กฎหมายรับน้อง
พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติและจิตแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ยังได้บอกถึง 6 กฎหมายการรับน้อง ที่ควรทราบ!!
1. การรับน้องด้วยระบบโซตัส (Sotus) หรือ “การว้าก” ใส่รุ่นน้อง
– ตามกฎหมายอาญามาตรา 392 ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. การบังคับให้น้องเข้าร่วม อย่างการป้อนฟักทองบดด้วยแปรงขัดส้วม
– ตามกฎหมายอาญามาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. หากรุ่นน้องต้องการกลับแต่พี่ไม่ให้กลับ
- ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
4. พี่ลงไม้ลงมือ
– ตามกฎหมายอาญามาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. รับน้องจนบาดเจ็บสาหัส
– ตามกฎหมายอาญา มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.น้องเสียชีวิต
– ตามกฎหมายอาญา มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
และพ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ยังบอกด้วยว่า “ตามประมวลกฎหมายอาญานั้น หากจะดำเนินคดีตามกฎหมายได้ น้องๆ หรือผู้ปกครองจะต้องแจ้งความเอาผิดกับรุ่นพี่ที่ลงโทษเกินกว่าเหตุ แต่บางกิจกรรมอาจเป็นข้อตกลงระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง และอยู่ในการควบคุมดูแลของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นบททดสอบในการก้าวเป็นรุ่นพี่ เพื่อทำหน้าที่ดูแลรุ่นน้องในรุ่นต่อไป”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
แฟนเพจ SocialMsociety (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)