หน้าแรก เรียนนวัตกรรม ข่าว/บทความ

Upcycle วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว รุ่นพี่ลาดกระบังร่วมมือกับอุตสาหกรรมท้องถิ่น

วันที่เวลาโพส 07 เมษายน 66 15:10 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ของการออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ด้วยกระบวนการ Upcycle ภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการอุตสาหกรรมท้องถิ่น พบว่ามีวัสดุสะอาดที่เหลือจากการผลิตอยู่จำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งต้องใช้ทุนในการจัดการวัสดุที่เหลือใช้จำนวนมาก อีกทั้งต้องบริหารพื้นที่จัดเก็บอย่างเป็นระบบ


ซึ่งแก้ไขโดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งการลดของเสีย การใช้วัสดุเหลือใช้จากการผลิตมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป โดยการศึกษาทฤษฎีแนวคิดการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า (3Rs) ร่วมกับเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) จัดการของเสียในสถานประกอบการอุตสาหกรรม (โดยงานออกแบบในโครงการวิจัยอาจนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น) โดยแบ่งหัวข้อการศึกษา ดังนี้

1. ของเสียและประเภทของเสียที่เกิดจากสถานประกอบการ
กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industry) โดยให้สถานประกอบการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดของเสียจากกระบวนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการนำของเสียกลับไปใช้ประโยชน์ โดยใช้แนวคิดการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า (3Rs) และเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) จัดการของเสียในสถานประกอบการอุตสาหกรรม (สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม, 2555) แนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (3Rs) เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ช่วยลดขยะให้น้อยลงได้ ด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำไปแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) (Green Network, 2019) สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2555) อธิบายไว้ว่า ขยะที่เกิดจากสถาน ประกอบการอุตสาหกรรมเรียกว่า “ของเสีย” หมายถึงสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดจากการประกอบกิจการในโรงงาน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้แก่ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสาร กำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กำหนดไว้ว่าของเสียเหล่านี้ต้องแจ้งและต้องได้รับการอนุญาตก่อนนำไปจัดการ ประเภทของเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากสถานประกอบการอุตสาหกรรม

2. การจัดการของเสียแบบประสมประสาน
สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2555) กล่าวถึงการจัดการของเสียให้ได้ผลต้องใช้วิธีการจัดการของเสียแบบประสมประสาน กล่าวคือใช้หลายวิธีในแนวคิด 3Rs ร่วมกันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางก่อนการกำจัดทิ้ง โดยต้องทราบปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับของเสียก่อน เช่น ชนิดและปริมาณของของเสีย เพื่อพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญ, ลักษณะคุณสมบัติของของเสีย เพื่อศึกษาและวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ สร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุน และแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยให้การจัดการมลพิษอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำวัสดุที่มีศักยภาพ ที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิตของสถานประกอบการอุตสาหกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการออกแบบให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์นั้น ได้แก่ กระบวนการ Upcycle ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำจำกัดความว่า “เป็นการนำวัสดุที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วมาทำให้มีมูลค่าหรือใช้ได้ดีกว่าเดิม” หรือ การนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วมาทำให้มีคุณภาพและมูลค่ามากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจขั้นต้นสามารถพบวัสดุเหลือใช้ที่มีศักยภาพในการเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ จึงได้เกิดโครงการทดลองต้นแบบเพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับการใช้กระบวนการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดสินค้าใหม่ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่การประยุกต์ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางหรือคู่มือให้กับผู้ประกอบการ หรือ Start Up เพื่อพิจารณาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมของตน รวมถึงนักออกแบบ นักศึกษา หรือคนทั่วไปที่สนใจงานออกแบบ Upcycle สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการออกแบบได้อย่างหลากหลาย






บริษัท สยาม ไมโครไพล์ จำกัด มีความต้องการที่จะนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตเสาเข็มเพื่อการก่อสร้างมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบนี้สามารถสร้างมูลค่าจากเศษของสถานประกอบการ ลดพื้นที่การจัดเก็บ อีกทั้งบริษัทเองยังได้สินค้าที่มีเอกลักษณ์แสดงถึงกิจกรรมความเชี่ยวชาญของตัวบริษัทได้เป็นอย่างดี สถานประกอบการสามารถได้กำไรจากการผลิตเฟอรนิเจอร์มากกว่าการนำวัสดุเหลือใช้ไปขายในลักษณะเดิม

KMITL Innovation Expo
งานจัดแสดงนวัตกรรม และผลงานวิจัยกว่า 1,111 ผลงาน จากแต่ละภาคส่วนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ 27-29 เมษายน 2566 นี้
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่นี่

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด