ยืนยันสิทธิ์ในระบบ TCAS
Quota (โควตา)
- สมัครที่มหาวิทยาลัย ไม่จํากัดจํานวนสาขา ยืนยันสิทธิ์ในระบบ TCAS
Admission (รับตรงร่วมกัน)
- สมัครที่ระบบ TCAS เลือกได้ 6 อันดับแบบเรียงลําดับ ยืนยันสิทธิ์ในวันสอบสัมภาษณ์
Direct Admission (รับตรงอิสระ)
- สมัครที่มหาวิทยาลัย ไม่จํากัดจํานวนสาขา ไม่ต้องยืนยันสิทธิ์ในระบบ TCAS
- เปลี่ยนรายวิชาสอบ
วัดความรู้
• ความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge Level: B-Level) ใช้วิชา O-NET เหมือนเดิม
• ความรู้ขั้นสูง (Advanced Knowledge Level: A-Level) ปรับ 9 วิชาสามัญใหม่ เป็น คณิตศาสตร์ประยุกต์, วิทยาศาสตร์ประยุกต์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาไทย, สังคม และภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีบาลี-สันสกฤต สเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย ฯลฯ)
วัดความถนัด
• ความถนัดทั่วไป (Thai General Aptitude Test: TGAT)
• ความถนัดทางวิชาชีพ (Thai Professional Aptitude Test: TPAT) ประกอบด้วย ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์, ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์, ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์, ความถนัดทางครุศาสตร์ และความถนัดทางการแพทย์
ทางเลือกความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการทำประชาพิจารณ์
- รวมรอบการสมัครคัดเลือก รอบ 3 Admission 1 กับ รอบ 4 Admission 2 เข้าด้วยกันเป็นรอบ Combined Admission
- จำนวนอันดับที่ให้เลือกได้ในรอบ Combined Admission ระหว่าง 6 อันดับ 8 อันดับ และ 10 อันดับ
- การรวมรอบการสมัครคัดเลือกรอบที่ 1 Portfolio และ รอบที่ 2 โควตา เข้าด้วยกัน เป็นรอบ University
- การยืนยันสิทธิ์รอบ Combined Admission สําหรับการประกาศผลครั้งที่ 1 ควรเป็นแบบไหน
- การสละสิทธิ์ข้ามรอบ ควรหรือไม่ควรให้มีการสละสิทธิ์ข้ามรอบได้ (ยกเว้นรอบที่ 1 ให้สละสิทธิ์ได้ในรอบ 1 และ 2)
- การรวมรอบการสมัครคัดเลือกรอบที่ 1 Portfolio กับ รอบที่ 2 Quota เข้าด้วยกัน เป็น รอบ University
- ช่วงเวลาเปิดรับสมัครด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ควรเป็นช่วงไหน ระหว่าง
- เปิดเทอมต้น ของชั้น ม.6 หรือ
- เปิดเทอมปลาย ของชั้น ม.6 หรือ
- ต้นเดือนธันวาคม เหมือน TCAS63
ซึ่งหากน้องๆ คุณครู ผู้ปกครอง หรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการกำหนดทิศทางระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 - 2566 (TCAS64 - TCAS66)
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการทำประชาพิจารณ์ TCAS64 - TCAS66 >> Download