เคยได้ยินไหมว่า
"ทุกอย่างที่คุณแชร์ใน Social Media ไม่มีคำว่าส่วนตัว" เพราะการโพสหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในสื่อออนไลน์ต่างๆ คือการที่เราฝากรอยเท้าทางดิจิทัล (Digital Footprint) เอาไว้ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลเหล่านั้นจะไม่มีวันที่มันหายไปและทุกคนล้วนเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของคุณได้ง่ายๆ และที่สำคัญเรื่องราวทั้งหลายที่คุณตั้งใจและไม่ตั้งใจโพสลงไปอาจจะกลับมาหลอกหลอนคุณในซักวันหนึ่ง
ดังนั้น การป้องกันเรื่องไม่ดีทีอาจเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนควรเตรียมการเอาไว้ และนี่คือ
10 เทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ Social Media และชีวิตของคุณ ได้ดียิ่งขึ้น
1 Check ก่อน Share
เมื่อเห็นโฆษณาหรือโพสชวนเชื่อแปลกๆ ก่อนจะกด Like กด Share หรือเชื่อเรื่อเหล่านั้น ควรคิดให้รอบคอบ อย่าปักใจเชื่อทันที จำไว้เสมอว่าข้อความในโลกออนไลน์แม้แต่ข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ ก็สามารถปรุงแต่ขึ้นมาได้ อย่าอ่านแค่พาดหัวข่าวแล้วรีบแสดงความคิดเห็นหรือแชรืข้อมูลนั้นทันที ไม่ว่าจะมาจากสื่อไหนก็ตาม อย่างแรกที่คุณควรทำคือตรวจสอบแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือของข้อมูล
2 คิดก่อน Click
ก่อนที่จะดาวน์โหลดโปรแกรม เอกสาร เล่นเกม หรือเข้าร่วมเว็บแปลกๆ ต้องคิดและอ่านรายละเอียดให้ดี เพราะเว็บเหล่านี้มักจะมีการเก็บข้อมูลหรือขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของคุณเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
3 อย่าบอกหรือระบายทุกอย่างใน Social
อย่าลืมว่าข้อมูลเหล่านี้จะเปิดเผยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโพสต์ข้อมูลที่สุ่มเสี่ยงก็อาจส่งผลร้ายต่อตัวเองได้
เช่น บ่นเรื่องที่ทำงาน การโพสต์บอกว่าไปเที่ยวไม่อยู่บ้านหลายวัน ตรงนี้มิจฉาชีพอาจจ้อใอยู่และย่องมาบ้านคุณอย่างสบายใจ
4 อย่าแชร์ข้อมูลความเป็นส่วนตัวให้ใครรู้
อย่างเช่น แชร์โลเคชันที่อยู่ ทรัพย์สินต่างๆ บัตรเครดิต บัตรประชาชน พาสปอร์ต บอร์ดดิ้งพาส ถ้าต้องแชร์จริงๆ ก็แชร์เฉพาะกลุ่มปิด
5 คัดกรองกลุ่มเพื่อนในโลก Social
อย่ารับแอดคนไม่รู้จัก เพราะการมียอดคนฟอลโลวหรือมีเพื่อนที่ไม่รู้จักมาแอดเราเยอะ ไม่ได้แปลว่าเป็นเรื่องดีเสมอ เพราะคนที่เข้ามาฟอลอาจมีจุดมุ่งหมายแฝงที่ไม่ดีก็ได้
6 อย่า Check in ตลอดเวลา
เพราะมันเหมือนเป็นการบอกให้ทุกคน ทั้งรู้จักและไม่รู้จัก รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน ถ้ามีเรื่องต้องให้เปิดใช้งาน Share Location ก็ควรแชร์เท่าที่จำเป็น ตั้งค่าการแสดงผลให้เห็นแค่ในกลุ่มเพื่อน หรือเฉพาะครอบครัวก็เพียงพอ
7 ระวังการใช้ Wifi Free ในที่สาธารณะ
ระวังการเชื่อมต่อไวไฟ รวมถึง Bluetooth ของร้านค้า ร้านอาหาร หรือในสถานที่สาธารณะต่างๆ เพราะจะเป็นช่องทางให้กลุ่มแฮกเกอร์ใช้เครื่องมือล้วงข้อมูลที่สำคัญเราไปได้
8 ตั้งค่าความปลอดภัยให้ Social Media
สิ่งแรกที่ควรทำกับบัญชีผู้ใช้ในสื่อออนไลน์ต่างๆ ของคุณ คือ การตั้งค่า Log ไม่แสดงโปรไฟล์หรือโพสต์แบบสาธารณะ รวมทั้งการ update แอปฯ และโทรศัพท์ อยู่เสมอ
9 ควรเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ
นอกจากคุณต้องหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือนตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำแล้ว อย่าลืมว่า ควรตั้งรหัสที่มีความปลอดภัยระดับหนึ่ง โดยมีทั้งตัวเลขผสมตัวอักษรด้วย และเรื่องสำคัญที่ผู้คนมักจะทำกันบ่อยๆ เลยคือ อย่าใช้เบอร์โทรศัพท์ตั้งเป็นรหัสผ่านของทุกอย่างเด็ดขาด! เพราะมันเสี่ยงต่อการโดนแฮกนั่นเอง
10 เลือกติดตามสื่อที่เชื่อถือได้
เพราะใครๆ ก็เข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือได้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน สื่อออนไลน์ใน Social Media พากันปรากฏตัวขึ้นมากมาย ทั้งแบบเป็นสำนักข่าว เพจ หรือบุคคลมีชื่อเสียงต่างๆ แต่ถึงอย่างไร นั่นก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่ออกมาจากสื่อหรือคนเหล่านั้นจะถูกต้องและเชื่อถือได้ทุกอย่าง ดังนั้น เลือกติดตามสื่อหรือเพจที่เป็นทางการ ไม่รับสื่อหรือข่าวสารจากเว็บ Clickbait เพจที่แชร์แต่ข้อคิดเห็น ปลุกระดม สร้างดราม่า ไม่มีข้อมูลจริง และอย่าลืมว่า การเลือกติดตามสิ่งใด ย่อมหล่อหลอมให้เรากลายเป็นคนแบบนั้นไปด้วย
ที่มา :
www.etda.or.th
www.facebook.com
www.voathai.com
www.catcyfence.com
www.marketingoops.com