นอกจากคุณภาพการศึกษาและการเข้าถึงเทคโนโลยีแล้ว การมีหรือสร้างสรรค์
"นวัตกรรม" ก็ถือเป็นตัววัดสำคัญในการบ่งชี้คุณภาพ ความก้าวหน้า และการพัฒนาของประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ดูจากล่าสุดที่เว็บไซต์ชั้นนำระดับโลกอย่าง
Bloomberg ทำการจัดอันดับ
ประเทศด้านนวัตกรรม ประจำปี 2018 โดยใช้เกณฑ์ 7 ข้อ คือ
1. R&D intense : เปอร์เซ็นต์การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
2. Manufacturing value-added : วัดจากค่า MVA / GDP และ PPP
3. Productivity: วัดจากค่า GDP และ GNI ต่อหัวของปรชากรวัยแรงงานที่อายุมากกว่า 15 ปี และทำงานมากกว่า 3 ปี
4. High-tech density: จำนวนของบริษัทมหาชนด้านเทคโนโลยี เช่น ไบโอเทค, อุตสาหกรรมหนัก, อุตสาหกรรมเบา, ซอฟท์แวร์อินเตอร์เน็ต และบริการด้านเทคโนโลยี
5. Tertiary efficiency: จำนวนนักศึกษาและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. Researcher concentration: สัดส่วนบุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกต่อจำนวนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี
7. Patent activity: การขอจดสิทธิบัตรต่อจำนวนประชากร
ซึ่งจากเกณฑ์ทั้ง 7 ข้อนี้ ผลปรากฏว่า
ประเทศเกาหลีใต้ยังคงครองอันดับ 1 มาเป็นปีที่ห้าติดต่อกัน ด้วยคะแนนสูงถึง 89.28 โดยมีซัมซุงเป็นปัจจัยหลัก เนื่องจากมีมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดมากขึ้น และเกาหลีใต้มีการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีถึง 21 แห่ง
ส่วนอันดับ 2 เป็นของประเทศสวีเดน คงที่จากปีที่แล้ว ตามมาด้วย อันดับ 3 อย่างประเทศสิงคโปร์
ที่ทำคะแนนขึ้นมาจากอันดับที่ 6 ในปี 2017 โดยถูกพูดถึงในฐานะที่เป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้านการพัฒนา ซึ่งสิงคโปร์ให้ความสำคัญด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ และยังมีการระทุมด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างจริงจังเป็นอยากมาก (ดูอันดับอื่นๆ ได้จากตารางด้านล่าง)
ส่วนประเทศไทยเราก็ติดโผใน 50 อันดับด้วยเหมือนกัน โดยอันดับลดลงจากปี 2017 ไปหนึ่งตำแหน่งมาอยู่ที่อันดับ 45 เป็นอันดับสุดท้ายของ 6 ประเทศในเอเชียที่ติดอันดับ 50 ประเทศด้านนวัตกรรม โดยมีประเทศมาเลเซียอยู่อันดับที่ 26 จีนอันดับที่ 19 ญี่ปุ่นอันดับที่ 6 สิงคโปร์อันดับที่ 3 และเกาหลีใต้ครองแชมป์อันดับที่ 1
ในเอเชีย นอกจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นแล้ว ประเทศจีนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถปรับตัวขึ้นสู่อันดับที่ 19 จากอันดับที่ 21 ในปี 2017 โดยได้คะแนนเพิ่มจากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิสกรรมศาสตร์ และมีการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Huawei เป็นต้น
และสำหรับประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางแย่ที่สุดคือนิวซีแลนด์และยูเครน โดยทั้งสองประเทศลดลงมา 4 อันดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเรื่องของการศึกษา
ที่มา :
www.bloomberg.com
www.weforum.org
www.terrabkk.com