น้องๆ หลายคนอาจรู้สึกเบื่อ ไม่สนใจสายการเรียนหรืออาชีพที่เป็นที่นิยมของสังคมอย่าง แพทย์ เภสัช วิศวะ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม บริหาร หรืออีกหลายๆ สาขาที่เคยรู้จักมา
และกำลังมองหาสาขาเรียนที่ตอบโจทย์ความต้องการ ไลฟ์สไตล์ และเป็นสายงานสร้างสรรค์ ได้พัฒนา คิดค้น รวมถึงเรียนรู้วิทยาการแขนงใหม่ๆ และที่สำคัญ
อีกทั้งเป็นสาขาที่สามารถตอบโจทย์การทำงานในโลกยุคดิจิทัลและอนาคต คงต้องมาทำความรู้จักคณะ/สาขาทางด้าน
"นวัตกรรม" กันไว้บ้างแล้วล่ะ
ใครจะบอกว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องน่าเบื่อและไม่ตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ เราขอแนะนำให้รู้จัก
9 หลักสูตรทางด้านนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ที่เราคัดสรรมาแนะนำในบทความนี้ ซึ่งเป็นหลักสูตรสมัยใหม่ที่เน้นด้านนวัตกรรมในหลากหลายสายงาน ทั้ง วิศวกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยี และเกษตรกรรม ขอชวนทุกคนมาเลือกเรียนตามที่ตัวเองถนัดและสนใจได้เลย!!
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต (รายละเอียดหลักสูตร
ami.kmitl.ac.th)
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : วิศวกรการผลิต, วิศวกรโรงงาน, นักออกแบบ, นักวิจัย, นักวิทยาศาสตร์ (วิศวกรที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ) Production Engineer, R&D Engineer
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Developer), วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer), นักวิเคราะห์ระบบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์, นักออกแบบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (IPD)
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์, นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรม
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล
- สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : เจ้าหน้าที่องค์การด้านนวัตกรรม, นักการตลาดดิจิทัล, เจ้าหน้าที่ดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์, เจ้าหน้าที่ด้าน Cyber Security, นักวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูล, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และวางแผนโครงการด้านดิจิทัล, ที่ปรึกษาและนักแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์, นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experiences), ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจ Startup เป็นต้น
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม สาขาวิชานวัตกรรมสื่อสารสังคม
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : นักออกแบบและพัฒนาสื่อสื่อประยุกต์ สื่อโฆษณา สื่อในธุรกิจไซเบอร์ เกมส์, นักสื่อสารการตลาด, นักวิชาการสื่อสาร นักประชาสัมพันธ์ นักวิเทศสัมพันธ์ ครีเอทีฟ, คอมพิวเตอร์กราฟิก, นักธุรกิจออนไลน์, ที่ปรึกษาการใช้ระบบไซเบอร์, นักออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสื่อสาร, นักออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน, นักออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประเภทมัลติมิเดีย เป็นต้น
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมสื่อสารมวลชน
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : นักข่าว, คอลัมนิสต์, ผู้ผลิตสื่อและเนื้อหาด้านวารสารศาสตร์ดิจิทัล, นักเขียนบทวิทยุ-โทรทัศน์, ผู้ผลิตรายการวิทยุ-โทรทัศน์, ผู้ประกาศข่าว, พิธีกร, ผู้ดำเนินรายการ, ผู้กำกับรายการ, เจ้าของธุรกิจสื่ออิสระ, ผู้กำกับภาพยนตร์ดิจิทัล, ผู้เขียนบทภาพยนตร์, ผู้ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ดิจิทัล และประกอบวิชาชีพอิสระทางด้านสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Developer), วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer), นักวิเคราะห์ระบบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์, นักออกแบบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์, นักวางแผนทางด้านนวัตกรรมดิจิทัล, ผู้ประกอบการนวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์, นักออกแบบส่วนประสานงานผู้ใช้ (User Interface Designer), โปรแกรมเมอร์ Multi-Platform, นักทดสอบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Software Tester), นักตรวจสอบด้านคุณภาพนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์, นักวิชาการด้านนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์, นักบริหารโครงการนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) เป็นต้น
มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและอาหาร
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : เกษตรกรอัจฉริยะ (Smart farmer), เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตรทุกประเภท, ผู้จัดการฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farm manager), นักพัฒนาซอฟท์แวร์ในบริษัทธุรกิจทางการเกษตร, นักวิชาการ/ที่ปรึกษา/นักวิจัย (Smart farm Advisor) ในฟาร์มเกษตรอัจฉริยะหรือบริษัทธุรกิจเกษตรทุกประเภท
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขานวัตกรรมการเกษตรและการประกอบการ
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ : เกษตรกรอัจฉริยะ (Smart farmer), เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตร, นักวิชาการ/ที่ปรึกษาฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (Smart farm Advisor) ในบริษัทธุรกิจเกษตรหรือโรงงานอุตสาหกรรม, นักวิจัย/นักวิชาการในหน่วยงานหรือสถาบันวิจัย ทั้งรัฐและเอกชน
สาขาที่เราได้แนะนำไปข้างต้น เป็นเพียงหลักสูตรบางส่วนที่ทีมงาน
AdmissionPremium เห็นว่าน่าสนใจ สอดคล้อง และเหมาะกับแนวโน้มการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคตอันใกล้
ซึ่งหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เราได้เสนอไป รับรองว่าน้องๆ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ได้อย่างดีแน่นอน สำหรับใครที่สนใจหลักสูตรไหน ก็สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้ตาม Link ที่เราแนบไว้ได้เลย
ที่มา:
www.tu.ac.th
www.kmitl.ac.th