Master Degree

5 ปัจจัยขับเคลื่อน StartUp รุ่นใหม่ไปสู่ความสำเร็จ

          จากงานประกาศ “รางวัลแบรนด์ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด” มีประเด็นทางการตลาดที่น่าสนใจคือ การทำวิจัยจาก Brand Footprint Report  ที่เป็นการสำรวจพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสินค้ากลุ่มสุขภาพและความงาม, กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน, กลุ่มอาหาร/เครื่องดื่ม ฯลฯ แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่ได้อยู่ที่ว่ากลุ่มไหนติดโพลล์บ้าง แต่อยู่ที่ ปัจจัยสำคัญ 5 ข้อ ของงานวิจัยชิ้นนี้มากกว่าที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้แบรนด์เหล่านั้นประสบความสำเร็จ ไปดูกันดีกว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ว่าอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ



1. More Moment

          แบรนด์ที่จะประสบความสำเร็จต้องสร้างสิ่งที่เรียกว่า  Moment of Truth (รักแรกพบ)  ให้อยู่ในใจของผู้บริโภคให้ได้ ตัวอย่างจากกลุ่มแบรนด์แปรงสีฟัน/ยาสีฟันที่โดยปกติแล้วเราจะมีความรู้ชุดหนึ่งที่รับรู้ร่วมกันว่า “ คนเราต้องแปรงฟันวันละ 2 ครั้งเช้าและก่อนนอน”  แต่มีแบรนด์ๆ หนึ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่บอกว่า “เราแปรงฟันได้หลายครั้งต่อวัน โดยเฉพาะหลังทานข้าว” เมื่อความรู้ชุดนี้แพร่กระจายออกไป ทำให้เกิด Moment of Truth ที่ผู้บริโภคเชื่อถือและปฏิบัติตาม สุดท้ายก็จะเกิดผลดีต่อยอดขายของแบรนด์ที่สร้างชุดความรู้ใหม่นี้ขึ้นมาได้สำเร็จ


 

2. More Target

          แน่นอนว่าการทำแบรนด์ต้องมีฐานลูกค้าที่ชัดเจนว่าเป็น ใคร? อายุเท่าไหร่? รายได้ประมาณไหน? แต่สิ่งที่สำคัญเมื่อแบรนด์แข็งแกร่งในระดับหนึ่งแล้ว ต้องขยายฐานลูกค้าออกไปให้มากกว่าเดิม อย่างแบรนด์อาหารเจ้าหนึ่งในประเทศเกาหลีที่เล็งเห็นว่ามีคนโสดเพิ่มขึ้น เลยทำ “ชุดอาหารสำหรับทานคนเดียว”  ผลที่ได้คือแบรนด์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในเกาหลี ซึ่งคนที่อยู่กันเป็นครอบครัวก็สามารถซื้อชุดอาหารนี้ทานได้เช่นกัน


 

3. More Presence
          ทำอย่างไรก็ได้ให้แบรนด์ของเราไปปรากฏในทุกๆ ที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังเช่นทางตอนใต้ของประเทศจีนแบรนด์ซอสมะเขือเทศ Heinz ได้มีความต้องการจะขยายแบรนด์ให้เกิดการรับรู้ที่กว้างขึ้นและเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น จึงได้ทำการสำรวจตลาดผู้บริโภคแล้วพบว่าทางตอนเหนือและตะวันตกของประเทศก็มีความต้องการซอสตัวนี้ แต่ด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ซอสรูปแบบขวดไม่เป็นที่นิยม  จึงเป็นที่มาซอส Heinz รูปแบบซอง ซึ่งผลปรากฎว่าได้รับความนิยมถล่มทลายไม่ต่างกับแบบขวดก่อนหน้านี้แต่อย่างใด


 

4. More Categories
          การแตกไลน์สินค้าถือเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ แบรนด์ต้องทำอยู่เสมอ แต่ก็เกิดคำถามที่ว่าจะขยายประเภทสินค้าอย่างไรให้แบรนด์แข็งแกร่ง Downy แบรนด์ที่แรกเริ่มเดิมทีขายแต่น้ำยาปรับผ้านุ่ม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก บริษัทจึงทำการตลาดมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนเข้าสู่การขยายไลน์สินค้าตัวใหม่เพิ่มเติม อาทิ ผงซักฟอก, สเปรย์, เทียนไข ฯลฯ ซึ่งนั่นส่งผลให้ Downy มีผลประกอบการเพิ่มขึ้น 5% ทั่วโลกเลยทีเดียว


 

5. More Needs
          ยาคูลท์ (Yakult) แบรนด์ที่ทำตลาดกับผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวมาโดยตลอด ก็หันไปร่วมมือกับ Haru แบรนด์กลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามเพื่อขยายตลาดความต้องการของผู้บริโภค โดยาคูลท์จะทำการส่งส่วนผสมที่เป็นผักและผลไม้ให้กับ Haru เพื่อนำเอาไปทำมาสก์หน้า (Mask) ถือเป็นการกระโดดลงมาเล่นกับตลาดสกินแคร์ที่เข้ามาสร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคนั่นเอง


 

ข้อมูล : brandinside.asia
 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

MBA SMEs (Specialized in Beauty and Fashion Business Management) สาขาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธุรกิจความงามและแฟชั่น) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) ภายใต้การดูแลของ ...

MBA Weekend Track บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือรู้จักกันในชื่อ เอเเบค (ABAC) ...

MBA Professional บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

หลักสูตร MBA สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ...