หลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ของ KMITL ที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์พันธ์ใหม่ ไม่ได้เก่งเฉพาะด้านการรักษา แต่ยังมุ่งเน้นทักษะด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้วย
คณะแพทยศาสตร์ สจล. มี วิสัยทัศน์ ที่จะเป็นคณะแพทยศาสตร์ที่ให้การศึกษาแพทยศาสตร์ระดับนานาชาติ และมุ่งเน้นการพัฒนา เทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ สจล. จึงกําหนดพันธกิจไว้ 2 ประการ คือ 1. ให้การศึกษา แพทยศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ และ 2. สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของประชาชาติ
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สจล. ได้รับการออกแบบเพื่อสร้างแพทย์ที่มีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
1. ความเป็นแพทย์
2. มีทักษะ ศตวรรษที่ 21
3. มีทักษะด้านวิจัย
4. มีความเป็นสากล
รายละเอียดหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ของ KMITL
บรรลุตามผลที่คาดหมายไว้ คือ การสร้างแพทย์ยุค 4.0 คณะแพทยศาสตร์ สจล. จึงมีกระบวนการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อสรรหานักเรียน ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดย กระบวนการประกอบด้วย
1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือกําลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายของระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 ตามการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ เกรด 12 ตามระบบการศึกษาของอเมริกันของระบบการศึกษา หรือ ปี 13 ตามระบบการศึกษาของอังกฤษ
2. มีผลการสอบ SAT Subject Test ไม่ต่ำกว่า 640 คะแนน หรือ BioMedical Admissions Test (BMAT)
ตอนที่ 1 และ 2 ไม่ต่ำกว่า 4.5 และ ตอนที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 2.5 C
3. มีผลการสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
ก. TOEFL (Paper based Test) ไม่ต่ำกว่า 580 คะแนน หรือ
ข. TOEFL (Computer-based Test) ไม่ต่ำกว่า 240 คะแนน หรือ
ค. TOEFL (Internet-based Test) ไม่ต่ำกว่า 94 คะแนน หรือ
ง. IELTS (Academic-Module) ไม่ต่ำกว่า 7 คะแนน
4. เขียน Personal statement บอกถึงแรงจูงใจและความคาดหวังของการศึกษาในหลักสูตรนี้เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1,000 คํา โดยแนบมาเป็น PDF ประกอบการสมัคร
5. ผู้สมัครที่ผ่านคุณสมบัติจะต้องเข้ารับการสัมภาษณ์โดยวิธี multiple mini-interview (MMI) โดยหัวข้อสัมภาษณ์ ประกอบด้วย การตัดสินใจด้านจริยธรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสื่อสาร แรงจูงใจการการเป็นแพทย์ และประเด็นปัจจุบันด้านสุขภาพและสังคม
การจัดหลักสูตร หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของ คณะแพทยศาสตร์ สจล. เป็นหลักสูตร 6 ปี การออกแบบใช้แนวคิด สําคัญ 2 ประการ คือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (transformative learning) และ ความคิดเชิงระบบ (systems approach) ลักษณะสําคัญของ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สจล. ที่ต่างจากหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอื่น คือ
- เน้นให้นักศึกษามีกระบวนการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ (Scientific thinking) และใช้ทักษะการวิจัยในการแก้ปัญหา ดังนั้นนักศึกษาจะต้องทําวิทยานิพนธ์ และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจบ การศึกษา
- หลักสูตรมีความยืดหยุ่น และมีการจัดสรรเวลาสําหรับวิชาเลือกมากขึ้น โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชา ของคณะหรือสถาบันอื่น ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาจะได้เลือกเรียนในสาขาที่ตนเองสนใจ และสอดคล้องกับ งานวิจัยของตนเอง
ความร่วมมือกับคณะและหน่วยงานทั้งภายในและนอกสถาบัน
คณะแพทยศาสตร์ สจล. มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือทั้งทางด้านการเรียนการสอน และการวิจัย โดยคู่ความ ร่วมมือที่สําคัญ ได้แก่ 1. โรงพยาบาลสิรินธร จะเป็นโรงพยาบาลหลักในการเรียนการสอนชั้นคลินิก โดยมีโรงพยาบาลลาดกระบัง เป็นโรงพยาบาลสมทบ และ 2. คณะใน สจล. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีมุมมองที่กว้าง และสามารถพัฒนาความรู้ข้ามศาสตร์ ใน หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สจล. จึงสางเสริมให้นักศึกษาสามารถเลือกทํางานวิจัยในคณะต่างๆ ของสถาบัน อาทิ คณะ วิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยเป็นไปความสนใจของนักศึกษา ตัวอย่าง เช่น นักศึกษาที่ สนใจวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ อาจเลือกทําวิจัยร่วมกับคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาที่สนใจการ ออกแบบผลิตภัณฑ์สําหรับผู้ป่วยอาจเลือกทําวิจัยร่วมกับคณาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น
หลักสูตรนี้จะส่งผลดีต่อวงการศึกษา แพทย์สาธารณสุข และประเทศชาติ อย่างไร
ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รูปแบบของการรักษาพยาบาลในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลง อย่างมากในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นเราจึงต้องสร้างแพทย์ที่สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการ มีความคิดเชิง วิทยาศาสตร์ และมีทักษะวิจัยเพื่อแพทย์เหล่านี้จะได้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และทันต่อวิทยาการ ความสามารถ ด้านวิจัยยังเป็นพื้นฐานสําคัญของการสร้างนวัตกรรม ซึ่งการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ประเทศไทยยังมิได้รับการ พัฒนาศักยภาพเท่าที่ควร ทําให้ที่ผ่านมาแม้ว่าคุณภาพการบริการทางการแพทย์ของไทยจะได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ แต่ระบบดังกล่าวจึงพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น ทําให้ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของประเทศสูง ดังนั้นการ พัฒนาศักยภาพด้านวิจัยและนวัตกรรม จึงเป็นประโยชน์ทั้งต่อแพทย์เอง และสังคม ประเทศชาติ โดยส่วนรวม ทั้งนี้สอดคล้องกับ แนวทางเพื่อการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมและระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ innovation-based economy) ตามโมเดล "ประเทศไทย 4.0' ซึ่งจะต้องเริ่มจากสร้างความเข้มแข็งจากภายใน คือ การยกระดับนวัตกรรม ควบคู่กับ การเชื่อมโยง กับภายนอก
ระยะเวลาและรายละเอียดการเปิดรับสมัคร
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครและการสอบคัดเลือก รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสมัคร สอบคัดเลือกทางอินเทอร์เน็ตได้ที่
www.reg.kmitl.ac.th