การแบ่งประเภทโลจิสติกส์ในไทย สู่วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0
การพัฒนาประเทศจะสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ ก็ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย สังคม การศึกษา การคมนาคม เศรฐกิจ รวมถึงระบบสำคัญอย่าง
ระบบโลจิสติกส์ เพราะเส้นทางการก้าวไปให้ถึง
ไทยแลนด์ 4.0 ตามที่นโยบายระดับประเทศตั้งเป้าไว้ ยิ่งต้องเร่งพัฒนาระบบเหล่านี้ตามไปด้วย
ไทยแลนด์ 4.0 คำนี้ดูเหมือนเราจะได้ยินกันมาพักใหญ่แล้ว มันคือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมที่ก้าวหน้าขึ้นจากระบบเดิม เพราะรูปแบบเศรษฐกิจเดิมเป็นผลตอบแทนที่ทำมากแต่ได้รับกลับมาน้อย ซึ่งทำให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ยาก โดยการเปลี่ยนมาให้เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จะเน้นเรื่องนวัตกรรมและการกระจายงานให้เป็นระบบตามความถนัดของแต่ละภาคส่วนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้เกิดผลตอบแทนที่ทำน้อยได้กลับมาคุ้มนั่นเอง
ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วระบบโลจิสติกส์ของไทยเรายังขาดความเป็นระบบในการแยกประเภทของบริการที่จัดเจน จึงเป็นหน้าที่ของทางสำนักธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า ภายใต้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
โดยแผนงานคือ เน้นส่งเสริมการขยายเครือข่าย การพัฒนาการบริการให้ดีขึ้น จัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการแยกประเภทของบริการโลจิสติกส์ที่ได้ประสิทธิภาพต่อความสนใจของผู้ประกอบการที่ใช้บริการได้ตรงจุดมากขึ้น ผ่านผลการประเมินทางเครื่องมือในการเป็นตัวชี้วัด เมื่อหมวดหมู่และประเภทของบริการชัดเจนยิ่งขึ้นก็ยิ่งเป็นการเปิดทางให้ได้รับความไว้วางใจและยอมรับในการเลือกใช้บริการขากทุกภาคส่วนมากขึ้น
ซึ่งในการขนส่งสินค้าทางบกเป็นหนึ่งในประเภทของผู้ให้บริการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งใน 4 ประเภทของระบบบริการโลจิสติกส์ โดยอยู่ในหมวดของ LSP (Logistic Service Provider) ความหมายคือ ผู้ให้บริการงานโลจิสติกส์แบบดั้งเดิม และการขนส่งทางบกเองก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบระบบราง ก็คือทางรถไฟ และระบบถนน คือ พวกรถบรรทุก หรือ รถยนต์ นั่นเอง
ประเภทและหมวดหมู่ของระบบบริการโลจิสติกส์ถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ซึ่งการแบ่งแต่ละประเภทให้เกิดความชัดเจนนี้ เป็นผลดีต่อการส่งมอบงานของแต่ละผู้ประกอบการอย่างมาก ระบบขนส่งโลจิสติกส์ที่ถูกต้องถูกประเภทของสินค้าจะเป็นไปตามความเชี่ยวชาญมากขึ้น สินค้าและบริการก็จะได้ประสิทธิภาพความน่าเชื่อถือมากขึ้นตามไปด้วย จนนำไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านขนส่งสินค้าในภาคอาเซียนต่อไปภายหน้าก็ได้
ที่มา :
home.pegasusaec.com