เทคโนโลยีการบินและโดรน กำลังเปลี่ยนวงการโลจิสติกส์โลก
ถือเป็นอีกเทรนด์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกเรามาได้ซักพักใหญ่ๆ กับ
"โดรน" ที่นอกจากจะเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากของเล่นจนมีบทบาทสำคัญทางการทหารแล้ว ยังพัฒนาและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางอื่นๆ อย่างแพร่หลาย และเจ้าโดรนนี้เอง จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวงการอุตสาหกรรม ธุรกิจ และโลจิสติกส์ ในระดับโลก
ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของโลกอย่าง
Amazon ก็ไม่ตกเทรนด์แถมก้าวล้ำไปอีกขั้น ด้วยการวางแผนจะใช้เรือเหาะไฮบริดขนาดยักษ์ที่สุดในโลก อย่าง
Airlander 10 ที่กองทัพสหรัฐพัฒนาขึ้นเพื่อการพาณิชย์ เจ้าเรือเหาะนี้จะถูกใช้เป็นแวร์เฮ้าส์หรือคลังสินค้าเคลื่อนที่ขนาดใหญ่ แล้วภายในนั้นจะใช้โดรนขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายย่อยอีกที
โครงการดังกล่าวชื่อ
Airborne Fulfillment Center (AFC) หากใช้เรือเหาะยักษ์ Amazon Airlander ได้สำเร็จ มันจะเป็นคลังสินค้าบินได้ขนาดใหญ่กว่าเครื่องบินจัมโบ้ เคลื่อนที่ไปมาย้ายจุดไปตามโลจิสติกส์บนระดับความสูง 45,000 ฟิต หรือราว 13 กิโลเมตรกว่าๆ จากพื้นดิน ซึ่งแน่นอนว่ามันคงได้เปรียบคู่แข่งที่มีแวร์เฮ้าส์บนพื้นดินไม่น้อย
เทคโนโลยีโดรนและการบินจะสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ยุคหน้าได้มหาศาล ตัวอย่างจากยักษ์ใหญ่ Walmart สูญเสียค่าใช้จ่ายจากการคลาดเคลื่อนระหว่างสินค้าในโกดังไม่ตรงบัญชีฝ่ายผลิต หรือจากการสูญหาย/หาไม่พบในกระบวนการจัดเก็บ อย่าลืมนะครับว่าโกดังคลังสินค้าของบริษัทระดับนี้มีพื้นที่ใหญ่มาก อย่างคลังสินค้าของ Amazon ที่เมืองฟีนิกซ์ อริโซน่า มีพื้นที่ 1.2 ล้านตารางฟุต หรือเท่ากับสนามอเมริกันฟุตบอล 28 สนามรวมกัน
ลองนึกดูสิว่า บริษัทหรือธุรกิจของคุณสามารถย้ายที่ตั้งโกดังสินค้าเลื่อนที่ไปมาบนอากาศได้ทั่วโลก จะทำให้เหนือคู่แข่งและมีประโยชน์มหาศาลแค่ไหน และเรื่องนี้ถือเป็นการพลิกโลกและเปลี่ยนโฉมระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ครั้งสำคัญแน่นอน
เทคโนโลยีหุ่นยนต์และโดรนจำเป็นมาก และมีการใช้งานร่วมกับระบบ AI ตรวจสอบ/จับคู่/ตามหาสินค้าที่ดีด้วย
สถาบัน MIT ได้พัฒนาระบบการใช้โดรนควบคู่กับคลื่นความถี่ RFID ชนิดที่สามารถตรวจจากระยะยาวกว่าปกติที่วงการใช้กัน เพราะการยิงคลื่นตรวจจับด้วยความถี่แบบเดิมต้องเข้าใกล้มากพอซึ่งวิธีการดังกล่าวทำให้ระบบอาจจะตรวจจับสินค้าบางรายการไม่พบ เป็นเหตุให้ยอดสินค้าในคลังกับการผลิต/ส่งมอบไม่ตรงกัน แล้วก็เป็นการสูญเสียทางบัญชี
ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ และขนส่งยักษ์ใหญ่ของโลกทั้งอเมริกาและจีน ต่างกำลังเร่งพัฒนาโดรนเพื่อการจัดส่งสินค้า ซึ่งการพัฒนาของรายใหญ่เหล่านี้ มีผลต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย ที่สำคัยคืออนาคตของ
“คนกลาง” บอกได้เลยว่าแทบจะไม่มีที่อยู่อีกแล้วในหลายๆ อุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังพอมีที่สำหรับ
“ผู้ขนส่ง” ที่จะเชื่อมหรืออุดช่องโหว่ให้ระหว่าง ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ธุรกิจกับลูกค้าผู้บริโภค (B2C) และระหว่างผู้บริโภครายย่อยด้วยกันเอง (C2C)
นับตั้งแต่แฟรนไชส์พิซซ่า Domino สาขา Whangaparaoa, north of Auckland ประเทศนิวซีแลนด์ ได้เริ่มส่งพิซซ่าด้วยโดรนเป็นครั้งแรกของโลกเมื่อพฤศจิกายน 2559 ถึงบัดนี้ได้มีผู้ประกอบการพิซซ่าอีกหลายรายที่ขยับจะมีบริการดังกล่าว และไม่ใช่แค่รายใหญ่หรือกิจการขนส่งของยักษ์ใหญ่เท่านั้น เพราะร้านสะดวกซื้อ เซเว่น-อิเลฟเว่น ในเมือง Reno รัฐเนวาดาซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลทรายและชนบทได้ใช้โดรนในการส่งสินค้าให้กับลูกค้าเช่นกัน
ที่มา :
www.bangkokbanksme.com
www.amazon.com