Master Degree

ลาดกระบัง มุ่งหลักสูตร Online ตั้งเป้าอีก 5 ปี สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งดิจิทัลเต็มตัว

          เทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลนอกจากจะก้าวไปไกลแล้ว การปรับเปลี่ยนยังเกิดขึ้นรวดเร็วและส่งผลกระทบทั้งด้านลบและบวกในวงกว้าง อย่างในวงการศึกษาสถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อยถูก disrupt โดยเทคโนโลยี จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวเอง เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเสียเอง ด้วยการให้ความสำคัญกับสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา
 


          การผนึกกำลังกันระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กลุ่มบริษัทจีเอเบิล (G-ABLE) และ หัวเว่ย (Huawei) ในการสร้างเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ทั้งติดตั้งโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วระดับ 100 จิกะบิต, WiFi 3,000 จุด, การพัฒนา Software-defined Network (SDN) และดาต้าคอนเทนเนอร์ (data container) สะท้อนให้เห็นถึงการยกระดับการเรียนการสอน ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด




ทำหลักสูตรออนไลน์เต็มตัว

          ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล. กล่าวว่า ทางสถาบันฯ กำลังก้าวสู่ third generation ที่ทุกอย่างเป็น fully online และ super high techเพื่อสร้างการศึกษายุค 4.0 ปั้นคนรุ่นใหม่ให้สามารถสร้างเทคโนโลยีและแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ ซึ่งการร่วมมือกับกลุ่มบริษัทจีเอเบิลและหัวเว่ยครั้งนี้จะตอบโจทย์ดังกล่าว อีกทั้งรองรับเป้าหมายของ สจล.ในการเป็นผู้นำสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียน รวมถึงเป้าหมายใหม่คือการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (digital university) ภายใน 5 ปี

 

          อย่างไรก็ดี เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จึงมีแผนจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนการสอนที่อาจารย์จากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาได้ตลอด รวมถึงจัดตั้งห้องปฏิบัติการ และสถาบันฝึกอบรมในขั้นต่อไป เพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพที่มีทักษะและความสามารถด้านดิจิทัลป้อนตลาดแรงงาน


          ในอนาคต สจล.จะทำหลักสูตรออนไลน์เต็มรูปแบบ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเรียนทางไกลจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่มีความร่วมมือกับ สจล. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลักสูตรออนไลน์ของที่นี่จะเป็น interactive online คาดว่าปีหน้าจะเริ่มดำเนินโครงการ ซึ่งตรงนี้เป็นโจทย์ของ สจล. เพราะหากเป็นการเรียนออนไลน์รูปแบบเดิมไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขนาดนี้ แต่ระบบเครือข่ายที่หัวเว่ยเข้ามาพัฒนานั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ต่อไปใครก็สามารถมาเรียนกับเราได้ อีกทั้งจัดโปรแกรมหลักสูตร และช่วงเวลาเรียนตามความต้องการได้เลย



จัดเต็มครบ 4 โซลูชั่น

          ดร.จุมพต ภูริทัตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโซลูชั่นว่า สจล.จะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทย ซึ่งมีระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็ว 100 จิกะบิตต่อวินาที ทำให้นักศึกษาสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายและแบบต่อสายเพื่อการเรียนการสอนแบบสตรีมมิ่งออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกันแบบไม่สะดุดรวมถึงอาจารย์สามารถนำเสนอสื่อมัลติมีเดียคุณภาพสูงเพื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งยังมี SDN (Software-defined Network) ระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงทุกเครือข่ายในมหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งเดียวและรวมความเป็น data center เข้ากับcampus network เพื่อผู้ดูแลเครือข่ายสามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น และเอื้อต่อการขยายตัวของโครงข่ายในอนาคตซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ของการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก


          อีกโซลูชั่นคือ educational cloud data center in container เป็นครั้งแรกของสถาบันการศึกษาในไทยที่นำอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งจะเป็นศูนย์ข้อมูลจัดเก็บแบบบูรณาการ (all-in-one) ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมากกว่าแบบเดิมถึง 3 เท่า และติดตั้งได้เร็วกว่า 5 เท่า เพราะไม่จำเป็นต้องสร้างอาคารดาต้าเซ็นเตอร์ และเมื่อใส่อุปกรณ์ลงไปในตู้คอนเทนเนอร์ เสียบปลั๊ก ก็ใช้งานได้ทันที (plug-and-play) ไม่เพียงเท่านั้นยังได้ติดตั้งเครือข่ายWiFi ที่เชื่อมต่อได้ถึงระดับจิกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัยถึง 3,000 จุด ทำให้คณาจารย์และนักเรียนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่ภายในมหาวิทยาลัย ส่งผลให้การเรียนรู้ไม่ติดขัดหรือสะดุด




เทคโนโลยีสร้างการเปลี่ยนแปลง

          ทางด้านกลุ่มบริษัทจีเอเบิลที่เป็น agent of digital transformation และเป็นพันธมิตรกับ สจล.มากว่า 20 ปี สุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการมองว่า เทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนกลยุทธ์และการทรานส์ฟอร์มองค์กรให้ไปได้เร็วมากขึ้น โดยเฉพาะกับวงการการศึกษาที่มีโจทย์สำคัญว่า จะนำเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมใหม่ได้อย่างไร หรือนำมาใช้เพื่อเชื่อมต่อประสบการณ์ของบุคลากรภายในสถาบันให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว


          ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้พิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ในการมองหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับ สจล. ทั้งแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ๆ ความคุ้มค่าในการลงทุน พร้อมร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม มีความคล่องตัวและใช้เวลาในการติดตั้งเทคโนโลยีที่มีความกระชับ ซึ่งเทคโนโลยีของหัวเว่ยสามารถตอบโจทย์ได้ครบ จึงเป็นที่มาความร่วมมือกันในครั้งนี้


 

" สิ่งสำคัญที่สุดที่ สจล. หัวเว่ย และกลุ่มบริษัทจีเอเบิลมองเห็นตรงกันและมีจุดหมายร่วมกันคือเรื่อง Digital Transformation ปฏิวัติวงการการศึกษาไทยให้ไปสู่ยุคดิจิทัล "



 

ข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ, g-able
 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Microbiology) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม เป็นการเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ...

สาขาดิจิทัลอาร์ตส์ ดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ดิจิทัลมีเดีย หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงาน การพัฒนาการออกแบบรุ่นใหม่ ...

M.S. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สังคมปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ...