บทความนี้เรามีเทคนิคเจ๋งๆ มาแนะนำน้องและทุกคนที่ต้องเจอกับการตั้งรหัสผ่าน (Password) จะตั้งยังไงให้ตัวเราจำได้ง่าย ไม่ลืม แต่ก็เป็นรหัสที่คนอื่น เดายาก! ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า คุณสมบัติของ Password ที่ดีและปลอดภัยเบื้องต้น ควรจะมี ตัวอักษร 10 ตัวขึ้นไป ประกอบด้วย หมายเลข 0-9 ตัวอักษรตัวเล็ก-ตัวใหญ่ ผสมกันไปเพื่อเพิ่มความเดายาก และควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัวที่หาเจอง่ายๆ มาตั้งเป็นรหัสผ่าน เช่น ชื่อ วัน/เดือน/ปีเกิด เลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์
เทคนิคที่ 1 : สุ่ม 4 กลุ่มคำธรรมดา (Four random common words)
เทคนิคที่ทางเว็บไซต์ 1Password แอปพลิเคชั่นช่วยจำพาสเวิร์ดชื่อดังแนะนำ คือการตั้งพาสเวิร์ดด้วยคำ 4 คำที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เรียกว่า เทคนิคสุ่มสี่คำ (Four random common words) แต่ชุดคำพวกนั้น ต้องเป็นคำที่คุณเองจำได้ อาจเป็นคำที่คุณชอบ หรือมีความเกี่ยวข้องในแบบที่พอนึกถึงได้ แต่ไม่ง่ายจนเกินไป เช่น ชื่อแฟนเก่า, ชื่อเพลง, สถานที่ที่ชอบ, ที่พักอาศัย หรือของอื่นๆที่ชอบ จากนั้นแทนตัวเลขลงไปแทนตัวอักษรบางตัวเพื่อให้ซับซ้อนขึ้นได้
ตัวอย่างเช่น olivia-mimigumo-waikiki-yesterday แปลงเป็นพาสเวิร์ดได้ว่า 0l1v1a-m1m1gum0-wa1k1k1-y3st3rday เท่านี้ก็จะได้รหัสที่เดายากขึ้นแล้ว
เทคนิคที่ 2 : PAO method
“PAO method” มาจากคำว่า Person-Action-Object Story เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่แนะนำโดยนักวิศวคอมพิวเตอร์จาก Carnegie Mellon University โดยจะให้ลองคิดชุดคำจำเป็นเรื่องราวเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่เป็นเรื่องสนุกๆที่เราสามารถจำได้ แปลงเป็นรหัสพาสเวิร์ดให้จำได้ตลอดกาล
ตัวอย่างเช่น
ใคร : ย่อเป็น MKDLF
ทำอะไร : jumping ย่อเป็น jmp1ng
ที่ไหน : ย่อเป็น
เราก็จะได้รหัสที่มีแค่เราที่จำได้คือ
เทคนิคที่ 3 : ใช้เพลงที่ชอบเป็นภาษาคาราโอเกะ
ตัวอย่างเช่น “พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” แปลเป็นคาราโอเกะ คือ Por Sor 2504 Phu Yai Lee Tee Klong Pra Chum อาจจะแปลงเป็นพาสเวิร์ดได้ว่า ps2504PYLtkpc เป็นเทคนิคที่ยากและซับซ้อนดีมั้ยล่ะ ถ้าไม่สนิทหรือรู้ใจกันจริงๆ ไม่มีทางเดาออกเลย
เทคนิคที่ 4 : พิมพ์สลับภาษา
การพิมพ์คำหรือรหัสผ่านแบบสลับภาษา พิมพ์คำไทยบนแป้นพิมพ์อังกฤษ หรือคำอังกฤษบนแป้นพิมพ์ไทย ตัวอย่างเช่น คำว่า admissionpremium ก็จะแปลงได้รหัสเป็น ฟกทรหหรนืยพำทรีท หรือคำว่า สอบเข้ามหาลัยง่ายจริงๆ ได้รหัสเป็น lv[g-hk,sk]yppkd0ib'
เทคนิคที่ 5 : ตั้งพาสเวิร์ดที่จำได้ 1 ชุด แล้วต่อท้ายด้วยคำที่หมายถึงโซเชียลมีเดียที่กำลังใช้
เทคนิคนี้ก็ถือว่าดีและช่วยให้จำได้ง่ายจริงๆ (เพราะเราก็ใช้) ตัวอย่างเช่น ตั้งรหัสขึ้นมาว่า “ps2504PYLtkpc” แล้วต่อท้ายด้วยชื่อแอปฯ หรือเว็บที่เราสมัคร เช่น Facebook อาจจะตั้งต่อว่า “ps2504PYLtkpc/fB” หรืออาจจะทำให้ซับซ้อนขึ้นอีกด้วยเครื่องหมายสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆตามไป อันนี้แล้วแต่ตามสะดวกเลย
นอกจากเทคนิคการตั้งรหัสผ่านให้เดายากแล้ว น้องๆ ก็อย่าลืมว่าควรเปลี่ยน Password ใหม่ทุกเดือน และไม่ควรใช้ Password เดียวกันกับทุกอย่าง เพราะถ้าเกิดโดนแฮก 1 แอปก็อาจจะโดนแฮกไปทั้งหมดเลยได้ แต่สำหรับหลายๆ คนที่สมองอาจไม่เอื้อให้จดจำตัวเลขเยอะๆ (เหมือนเรา) ถ้าต้องตั้งรหัสความปลอดภัยตามนี้ทั้งหมด กับทุกๆ บริการทุกอย่างที่เราใช้ ก็ดูจะจำยากอยู่เหมือนกัน ถ้าไม่มีหลักการจำที่ดี มีหวังลืมอีกแน่ๆ และบทความนี้เราจึงขอแนะนำไอเดียตั้ง Password ยังไงให้ตัวเองจำง่าย แต่คนเดายากมาฝากกัน